ยิดัม
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ยิดัม หรือ ยีตัม(อังกฤษ:Yidam)หรือในภาษาสันสกฤตจะเรียกว่าอิษฏเทวดา หมายถึง เทพแห่งสมาธิ หรือ องค์พระแห่งปัญญาโดยในคําสอนวัชรยานได้มีการพูดถึงตรีมูล (ซาซุม) หรือเรียกว่าสรณะภายใน ได้แก่
1.คุรุ (ลามะ)=พระพุทธ องค์แทนแห่งพร
2.เทวะ (ยิดัม)=พระธรรมองค์แทนแห่งความสำเร็จ
3.ฑากินี (คานโดร)=พระสงฆ์ องค์แทนแห่งการดำเนินพุทธกิจ
ตัวอย่างเช่นหากเราปฏิบัติสวด มหากรุณาธารณี
สวดโอม มณี ปัทม เม หูม เราก็ถือได้ว่ายิดัมของเราคืพระอวโลกิเตศวร ซึ่งยิดัมที่เป็นที่รู้จักกันมากคือพระเหรุกะ พระเหวัชร พระวัชรกุมาร(วัชรกิลายะ) เป็นต้น
เพราะเหตุใดต้องมียิดัม ตามที่พระปัทมสัมภวะ หรือคุรุรินโปเชผู้นําพุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบต ท่านได้เคยกล่าวเอาไว้ว่าการไม่มียิดัม ก็หมายความว่าเราจะไม่ได้รับผลจากการปฏิบัติ หมายความว่าเมื่อเราปฏิบัติสมาธิ เราก็ต้องมีบทปฏิบัติภาวนานั่นคือวิถีทางไปสู่ความสำเร็จ ในการปฏิบัติพุทธแบบทิเบต ก็เช่นเดียวกัน พระยิดัม เป็นเทพผู้เป็นเจ้าของคำสอนและเป็นผู้รักษาคำสอน แต่ตัวท่านเองไม่ได้เป็นเทพที่เอาไว้กราบเคารพบูชาหรือขอพรให้กับใคร เพราะท่านปรากฏในการทำสมาธิ และเป็นองค์ที่เราปฏิบัติเพื่อได้รับผล ทางธรรมหรือการไปสู่แนวทางการบรรลุธรรม
รูปแบบของยิดัม
[แก้]ยิดัม เท่าที่มีปรากฏมี 4 แบบ คือ
- เหวัชระ มี 8 เศียร เรียงตามยาวข้าละ 3 เศียรกลางใหญ่สุด มีเศียรซ้อนเศียรกลางอีกหนึ่ง มีมือถือกะโหลกทั้ง 16 มือ มือข้างขวาถือรูปสัตว์ต่าง ๆ และมนุษย์ มือซ้ายถือเทพเจ้าประจำธาตุทั้ง 4 มี 4 เท้า เท้าทั้ง 2 เหยียบคน เท้าอีก 2 อยู่ในท่าร่ายรำ มีร่างกายสีน้ำเงิน
- คุหยสมาช มี 3 เศียร แต่ละเศียรมี 3 ตา มี 6 กร อยู่ในท่ากอดรัดกับศักติ โดย 2 กรหน้าจะทำท่าวัชรหุมการ กรอื่น ๆ ถือจินดามณี จักร ดาบ รัตนะ หรือดอกบัว
- มหามายา มี 4 เศียร 4 กร อยู่ในท่ากอดรัดกับศักติ 2 กรหน้าทำท่าวัชรหุมการ ถือถ้วยกะโหลก คันศรและลูกศร
- สังวร มี 4 เศียร 12 กร สวมพวงมาลัยกะโหลก นุ่งหนังเสือและหนังช้าง กอดรัดกับศักติ มือถือระฆัง กระดิ่ง วัชระ เศียรพระพรหม และสัญลักษณ์ทางตันตระอื่น ๆ ถ้าอยู่ในรูปสัตสังวร มีเศียรเดียว 2 กร ประทับนั่งกอดรัดศักติ
รูปแบบอื่น ๆ ของยิดัม เช่น ยมานตกะ เหรุกะ มหากาฬ ชัมภละ จุณฑาฑากิณี มารีจี พระวัชรกุมาร(วัชรกิลายะ)และ ปัญจรักษา ในเนปาล เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กทม. โรงพิมพ์อักษรสมัย. 2543 หน้า 89-91