ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน
วันเกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)[ต้องการอ้างอิง]
สถานที่เกิด ประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.78 m (5 ft 10 in)
ตำแหน่ง กองหน้า (เลิกเล่น)
สโมสรเยาวชน
2520–2521 ทหารอากาศ
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2522–2527 ทหารอากาศ 145 (91)
2527–2529 ลักกีโกลด์สตาร์ 34 (17)
2529–2532 ปะหัง 61 (70)
2532–2540 ทหารอากาศ 248 (164)
รวม 488 (342)
ทีมชาติ
2524–2540 ไทย 100 (70)
จัดการทีม
2539–2551 ทหารอากาศ
2551–2556 รวมดาราไทยลีก
2552 นครปฐม
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

าวาอากาศเอก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน(ตุ๊ก) เกิดวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการกลางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตนักฟุตบอลชาวไทย ซึ่งเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติไทยหลายนัด รวมถึงเป็นผู้ที่ทำประตูสูงสุดในประวัติศาสตร์ทีมชาติไทยรวมนัดที่ฟีฟ่าไม่ได้รับรอง ที่ 103 ประตู[1] (สถิติที่ฟีฟ่ารับรองคือ 15 ประตู จากการลงสนามให้ทีมชาติ 33 นัด) นอกจากนี้ เขายังร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง "เกิดมาลุย" ใน พ.ศ. 2547

โดย ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เป็นผู้เล่นชาวไทยคนแรกที่ได้เล่นในเคลีก 1

พ.ศ. 2556 ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมสิงห์ออลสตาร์เมื่อครั้งที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และเชลซี ในการแข่งขันครบรอบ 80 ปี บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่[2]

ประวัติ[แก้]

ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรของ ร้อยเอกพล กับ นางบุญยิ่ง ผิวอ่อน จบการศึกษาจาก โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยเล่นฟุตบอลมาตลอด และมีความสามารถทางฟุตบอลสูงจนได้รับโควตานักฟุตบอล ศึกษาต่อที่โรงเรียนจ่าอากาศ

ปิยะพงษ์สมรสแล้ว มีบุตร 2 คน คือ

  1. พ.ต. ภาณุพงศ์ ผิวอ่อน (เต้ย) ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล
  2. พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน (แตงโม) อดีตนักกีฬาฟุตบอล

ปิยะพงษ์รับราชการทหารอากาศ จนเกษียณอายุราชการในชั้นยศ "นาวาอากาศเอก" สังกัดกรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นพิธีกรทางช่องรายการในโลกออนไลน์ "แตงโมลง ปิยะพงษ์ยิง" ร่วมกับลูกชายคนเล็ก พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน และรายการ บราเวีย ซูเปอร์สไตรค์ ยิงกระจาย ทางทรู วิชั่นส์

พิธีกร[แก้]

รายการโทรทัศน์ [แก้]

  • พ.ศ. 2552 : เช้านี้...ที่หมอชิต (ผู้ประกาศข่าวกีฬา “ผู้รู้...ผู้เล่า” ด้านกีฬาฟุตบอล) ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 06.00 -07.30 น. (1 มิถุนายน 2552 - 2553)
  • พ.ศ. 25 : บราเวีย ซูเปอร์สไตรค์ ยิงกระจาย (ผู้บรรยายการยิงประตูของนักฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก) ทางทรู วิชั่นส์ ออกอากาศทุกคืนวันพุธ ออกอากาศซ้ำในเช้าวันพฤหัสบดี เวลา 07.30 น. - 08.00 น.
  • พ.ศ. 25 : คนกีฬา พาเที่ยว ทางช่อง 5 ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 09.30 - 10.00 น.

รายการออนไลน์ [แก้]

  • พ.ศ. 2564 : Ep.1 จุดเริ่มต้น "เส้นทางฟุตบอล" ของ แตงโม พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน - แตงโมลง ปิยะพงษ์ยิง ทางช่อง YouTube:แตงโมลง ปิยะพงษ์ยิง ร่วมกับ พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน

ผลงานในการเป็นนักฟุตบอล[แก้]

ปิยะพงษ์ เริ่มต้นเล่นฟุตบอล ในทีมชุดเยาวชน สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เมื่อปี พ.ศ. 2522 หลังจากนำทีมชนะเลิศ จึงได้เลื่อนขึ้นมาเล่นทีมชุดใหญ่ และในปี พ.ศ. 2523 เป็นดาวซัลโวสูงสุดในการแข่งขัน ในปีต่อมา ก็ได้รับการคัดเลือกให้มาเล่นกับทีมชาติไทย ระหว่าง พ.ศ. 2524 - 2540 รวม 17 ปี โดยที่ติดทีมชาติครั้งแรก ในเดือนมิถุนายน 2524 รายการเพสซิเด้นท์ คัพ เกาหลีใต้

ในระดับสโมสร ก็ได้ร่วมงานกับ สโมสรลักกีโกลด์สตาร์ (ปัจจุบันคือ สโมสรฟุตบอลโซล) ของ เคลีกในเกาหลีใต้ เป็นเวลา 2 ปี และย้ายไปเล่นต่อให้ สโมสรปะหัง ของมาเลเซีย

ปิยะพงษ์ ผิวอ่อนยิงประตูในนามทีมชาติชุดใหญ่ในเกมส์ที่ฟีฟ่ารับรองทั้งหมด 15 ประตู

ผลงานในการเป็นผู้ฝึกสอน[แก้]

ระดับสโมสร[แก้]

ระดับชาติ[แก้]

  • ทีมชาติไทย (พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2547) ผลงานพาทีมเป็นแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์ 18 ปี ฟุตบอลโอลิมปิก ฟุตบอลซีเกมส์ และอีกหลายรายการ

การอบรมเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนฟุตบอล[แก้]

ผลงาน[แก้]

  • ดาวยิงสูงสุดของทีมชาติไทย(รวมทุกชุดและรวมแมตช์ที่ฟีฟ่าไม่ได้รับรอง)
  • ชนะเลิศ คิงส์คัพ 5 สมัย - 2524, 2525, 2526, 2532, 2535
  • ชนะเลิศ ซีเกมส์ 5สมัย - 2524, , 2526, 2528, 2536, 2540

ผลงานการแสดง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

  • หนูอยากเป็นทหาร (2525) รับบทเป็น ตัวเอง
  • เกิดมาลุย (2547) รับบทเป็น ตุ๊ก
  • you & me เมื่อฉันกับเธอ xxx (2560) รับบทเป็น พ่อป้อง (รับเชิญ)

ละครโทรทัศน์[แก้]

  • หวังด้วยใจไปด้วยฝัน (2545) ช่อง 7 รับบทเป็น ผู้จัดการทีมฟุตบอล

โฆษณา[แก้]

  • เครื่องดื่มชูกำลังลิโพ (2532)

การทำประตูในทีมชาติชุดใหญ่[แก้]

ประตูที่ทำได้บางส่วน
ผลการแข่งขันให้ทีมชาติไทยขึ้นก่อน
สถิติที่ฟีฟ่าให้การรับรองอยู่ที่ 15 ประตู
วันที่ สถานที่ คู่แข่ง จำนวนประตู ผลการแข่งขัน รายการแข่งขัน
20 มิถุนายน 2524 เกาหลีใต้ โซล ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1 ประตู 3-1 President's Cup
11 พฤศจิกายน 2524 ไทย กรุงเทพ ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน 1 ประตู 1-0 คิงส์คัพ1981
15 พฤศจิกายน 2524 ไทย กรุงเทพ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 2 ประตู 2-0 คิงส์คัพ1981
24 พฤศจิกายน 2524 ไทย กรุงเทพ ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 2 ประตู 2-1 คิงส์คัพ1981
9 ธันวาคม 2524 ฟิลิปปินส์ มะนิลา ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 2 ประตู 2-2 ซีเกมส์ 1981
11 ธันวาคม 2524 ฟิลิปปินส์ มะนิลา ธงชาติประเทศพม่า พม่า 2 ประตู 3-3 ซีเกมส์ 1981
14 ธันวาคม 2524 ฟิลิปปินส์ มะนิลา ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2 ประตู 2-1 ซีเกมส์ 1981
15 ธันวาคม 2524 ฟิลิปปินส์ มะนิลา ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 2 ประตู 2-1 ซีเกมส์ 1981
22 เมษายน 2525 ไทย กรุงเทพ ธงชาติอิรัก อิรัก 1 ประตู 1-1 กระชับมิตร
1 พฤษภาคม 2525 ไทย กรุงเทพ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1 ประตู 1-1 คิงส์คัพ 1982
7 พฤษภาคม 2525 ไทย กรุงเทพ ธงชาติเนปาล เนปาล 1 ประตู 3-1 คิงส์คัพ 1982
15 พฤษภาคม 2525 ไทย กรุงเทพ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 2 ประตู 2-2 คิงส์คัพ 1982
17 พฤษภาคม 2525 ไทย กรุงเทพ ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1 ประตู 1-1 คิงส์คัพ 1982
24 พฤศจิกายน 2525 อินเดีย นิวเดลี ธงชาติซีเรีย ซีเรีย 1 ประตู 3-1 เอเชียนเกมส์ 1982
10 เมษายน 2526 ธงชาติเนปาล เนปาล 2 ประตู 2-0 Affa Cup
29 พฤษภาคม 2526 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1 ประตู 5-0 ซีเกมส์ 1983
31 พฤษภาคม 2526 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติบรูไน บรูไน 2 ประตู 2-1 ซีเกมส์ 1983
4 มิถุนายน 2526 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1 ประตู 4-1 ซีเกมส์ 1983
6 มิถุนายน 2526 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1 ประตู 2-1 ซีเกมส์ 1983
5 กรกฎาคม 2526 ไทย กรุงเทพ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 4 ประตู 4-0 กระชับมิตร
18 กรกฎาคม 2526 จีน ปักกิ่ง ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 1 ประตู 1-1 1983 Great Wall Cup
20 กรกฎาคม 2526 จีน ปักกิ่ง ธงชาติจีน จีน 1 ประตู 1-2 1983 Great Wall Cup
10 พฤศจิกายน 2526 ไทย กรุงเทพ ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1 ประตู 2-1 1984 Summer Olympics qualification
10 พฤศจิกายน 2526 ไทย กรุงเทพ ธงชาติจีน จีน 1 ประตู 1-0 1984 Summer Olympics qualification
24 ธันวาคม 2526 ไทย กรุงเทพ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 2 ประตู 3-0 คิงส์คัพ 1983
30 ธันวาคม 2526 ไทย กรุงเทพ ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 1 ประตู 3-0 คิงส์คัพ 1983
15 เมษายน 2527 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 3 ประตู 5-2 1984 Olympics Final qualification
9 สิงหาคม 2527 ไทย กรุงเทพ ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 2 ประตู 3-0 1984 Asian Cup qualification
8 ธันวาคม 2528 ไทย กรุงเทพ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1 ประตู 1-1 ซีเกมส์ 1985
12 ธันวาคม 2528 ไทย กรุงเทพ ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 2 ประตู 7-0 ซีเกมส์ 1985
15 ธันวาคม 2528 ไทย กรุงเทพ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2 ประตู 7-0 ซีเกมส์ 1985
23 กันยายน 2529 เกาหลีใต้ โซล Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ประตู 1-2 เอเชียนเกมส์ 1986
29 กันยายน 2529 เกาหลีใต้ โซล ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน 3 ประตู 6-0 เอเชียนเกมส์ 1986
10 กันยายน 2530 อินโดนีเซีย จาการ์ตา ธงชาติบรูไน บรูไน 2 ประตู 3-1 ซีเกมส์ 1987
19 กันยายน 2530 อินโดนีเซีย จาการ์ตา ธงชาติประเทศพม่า พม่า 2 ประตู 4-0 ซีเกมส์ 1987
14 มกราคม 2531 ไทย กรุงเทพ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1 ประตู 3-3 คิงส์คัพ 1988
25 มกราคม 2532 ไทย กรุงเทพ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2 ประตู 3-0 คิงส์คัพ 1989
19 กุมภาพันธ์ 2532 ไทย กรุงเทพ ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ 1 ประตู 1-0 1990 FIFA World Cup qualification
22 สิงหาคม 2532 มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ ธงชาติประเทศพม่า พม่า 2 ประตู 3-0 ซีเกมส์ 1989
24 สิงหาคม 2532 มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1 ประตู 1-1 ซีเกมส์ 1989
8 กุมภาพันธ์ 2536 ไทย กรุงเทพ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 2 ประตู 3-1 คิงส์คัพ 1993
10 กุมภาพันธ์ 2536 ไทย กรุงเทพ ธงชาติจีน จีน 1 ประตู 1-0 คิงส์คัพ 1993
12 กุมภาพันธ์ 2536 ไทย กรุงเทพ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2 ประตู 2-0 คิงส์คัพ 1993
14 กุมภาพันธ์ 2536 ไทย กรุงเทพ ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1 ประตู 1-0 คิงส์คัพ 1993
18 เมษายน 2536 ญี่ปุ่น โตเกียว ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ 3 ประตู 4-1 1994 FIFA World Cup qualification
3 พฤษภาคม 2536 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ ธงชาติศรีลังกา ศรีลังกา 3 ประตู 3-0 1994 FIFA World Cup qualification
5 พฤษภาคม 2536 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ 2 ประตู 4-1 1994 FIFA World Cup qualification
7 มิถุนายน 2536 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1 ประตู 2-0 ซีเกมส์ 1993
11 มิถุนายน 2536 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติบรูไน บรูไน 1 ประตู 5-2 ซีเกมส์ 1993
13 มิถุนายน 2536 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 2 ประตู 4-1 ซีเกมส์ 1993
20 มิถุนายน 2536 สิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1 ประตู 4-3 ซีเกมส์ 1993
13 กุมภาพันธ์ 2540 ไทย กรุงเทพ ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย 1 ประตู 1-0 คิงส์คัพ 1997
2 มีนาคม 2540 ไทย กรุงเทพ ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1 ประตู 1-3 1998 FIFA World Cup qualification
12 ตุลาคม 2540 อินโดนีเซีย จาการ์ตา ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา 1 ประตู 4-0 1997 ซีเกมส์
วันที่ สถานที่ คู่แข่ง จำนวนประตู ผลการแข่งขัน รายการแข่งขัน
20 พฤศจิกายน 2524 ไทย กรุงเทพ โปแลนด์ Polonia Warszawa 2 ประตู 2-0 1981 คิงส์คัพ
6 พฤษภาคม 2525 ไทย กรุงเทพ จีน August 1st(army team) 1 ประตู 1-1 คิงส์คัพ 1982
15 กรกฎาคม 2526 จีน ปักกิ่ง จีน August 1st(army team) 1 ประตู 2-1 1983 Great Wall Cup
23 กรกฎาคม 2526 จีน ปักกิ่ง ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ U-21 2 ประตู 3-2 1983 Great Wall Cup
27 ธันวาคม 2526 ไทย กรุงเทพ Medan 1 ประตู 2-0 คิงส์คัพ 1983
3 มกราคม 2527 ไทย กรุงเทพ อังกฤษ Liverpool Amateur 3 ประตู 4-3 คิงส์คัพ 1984
28 กรกฎาคม 2528 มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ เกาหลีใต้ South Korean Army 1 ประตู 1-1 Merdeka Tournament
25 มกราคม 2531 ไทย กรุงเทพ รัสเซีย SC Rotor Volgograd 1 ประตู 4-2 คิงส์คัพ 1988
10 กุมภาพันธ์ 2532 ไทย กรุงเทพ รัสเซีย SC Rotor Volgograd 2 ประตู 3-1 คิงส์คัพ 1989
14 กุมภาพันธ์ 2536 ไทย กรุงเทพ เกาหลีใต้ Korea Semi-professional Select Team 1 ประตู 1-0 คิงส์คัพ 1993

ผลงานเพลง[แก้]

ปิยะพงษ์ เคยมีสตูดิโออัลบั้มเพลงมาแล้วหนึ่งชุด ในปี พ.ศ. 2536 กับค่ายนิธิทัศน์ เอโอเอ โดยใช้ชื่ออัลบั้มที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงว่า "ซัลโว"

- มิวสิควีดีโอเพลง "มีเจ้าของแต่น้องรัก" ของ จินตหรา พูนลาภ

การเมือง[แก้]

ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน เพื่อจะลงสมัครรับเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ลงสมัคร

ในการเลือกตั้งในกลางปี พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน โดยทำการเปิดตัวพร้อมกับอีก 2 นักกีฬาที่มีชื่อเสียง คือ ภราดร ศรีชาพันธุ์ อดีตนักเทนนิสระดับโลก และเยาวภา บุรพลชัย อดีตนักเทควันโดเหรียญทองแดงโอลิมปิกทีมชาติไทย[3] แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[4]

เกียรติประวัติ[แก้]

ผู้เล่น[แก้]

ลักกีโกลด์สตาร์[5][แก้]

ผู้จัดการ[แก้]

ทหารอากาศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พิพิธภัณฑ์ลูกหนัง > "เพชฌฆาตหน้าหยก" ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน
  2. ผีแดงเยือนไทย - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  3. ปิยะพงษ์ เข้าคิดชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน คุยดันไปบอลโลก[ลิงก์เสีย]
  4. เปิดผลการเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพ ปชป. 23 เพื่อไทย 10 ที่นั่ง จากมติชนเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "'태국 축구영웅' 피아퐁 아들과 함께 FC서울 방문" (ภาษาเกาหลี). FC Seoul official website. October 13, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-16. สืบค้นเมื่อ January 23, 2017.
  6. "เดอะตุ๊กเผยรอคุยบอร์ดท่าเรือศุกร์นี้ก่อนตัดสินใจ". Goal. สืบค้นเมื่อ 8 September 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]