คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Economics,
Chulalongkorn University
ชื่อเดิมแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์
แผนกวิชาการคลัง
สถาปนา8 สิงหาคม พ.ศ. 2513; 53 ปีก่อน (2513-08-08)
คณบดีรศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน
ที่อยู่
วารสารวารสารเศรษฐศาสตร์
(J. of Economics)
เพลงน้องพี่สีทอง
สี███ สีทอง
มาสคอต
เฟือง, รวงข้าว และคันไถ
เว็บไซต์www.econ.chula.ac.th
อาคารเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเป็นคณะลำดับที่ 12 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยมี 10 หลักสูตร ซึ่ง 7 ใน 10 หลักสูตร เป็นหลักสูตรนานาชาติ และมีการแลกเปลี่ยนนิสิตและคณาจารย์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ 19 แห่งทั่วโลก

จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by subject[1] สาขาเศรษฐศาสตร์ และ เศรษฐมิติ พบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของไทย อันดับ 201 - 250 ของโลก และยังเป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก (WHO) ด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพ[2]

ประวัติ[แก้]

ปี พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์ อาภรณ์ กฤษณามระ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในขณะนั้น ได้ริเริ่มและเสนอโครงการยกฐานะแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ขึ้นเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสภาการศึกษาแห่งชาติ แต่สภาการศึกษาแห่งชาติได้พิจารณาหลักสูตรการศึกษาของโครงการดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า หลักสูตรนั้นมีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรการศึกษาของแผนกวิชาการคลัง คณะรัฐศาสตร์ อยู่มาก น่าที่จะพิจารณารวมการดำเนินงานเข้าด้วยกัน จึงส่งเรื่องมาให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาอีกครั้ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2513 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยให้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวว่า เนื่องจากวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญและจำเป็นในการวางแผนพัฒนาประเทศประกอบกับขณะนั้น ในประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จำนวนมาก การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขณะนั้นได้แยกกันจัดดำเนินการโดยสองแผนกวิชา คือ แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และแผนกวิชาการคลัง คณะรัฐศาสตร์ ให้ยุบแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์และแผนกวิชาการคลัง แล้วจัดตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโอนอาจารย์จากทั้ง 2 แผนกมาสังกัดคณะใหม่ โดยในขั้นแรกเปิดสอน 4 แผนกวิชา ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี เศรษฐศาสตร์พัฒนาการ เศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

สัญลักษณ์ประจำคณะ[แก้]

หลักสูตร[แก้]

ระดับปริญญาบัณฑิต
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มี 9 กลุ่มวิชา ได้แก่
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎี
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ปริมาณวิเคราะห์
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยองค์กรและองค์กรอุตสาหกรรม
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงเศรษฐศาสตร์นานาชาติ (Bachelor of Art in Economics (EBA))
  • หลักสูตรกลุ่มวิชาโทเศรษฐศาสตร์ (บริการนอกคณะ)
ระดับปริญญามหาบัณฑิต
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
  • ศูนย์เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2017
  2. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-68&cc_city=bangkok&.
  • หนังสือเปิดรั้วจามจุรี : สาราณียากร องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]