เกลุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิกายเกลุก (ทิเบต: དགེ་ལུགས་, ไวลี: Dge-lugs, พินอินทิเบต: Gelug) หรือ นิกายเกลุกปา (ทิเบต: དགེ་ལུགས་པ་, ไวลี: Dge-lugs-pa, พินอินทิเบต: Gelug-pa)พัฒนามาจากนิกายกาตัมที่อาจารย์อตีศะวางรากฐานและและอาจารย์จงคาปาเป็นผู้ปฏิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงแล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้นเมื่อ นิกายเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง เมื่อท่านมรณภาพได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกานเด็นให้ เจล ซับเจ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการสืบทอดผู้นำของสายนิกายเกลุก ผู้นำนิกายเกลุกในปัจจุบันคือผู้ดำรงตำแหน่งดาไล ลามะหรือทะไล ลามะ ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตด้วย

พระสงฆ์ในนิกายนี้ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้ปกครองมองโกลว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และต่อมาถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย

ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ได้พบประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ของนิกายเกลุกปะชื่อ สอดนัมยาโส พระองค์เกิดความเชื่อว่า พระสอดนัมยาโสนี้เป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อนจึงเรียกพระสอดนัมยาโสว่า ตาแล (ཏཱ་ལའི་) หรือทะไล ตั้งแต่นั้นมาประมุขสงฆ์ของทิเบตจะถูกเรียกว่า ดาไลลามะ หรือทะไล ลามะ

ทะไลลามะบางองค์ได้รับมอบอำนาจจากผู้นำมองโกลให้ปกครองประเทศทิเบตทั้งหมด ทำให้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง จนถึงทะไลลามะองค์ที่ 7 (พ.ศ. 2351-2401) ทิเบตได้เข้าสู่ยุคของการปิดประตูอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากประสบความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตามเหตุการณ์ของบ้านเมือง เช่น มีนักบวชคริสต์ศาสนาเดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ความสัมพันธ์กับประเทศอินเดียจางหาย จีนได้เข้าครอบครองทิเบตใน พ.ศ. 2494

ขณะนี้ทะไลลามะผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของทิเบตองค์ปัจจุบัน เป็นพระองค์ที่ 14 ทรงพำนักลี้ภัยอยู่ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ทรงเดินทางหลบหนีออกจากทิเบตใน พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา

พระพุทธศาสนาในทิเบตมีหลายนิกาย นิกายเก่าที่นับถือพระปัทมสัมภวะนั้นต่อมาได้ชื่อว่า นิกายญิงมาปะส่วนใหญ่นักบวชในนิกายนี้ เป็นเหล่า งักปะ (โยคีพุทธ) นิกายเกลุกปะ (ส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์)และยังมีนิกายอื่นๆอีก อาทิ สาเกียปะ การ์จูปะ โจนังปะ เป็นต้น

คำสอน[แก้]

นิกายเกลุก เน้นความเคร่งครัดในวินัยเป็นพื้นฐาน ลามะของนิกายนี้ส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ เน้นการสอนทั้งทางพระสูตรที่เป็นวิชาการ และทางตันตระที่เน้นการปฏิบัติ และการวิเคราะห์ธรรมโดยตรรกวิภาษ หัวข้อใหญ่ที่ศึกษาคือ ปัญญาบารมี ปรัชญามาธยมิกะ การรับรู้ที่ถูกต้อง ปรากฏการณ์วิทยา และพระวินัย

บทบาททางการเมือง[แก้]

ผู้นำของนิกายนี้คือทะไล ลามะ ถือเป็นประมุขของทิเบตตั้งแต่ พ.ศ. 2183

อ้างอิง[แก้]

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. [ม.ป.ท.] : ศูนย์ไทยทิเบต, 2538.