อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล | |
---|---|
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 | |
ก่อนหน้า | ชำนาญ ยุวบูรณ์ |
ถัดไป | สิริ สันตะบุตร |
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2497 | |
ก่อนหน้า | ชุณห์ นกแก้ว |
ถัดไป | กำจัด ผาติสุวัณณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (88 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์ (2522 — 2547) |
คู่สมรส | นางยุพิน วิสูตรโยธาภิบาล (เปรมโยธิน) |
บุตร | 4 คน |
อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (31 พฤษภาคม 2458 - 22 พฤษภาคม 2547) อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 2 และอดีตอธิบดีกรมที่ดิน คนที่ 19 รวมถึงอดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นผู้คิดวิธีออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศเป็นระวาง และยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกาถึง 5 ครั้ง
ประวัติ
[แก้]นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (ชื่อเดิม บุญรอด โพธิวสุ) เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ที่แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรนาย พันตรีหลวงวิสูตรโยธาภิบาล (บุญมา โพธิวสุ) และนางพิศ เป็นบุตรชายคนเดียว แต่มีน้องต่างมารดา 3 คน คือ ร.ต.อ.จำลอง วิสูตรโยธาภิบาล นายเล็ก วิสูตรโยธาภิบาล และนายวิลาศ วิสูตรโยธาภิบาล นายอรรถได้สมรสกับ นางยุพิน วิสูตรโยธาภิบาล (เปรมโยธิน) และมีบุตรธิดาทั้งหมด 4 คนคือ นายพงศ์อาจ วิสูตรโยธาภิบาล นางพิมพ์ใจ ติปปวงศ์ (สมรสกับ นายสุรพล ติปปวงศ์) นางสาวพนิต วิสูตรโยธาภิบาล และนางกัลยพรรณ วิสูตรโยธาภิบาล (สมรสกับ นายโสตถิกุล คงสวัสดิ์) มีหลานทั้งหมด 5 คน คือ น.ส.อลิสา วิสูตรโยธาภิบาล (สมรสกับ นายนพพร นุชนิยม) น.ส.อณุดา วิสูตรโยธาภิบาล นายอรรถพงศ์ วิสูตรโยธาภิบาล ทั้ง 3 เป็นบุตรธิดานายพงศ์อาจ น.ส.พิรอร ติปปวงศ์ บุตรีนายสุรพลและนางพิมพ์ใจ และนายณุกร วิสูตรโยธาภิบาล บุตรนางกัลยพรรณ นายวิลาศ วิสูตรโยธาภิบาล ได้สมรสกับ นางสำราญ แก้วเปี้ย มีบุตรชาย ชื่อนาย วิชชุราช วิสูตรโยธาภิบาล
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2467 โรงเรียนวัดสุทัศน์เทพวราราม
- พ.ศ. 2473 โรงเรียนมัธยมวัดราชบพิธ
- พ.ศ. 2475 โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา
- อุดมศึกษา - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกรัฐศาสตร์ จบปี 1 (แผนกถูกยุบไปรวมกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง)
- พ.ศ. 2482 มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ปริญญาตรี ธรรมศาสตร์บัณฑิต
- พ.ศ. 2506 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
การทำงาน
[แก้]นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล เริ่มรับราชการวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็น อักษรเลข (เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัด) จังหวัดลำพูน จากนั้นก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ปลัดอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2479 ปลัดอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2480 และเป็น นายอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2484 พอถึงปลายปี พ.ศ. 2489 นายอรรถ ได้ย้ายกลับมากรุงเทพฯและรับตำแหน่ง หัวหน้าแผนกทะเบียน กองการปกครอง กรมมหาดไทย ในอีก 5 ปีต่อมา นายอรรถ ได้เลื่อนเป็น ข้าหลวงตรวจการกรมมหาดไทย ถัดมาในปี พ.ศ. 2495 รับราชการเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รับตำแหน่งอยู่แค่ 6 เดือน ก็ถูกย้ายให้ไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายแทน ตำรงตำแหน่งครบ 2 ปี ก็กลับกรุงเทพฯ รับตำแหน่งเป็น หัวหน้ากองทะเบียน กรมมหาดไทยเหมือนเดิม
จากนั้น นายอรรถ ได้รับเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา จนกระทั่งเป็น รองอธิบดีกรมการปกครอง ในปี พ.ศ. 2505 และรับตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2511 ทำอยู่ได้ 1 ปีเต็ม ก็ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมที่ดินเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 จาก จอมพลประภาส จารุเสถียร ซื่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในตอนนั้น
นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 รักษาการจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 และได้กลับไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดินเหมือนเดิม จนกระทั่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ 1 ปี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 อย่างไรก็ตาม นายอรรถ ก็ยังทำงานอยู่ โดยได้รับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆทางรัฐสภาและราชการพิเศษอื่นๆ เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[1]
ตำแหน่งหน้าที่ทางรัฐสภา
[แก้]ในขณะที่ นายอรรถ รับราชการประจำอยู่นั้น ก็มีตำแหน่งหน้าที่ทางรัฐสภาเช่นกัน
- พ.ศ. 2499 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2511 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 1
- พ.ศ. 2516 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
- พ.ศ. 2517 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 2
- พ.ศ. 2517 กรรมาธิการสามัญการปกครอง
- พ.ศ. 2517 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2518 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
- พ.ศ. 2519 ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ. 2521 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2521 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติอาคารชุด
ราชการพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2484 ช่วยราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี อำเภออรัญประเทศ ในระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีน กับฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2509 รองหัวหน้าฝ่ายอำนวยการกองบัญชาการ กองอาสารักษาดินแดน
- พ.ศ. 2509 กรรมการปฏิบัติการจิตวิทยา กองบัญชาการ กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์
- พ.ศ. 2515 ปฏิบัติหน้าที่ประจำฝ่านปฏิบัติการพลเรือน กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์
- พ.ศ. 2518 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่ 1
- พ.ศ. 2520 กรรมการจัดที่ดินแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ
- พ.ศ. 2521 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ
- พ.ศ. 2522 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 2
- พ.ศ. 2522 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่ 2
- พ.ศ. 2522 กรรมการควบคุมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2525 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่ 3
- พ.ศ. 2528 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่ 4
- พ.ศ. 2531 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่ 5
ความสำเร็จของงานที่ภาคภูมิใจ
[แก้]- พ.ศ. 2515 ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดิน ได้คิดวิธีออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศเป็นระวาง สามารถออกหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎรทั่วประเทศ เร็วกว่าระบบเดิม ผลงานดังกล่าว ทำให้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปะวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2523
- แบ่งสำนักงานที่ดินเป็นสาขาประจำอำเภอ เพื่อความสะดวกแก่ประชาชน ที่มาติดต่อเรื่องที่ดิน
- เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาสังคมศาสตร์[6]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[7]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[10]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๗, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๖ ง หน้า ๑๕๗๔, ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๕๑๓, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]เว็บไซต์กรมที่ดิน เก็บถาวร 2010-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายชำนาญ ยุวบูรณ์ | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517) |
นายสิริ สันตะบุตร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2458
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2547
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
- อธิบดีกรมที่ดิน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544