ข้ามไปเนื้อหา

โอลิมปิกฤดูร้อน 1944

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 13
เมืองเจ้าภาพลอนดอน สหราชอาณาจักร
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว

โอลิมปิกฤดูร้อน 1944 ชื่อทางการว่า กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 13 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่วางแผนไว้ว่าจะจัดขึ้นวันที่ 22 กรกฎาคม ถึง 5 สิงหาคม 1944 ณ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แต่ต้องถูกยกเลิกการจัดเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ควบคู่ไปกับกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1944 ที่เมืองกอร์ตีนาดัมเปซโซ ประเทศอิตาลี และเป็นกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 5 ที่ถูกยกเลิกเนื่องจากสงคราม อย่างไรก็ตาม การเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการยังมีการจัดขึ้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เช่นเดียวกับเชลยศึกชาวโปแลนด์ที่ถูกคุมขังจากการยึดครองโปแลนด์โดยเยอรมนี

หลังจากนั้นกีฬาโอลิมปิกได้มีการจัดขึ้นที่ลอนดอนในโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 และกลับมาเป็นเจ้าภาพครั้งล่าสุดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012

ประวัติ

[แก้]

ลอนดอนชนะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการลงคะแนนเสียงครั้งแรกจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลเมื่อมิถุนายน 1939 มีคะแนนเหนือ โรม ดีทรอยต์ โลซาน เอเธนส์ บูดาเปสต์ เฮลซิงกิ และมอนทรีออล การคัดเลือกเกิดขึ้นในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 38 ในปี 1939 (ลอนดอน)[1]

เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งดําเนินมาเป็นเวลา 4 ปีและทําลายล้างลอนดอน การแข่งขันจึงถูกยกเลิก แม้จะมีสงครามคณะกรรมการโอลิมปิกสากลก็จัดกิจกรรมมากมายเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ของการก่อตั้งที่สํานักงานใหญ่ในโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การเฉลิมฉลองนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 19 มิถุนายน 1944 โดยมี Carl Diem ผู้ริเริ่มประเพณีสมัยใหม่ของการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก[2]

เชลยศึกชาวโปแลนด์ในค่ายเชลยศึก วอลเดนเบิร์ก (Dobiegniew) Oflag II-C POW ได้รับอนุญาตจากผู้คุมชาวเยอรมันให้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเชลยศึกอย่างไม่เป็นทางการ (POW Olympics) ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 13 สิงหาคม 1944 และธงโอลิมปิกที่ทําจากผ้าปูที่นอนและผ้าพันคอสีถูกเชิญขึ้น งานนี้ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของโอลิมปิกที่อยู่เหนือสงคราม[3]

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

[แก้]
ผลการลงคะแนน[1]
เมือง ประเทศ รอบที่ 1
ลอนดอน สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 20
โรม  อิตาลี 11
ดีทรอยต์ สหรัฐ สหรัฐ 2
โลซาน  สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 1
เอเธนส์ ราชอาณาจักรกรีซ กรีซ 0
บูดาเปสต์ ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) ฮังการี 0
เฮลซิงกิ ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 0
มอนทรีออล แคนาดา 0

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Past Olympic host city election results". GamesBids. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  2. "Beijing 2008 Olympic Games: Mount Olympus Meets the Middle Kingdom | Beijing 2008 Olympic Games :: History of the Olympic Games". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  3. Grys, Iwona (1996), "The Olympic Idea Transcending War" (PDF), Olympic Review, XXV (8, April–May 1996): 68, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2008, สืบค้นเมื่อ 26 June 2012.