สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครปฐม ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลนครปฐมยูไนเต็ด
ฉายาเสือป่าราชา
ก่อตั้งพ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999; 25 ปีที่แล้ว (1999))
สนามสนามกีฬาโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม
จังหวัดนครปฐม, ประเทศไทย
Ground ความจุ3,500 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอลนครปฐม จำกัด
ประธานไทย พาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์
ผู้จัดการไทย พิมพ์ชญา สะสมทรัพย์
ผู้ฝึกสอนสิงคโปร์ อักบาร์ นาบาซ
ลีกไทยลีก
2565–66ไทยลีก 2 ชนะเลิศ
(เลื่อนชั้น) เพิ่มขึ้น
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันเล่นอยู่ในระดับไทยลีก โดยมีสนามเหย้า คือ สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม เคยแข่งขันในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2551 ซึ่งจบฤดูกาลในอันดับ 9 (สูงสุดในประวัติศาสตร์สโมสร)

ประวัติสโมสร[แก้]

การก่อตั้งและยุคแรกเริ่ม[แก้]

สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2542 โดยเริ่มเล่นในโปรวินเชียลลีก ใน พ.ศ. 2547 สโมสรจบฤดูกาลโดยอยู่กลางตารางของลีก ในปีต่อมา สโมสรจบฤดูกาลในสามอันดับแรก และได้รับสิทธิ์เข้าไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ติดต่อกันใน พ.ศ. 2548-49 โดยใน พ.ศ. 2549 สโมสรได้รับสิทธิ์เข้าไปเล่นในลีกสูงสุดของประเทศไทย โดยเป็นทีมสำรองลำดับที่สองของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย สโมสรนครปฐมไม่ได้นำมาซึ่งเฉพาะความเป็น "ทีมภูมิภาค" ในลีกเท่านั้น แต่ยังมีกระแสแฟนบอลที่เดินทางไปเชียร์ทั้งนัดเยือนและนัดเหย้า สโมสรนครปฐมเป็นอีกทีมหนึ่งเช่นเดียวกับสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรีและสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรีที่แข่งขันในระดับพรีเมียร์ลีก โดยไม่ใช่ทีมจากกรุงเทพมหานคร

ยุคลีก[แก้]

ในฤดูกาลแรกในพรีเมียร์ลีก สโมสรจบฤดูกาลในลำดับที่ 11 และเพิ่มขึ้นเป็นลำดับที่ 9 ในปีต่อมา สำหรับฤดูกาล 2552 เป็นครั้งแรกที่ ไมเคิล แอสพิน และไมเคิล ทอมัส เบิร์น เป็นนักกีฬาจากสหราชอาณาจักรเข้ามาทำสัญญานักเตะ ซึ่งทั้งสองได้เคยเล่นด้วยกันแล้วที่นอร์ทวิช วิกตอเรีย ในอังกฤษ

ใน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุอื้อฉาวแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสินระหว่างเล่นรอบเพลย์ออฟขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก 2554 ทำให้ทีมได้รับโทษปรับ 160,000 บาท และห้ามแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี เพราะมีข้อกังขาในการตัดสินของกรรมการ ที่ตัดสินเข้าข้าง อีสาน ยูไนเต็ด มีจังหวะที่กังขาหลายครั้ง จังหวะที่นครปฐมควรจะได้จุดโทษ และในช่วงทดเวลา 4 นาที กรรมการเป่านกหวีดจบเกมใน 2 นาที ไม่ครบ 4 นาทีตามที่ผู้ตัดสินที่ 4 ชูป้าย ด้านไชยา สะสมทรัพย์ ออกมายืนยันว่าผู้ตัดสินตัดสินไม่เหมาะสม และยืนยันไม่ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อมาได้ประกาศว่าอาจจะยุบทีม

ยุคนครปฐม ยูไนเต็ด[แก้]

หลังจากที่โดนแบนไป 2 ปี สโมสรได้เปลี่ยนชื่อใหม่ โดยใช้ชื่อว่า นครปฐม ยูไนเต็ด และเปลี่ยนโลโก้ใหม่ โดยมีความหมายดังนี้[1]

  • ██ สีแดง หมายถึง ความเข้มแข็งของความเป็นนักสู้ เฉกเช่น สีแดงบนธงชาติไทย
  • ██ สีทอง หมายถึง ความรุ่งโรจน์บนดินแดนพระพุทธศาสนา ที่มีองค์พระปฐมเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในจังหวัดนครปฐม
  • ██ สีน้ำเงิน หมายถึง ความสงบนิ่ง สงบร่มเย็น ยามแข็งขันไม่ก่อความเดือดร้อนให้ใคร ซึ่งตรงกับ Concept ของทีมว่าจะเป็นทีมที่มีน้ำใจนักกีฬา

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่อีกครั้ง ในปี 2559 โดยมีฉายาว่า เสือป่าราชา

ในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2560 ทางสโมสรถูกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยปรับตกชั้นไปสู่ไทยลีก 4 เนื่องจากไม่สามารถส่งเอกสารเกี่ยวกับคลับไลเซนซิงได้ตามเวลาที่กำหนด

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ทีมงาน[แก้]

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย พาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย ชุตินันท์ สะสมทรัพย์
ผู้อำนวยการกีฬา ไทย ณรงค์ ห้วยหงษ์ทอง
ผู้จัดการทั่วไป ไทย กันตพัฒน์ กิติพงษ์สิริภัค
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ไทย ชญาดา สะสมทรัพย์
ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ ไทย โญธญา สะสมทรัพย์
ผู้จัดการทีม ไทย พิมพ์ชญา สะสมทรัพย์
หัวหน้าผู้ฝีกสอน สิงคโปร์ อักบาร์ นาบาซ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย ประกอบสุข พึ่งกุล
ทีมชุดใหญ่ผู้ฝึกสอน ว่าง
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ว่าง
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ว่าง
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส ว่าง
ทีมแพทย์ประจำสโมสร ว่าง
นักกายภาพบําบัด ว่าง
ล่ามประจำสโมสร ว่าง

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF ไทย ปิติพล ปรัชญามงคล
3 DF ไทย โชคชัย ชูชัย (กัปตันทีม)
4 DF อิหร่าน อามีร์อาลี เชร์จินี
5 DF ไทย นัฐภัทร กมลจิตร
6 MF ไทย กฤษณะ นนทารักษ์
7 MF ไทย กฤษดา วงษ์แก้ว (ยืมตัวจาก บลูเวฟ ชลบุรี)
8 MF ไทย อาทิตย์ เบิร์ก
9 FW บราซิล อีวังดรู เปาลิสตา
10 MF ญี่ปุ่น ทากุ อิโตะ
11 FW ไทย ก้องนทีชัย บุญมา
13 MF กานา เลสลี อับโลห์
14 MF ไทย ธนวัช มนตรี
17 DF ไทย ชนทัต วรพาณิชการ
18 MF ไทย ณัฐพล วรสุทธิ์ (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
20 GK ไทย วัชระ บัวทอง
21 DF ไทย นัทที น้อยวิไล
23 MF ไทย เรืองชัย ชูธงชัย
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 MF ไทย อภิณัฐ สุขสงวน
26 DF ประเทศพม่า ซอมี่นทู่น
27 DF ไทย อนุศักดิ์ ใจเพชร (ยืมตัวจาก การท่าเรือ)
28 DF ไทย ปริญญา อู่ตะเภา
29 DF ไทย ศาสนพงษ์ วัฒยุชูติกูล
30 MF ไทย ณัฐนันท์ เบี้ยสัมฤทธิ์
33 DF ไทย อนุกรณ์ สางรัมย์
39 GK ไทย วัฒนชัย สระทองจันทร์
40 FW ไนจีเรีย อเดโฟลาริน ดูโรซินมี
47 MF ไทย จิตปัญญา ทิสุด
53 GK ไทย ณัฐชานนท์ โจถาวร
54 MF ไทย นพเก้า ประจวบกลาง
55 DF ไทย ชัยพล อดทน
64 MF ไทย เจนณรงค์ ภูผา
66 MF ไทย สัญชัย ชาวเลาขวัญ
70 MF ไทย กิตติศักดิ์ พุฒจันทร์ (ยืมตัวจาก อุทัยธานี)
99 FW ไทย สัจพร ตุ้มสุวรรณ์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 GK ไทย สุภชัย วงศ์สุวรรณ (ไป ทัพหลวง ยูไนเต็ด จนสิ้นสุดฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
64 MF ไทย ถิรวัฒน์ คูณสม (ไป ทัพหลวง ยูไนเต็ด จนสิ้นสุดฤดูกาล)

เกียรติประวัติ[แก้]

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2564–65 ไทยลีก 2 34 10 12 12 42 47 42 อันดับที่ 10 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย บราซิล โอสวัลดู แนตู 9
2565–66 ไทยลีก 2 34 16 12 6 32 20 60 อันดับที่ 1 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย นอร์เวย์ ปีเตอร์ เนอร์การ์ด 8
2566–67 ไทยลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]