ข้ามไปเนื้อหา

ตระกูลภาษาขร้า–ไท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาตระกูลขร้า-ไท)
ตระกูลภาษาขร้า–ไท
ไท–กะได, ไดอิก
กลุ่มเชื้อชาติ:Daic people
ภูมิภาค:ภาคใต้ของจีน, ไหหลำ,
อินโดจีน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก
ภาษาดั้งเดิม:ขร้า–ไทดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:taik1256[1]
{{{mapalt}}}
แผนที่แสดงการกระจายของภาษาตระกูลขร้า–ไท

ตระกูลภาษาขร้า–ไท (อังกฤษ: Kra–Dai languages) หรือรู้จักกันในนาม ไท–กะได (Tai–Kadai) และ ไดอิก (Daic) เป็นตระกูลภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป จีนตอนใต้ และอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาทั้งหมดในตระกูลนี้เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ เช่น ภาษาไทยและภาษาลาว ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศไทยและประเทศลาว ตามลำดับ[2] ประชากรประมาณ 93 ล้านคนพูดภาษาตระกูลขร้า–ไท โดยร้อยละ 60 พูดภาษาไทย[3] เอทโนล็อก จัดให้ 95 ภาษาอยู่ในตระกูลนี้ โดย 62 ภาษาอยู่ในสาขาไท[4]

ภาษาในตระกูล

[แก้]

ตระกูลภาษาขร้า–ไทประกอบด้วยกลุ่มภาษาที่จัดแบ่งไว้ 5 สาขา ดังนี้

กลุ่มภาษาไหล

[แก้]

กลุ่มภาษาขร้า

[แก้]

กลุ่มภาษาไท

[แก้]

กลุ่มภาษากัม-ฉุ่ย

[แก้]
  • กลุ่มภาษาลักเกีย-เบียว (จีนแผ่นดินใหญ่)
  • ภาษากัม-ฉุ่ย (จีนแผ่นดินใหญ่)
    • ภาษาอ้ายจาม (Ai-Cham)
    • Cao Miao
    • ภาษาต้งเหนือ (Northern Dong)
    • ภาษาต้งใต้ (Southern Dong)
    • ภาษาคัง (Kang)
    • Mak
    • ภาษามู่หลาม (Mulam)
    • ภาษาเมาหนาน (Maonan)
    • ภาษาฉุ่ย (Sui)
    • T’en

สาขากัม-ฉุ่ย, เบ และไทมักถูกจัดให้อยู่รวมกันเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก (ดูเพิ่มที่กลุ่มภาษากัม-ไท) อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีความเห็นที่โต้แย้ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-ฉุ่ย เป็นกลุ่มขร้า–ไทเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มขร้า–ไทใต้อีกทางหนึ่งแทนดังภาพ ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้วย

ขร้า–ไท
ขร้า–ไทเหนือ

-ขร้า

กัม-ฉุ่ย

ขร้า–ไทใต้

ไหล

ไท

?

อังเบ

เปรียบเทียบคำศัพท์[5]

[แก้]
ไทย ไท เก้อหล่าว จ้วงใต้ ไหล
หมา หมา มเปา หมา ปา
ไฟ ไฟ ไป ไฟ เฝ่ยฺ
หนา หนา นเต้า หนา หนา
เมฆ ฝ้า เป๊า ฝ้า ฝ้า
หิมะ นาย (ไทใหญ่) นไต๊ นาย(น้ำค้าง) -
เหมย (น้ำค้างแข็ง) เหมือย (ลาว) มไปล้ เหมือย -

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Tai–Kadai". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Diller, Anthony, Jerry Edmondson, Yongxian Luo. (2008). The Tai–Kadai Languages. London [etc.]: Routledge. ISBN 978-0-7007-1457-5
  3. "Taikadai". www.languagesgulper.com. สืบค้นเมื่อ 2017-10-15.
  4. "Ethnologue Tai–Kadai family tree".
  5. "Ostapirat, Weera [วีระ โอสถาภิรัตน์]. Kadai dummy*-m" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-14. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]