อำเภอยางสีสุราช
อำเภอยางสีสุราช | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Yang Sisurat |
โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช โรงเรียนประจำอำเภอ | |
คำขวัญ: เจียระไนพลอยหลากสี หลากหลาย ผ้าไหมเนื้อดี มากมีต้นยางใหญ่ | |
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอยางสีสุราช | |
พิกัด: 15°41′24″N 103°6′12″E / 15.69000°N 103.10333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | มหาสารคาม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 242.5 ตร.กม. (93.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 35,054 คน |
• ความหนาแน่น | 144.55 คน/ตร.กม. (374.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 44210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4411 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอยางสีสุราช ถนนสีสุราช ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม 44210 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ยางสีสุราช เป็นอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม เดิมเป็นหมู่บ้านของตำบลนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย[1] แยกออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2532[2] และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2538[3]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอยางสีสุราช มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาเชือกและอำเภอนาดูน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนาดูนและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอพุทไธสง (จังหวัดบุรีรัมย์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนาโพธิ์ (จังหวัดบุรีรัมย์)
ประวัติ
[แก้]ยางสีสุราช เดิมเป็นชื่อหมู่บ้านในตำบลนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2202 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาตั้งถิ่นฐานที่โคกหนองดุม ซึ่งมีชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์ บ้านยางสีสุราชขึ้นตรงทางการปกครองของเมืองโคราชในปี พ.ศ. 2336 จนเมื่อบ้านยางสีสุราชย้ายจากการปกครองของมณฑลนครราชสีมาไปขึ้นกับมณฑลร้อยเอ็ดและขึ้นตรงเขตเมืองมหาสารคามในปีเดียวกัน ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2407 เมื่อท้องที่ตำบลนาเชือกมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2481 ได้แยกหมู่ 8–9,15,17–20,31,35–36,38–40 ของตำบนาเชือก รวมกับพื้นที่หมู่ 5,9,11, 16,18–20,25,28 ของตำบลเม็กดำ รวม 22 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลนาภู[1]
ทิศเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยหลังปี พ.ศ. 2501 หลังจากเริ่มตั้งหมู่บ้านในพื้นที่เพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่หมู่ 9–16 ของตำบลนาภู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย มีอาณาติดต่อกับกิ่งอำเภอนาเชือกที่ตั้งขึ้นใหม่ จึงโอนพื้นที่ทั้ง 8 หมู่บ้านไปขึ้นกับทางกิ่งอำเภอใหม่ในปี พ.ศ. 2503[4] ในปี พ.ศ. 2506 ได้แยก 14 หมู่บ้านของตำบลเม็กดำ ตั้งเป็น ตำบลขามเรียน และแยก 11 หมู่บ้านของตำบลดงบัง ตั้งเป็น ตำบลบ้านกู่[5] และปี พ.ศ. 2511 ได้แยก 6 หมู่บ้านของตำบลนาภู กับ 5 หมู่บ้านของตำบลขามเรียน ตั้งเป็น ตำบลแวงดง[6] และพื้นที่หมู่ 2, 7–8,10, 12–14 ของตำบลบ้านกู่ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย มีอาณาติดต่อกับกิ่งอำเภอนาดูนที่ตั้งขึ้นใหม่ จึงโอนพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้านไปขึ้นกับทางตำบลนาดูน กิ่งอำเภอนาดูน ในปี พ.ศ. 2515[7] ในปี พ.ศ. 2520 หมู่ 10 บ้านยางสีสุราช กับอีก 4 หมู่บ้านของตำบลนาภู กับ 1 หมู่บ้านของตำบลแวงดง กับ 2 หมู่บ้านของตำบลดงเมือง แยกเป็น ตำบลยางสีสุราช[8]
ปี พ.ศ. 2531 ประชาชน 6 ตำบลด้านทิศเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ได้ยื่นเรื่องราวต่อกรมการปกครองให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากห่างไกลจากอำเภอสังกัดเดิมกว่า 22 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่รวม 6 ตำบล 71 หมู่บ้าน และปี พ.ศ. 2532 ทางราชการได้แบ่งเขตตำบลนาภู ตำบลดงเมือง ตำบลขามเรียน ตำบลบ้านกู่ ตำบลแวงดง และตำบลยางสีสุราช ออกมาเป็นกิ่งอำเภอ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์[2] โดยใช้ชื่อกิ่งอำเภอว่า "ยางสีสุราช" เป็นนามของผู้นํา คือ พระสีสุราช + ป่าดงยางใหญ่ ว่า บ้านยางสีสุราช เพื่อเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขสืบไป พร้อมทั้งแยก 11 หมู่บ้านของตำบลดงเมือง ตั้งเป็น ตำบลหนองบัวสันตุ ในปีเดียวกัน[9]
ปีต่อมาหมู่บ้านหมู่ 1 บ้านขามเรียน, หมู่ 2 บ้านโคกเลื่อน, หมู่ 8 บ้านหนองหว้าเฒ่า, หมู่ 9 บ้านโคกล่าม, หมู่ 10 บ้านหัวคู และ หมู่ 12 บ้านโคกสว่าง ตำบลขามเรียน กิ่งอำเภอยางสีสุราช ไม่สะดวกในการไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอยางสีสุราช สะดวกที่จะเดินทางไปติดต่อราชการที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จึงโอนพื้นที่ทั้ง 6 หมู่บ้านของตำบลขามเรียน ไปขึ้นกับตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย[10] ทำให้ตำบลขามเรียนเหลือพื้นที่ 10 หมู่บ้าน มีการลำดับเลขหมู่บ้านขึ้นใหม่ และเปลี่ยนเขตต่อตำบลเม็กดำ ในปี พ.ศ. 2534[11]
ในปี พ.ศ. 2537 ทางกิ่งอำเภอยางสีสุราช มีพื้นที่รวม 7 ตำบล 81 หมู่บ้าน ประชากร 34,024 คน และ 6,177 ครัวเรือน[12] มีที่ทำการไปรษณีย์[13] สถานีตำรวจ และศูนย์ราชการที่พร้อมสำหรับการตั้งขึ้นเป็นอำเภอ ต่อมาในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อําเภอยางสีสุราช[3] จนเมื่อปี พ.ศ. 2554 ทางตำบลขามเรียน อำเภอยางสีสุราช ได้รายงานขอเปลี่ยนชื่อตำบล เนื่องจากตำบลขามเรียน มีชื่อพ้องกับพื้นที่หมู่ 5 บ้านขามเรียน ตำบลหนองบัว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จึงเปลี่ยนชื่อตามพื้นที่หมู่ 5 ของท้องที่เป็น "ตำบลสร้างแซ่ง"[14]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอยางสีสุราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 91 หมู่บ้าน
1. | ยางสีสุราช | (Yang Sisurat) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
2. | นาภู | (Na Phu) | 17 หมู่บ้าน | |||||||
3. | แวงดง | (Waeng Dong) | 19 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บ้านกู่ | (Ban Ku) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ดงเมือง | (Dong Mueang) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
6. | สร้างแซ่ง | (Sang Saeng) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
7. | หนองบัวสันตุ | (Nong Bua Santu) | 12 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอยางสีสุราชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางสีสุราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสีสุราชทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาภูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแวงดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแวงดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเมืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขามเรียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างแซ่ง (ขามเรียนเดิม) ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวสันตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวสันตุทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3648–3651. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2481
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอยางสีสุราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (40 ง): 1884. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอ ภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบรบือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๐๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (19 ก): 154–156. วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2503
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืนและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (20 ง): 474–486. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวาปีปทุม และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (17 ง): 514–526. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (123 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-8. วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2515
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และกิ่งอำเภอแกดำ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (68 ง): 2984–2994. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอยางสีสุราช อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (220 ง): 9448–9457. วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอยางสีสุราช อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (255 ง): 10872. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2533
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอยางสีสุราช อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (102 ง): 5429–5435. วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2534
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (เขตตำบลนาภู ตำบลดงเมือง ตำบลขามเรียน ตำบลแวงดง ตำบลบ้านกู่ ตำบลยางสีสุราช ตำบลหนองบัวสันตุ กิ่งอำเภอยางสีสุราช อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขยางสีสุราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (31 ง): 6. วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลขามเรียน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม เป็นชื่อตำบลสร้างแซ่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (133 ง): 7. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554