ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเวียงสระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ee chang (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 75: บรรทัด 75:


===ทางรถไฟ===
===ทางรถไฟ===
* [[สถานีรถไฟบ้านส้อง]] เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ของทางรถไฟสายใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านส้อง
* [[สถานีรถไฟบ้านส้อง]] เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านส้อง
*[[สถานีรถไฟบ้านพรุกระแชง]] ตั้งอยู่ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] เป็น[[สถานีรถไฟ]]ชั้น 4 ของ[[ทางรถไฟสายใต้]]
*[[สถานีรถไฟบ้านพรุกระแชง]] เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านส้อง


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:09, 13 กรกฎาคม 2564

อำเภอเวียงสระ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wiang Sa
คำขวัญ: 
ชุมชนเมืองโบราณ สืบสานศรีวิชัย ตลาดใหญ่การค้า
ยางพาราชั้นดี มากมีไม้ผล ผู้คนมีน้ำใจ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเวียงสระ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเวียงสระ
พิกัด: 8°37′47″N 99°20′35″E / 8.62972°N 99.34306°E / 8.62972; 99.34306
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด427.6 ตร.กม. (165.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด62,058 คน
 • ความหนาแน่น145.13 คน/ตร.กม. (375.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84190
รหัสภูมิศาสตร์8415
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเวียงสระ หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอเวียงสระ ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอำเภอที่เจริญเป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี คนภาคใต้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า บ้านส้อง โดยเป็นศูนย์กลางทางการค้าและทางเศรษฐกิจของสุราษฎร์ธานีโซนใต้

ประวัติ

ท้องที่อำเภอเวียงสระเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านนาสาร ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองอำเภอบ้านนาสาร ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงสระ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ปีเดียวกัน[1]

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร ขึ้นเป็น อำเภอเวียงสระ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[2]

  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2511 แยกพื้นที่ตำบลเวียงสระ และตำบลทุ่งหลวง อำเภอบ้านนาสาร มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงสระ ขึ้นการปกครองกับอำเภอบ้านนาสาร[1]
  • วันที่ 25 มิถุนายน 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงสระ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียงสระ[3]
  • วันที่ 2 กันยายน 2512 ตั้งตำบลบ้านส้อง แยกออกจากตำบลเวียงสระ และตั้งตำบลคลองฉนวน แยกออกจากตำบลทุ่งหลวง[4]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะกิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร เป็น อำเภอเวียงสระ[2]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2521 ตั้งตำบลเขานิพันธ์ แยกออกจากตำบลคลองฉนวน[5]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลเวียงสระ เป็นเทศบาลตำบลเวียงสระ[6] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 6 มิถุนายน 2550 จัดตั้งศาลจังหวัดเวียงสระ ในท้องที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอชัยบุรี อำเภอบ้านนาสาร และอำเภอพระแสง[7][8]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเวียงสระตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเวียงสระแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เวียงสระ (Wiang Sa) 10 หมู่บ้าน
2. บ้านส้อง (Ban Song) 18 หมู่บ้าน
3. คลองฉนวน (Khlong Chanuan) 12 หมู่บ้าน
4. ทุ่งหลวง (Thung Luang) 16 หมู่บ้าน
5. เขานิพันธ์ (Khao Niphan) 8 หมู่บ้าน
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเวียงสระประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงสระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียงสระ และบางส่วนของตำบลบ้านส้อง
  • เทศบาลตำบลบ้านส้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านส้อง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ)
  • เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขานิพันธ์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเมืองเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงสระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองฉนวนทั้งตำบล

การคมนาคม

ทางถนน

ทางรถไฟ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (24 ง): 797. March 12, 1968.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. November 16, 1971.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงสระ กิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (57 ง): 1843–1844. June 25, 1968.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (78 ง): 2643–2648. September 2, 1969.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเวียงสระ และอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2456–2460. August 1, 1978.
  6. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999.
  7. "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (26 ก): 14–16. June 6, 2007.
  8. "พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดเวียงสระ พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (30 ก): 24–25. March 29, 2013.