ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์สุวรรณปางคำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 163: บรรทัด 163:
* ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
* ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
# [[พระอมรดลใจ (อ้ม)|เจ้าสุริยวงศ์ (อ้ม)]] เจ้าเมือง[[ตระการพืชผล]] องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ นายกองโทเก่ง เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล [[อมรดลใจ]]
# [[พระอมรดลใจ (อ้ม)|เจ้าสุริยวงศ์ (อ้ม)]] เจ้าเมือง[[ตระการพืชผล]] องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ นายกองโทเก่ง เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล [[อมรดลใจ]]
** เจ้าพรหมมา ต่อมาเป็นอุปราชเมืองตระการพืชผล
# เจ้าพรหมมา ต่อมาเป็นอุปราชเมืองตระการพืชผล


*ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
*ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:50, 7 สิงหาคม 2562

ราชวงศ์สุวรรณปางคำ
พระราชอิสริยยศพระเจ้าผู้ครองนคร
เจ้าผู้ครองนคร
เจ้าประเทศราช
ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน, อุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช ยศสุนทรประเทศราช เขมราษฎร์ธานี และหนองคาย
สาขาณ อุบล
อุปยโส
ณ หนองคาย
ประมุขพระองค์แรกพระเจ้าสุวรรณปางคำ (เจ้าปางคำ)
ประมุขพระองค์สุดท้าย· พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)
· พระสุนทรราชวงศา (เจ้าสุพรหม)
· พระเทพวงศา (พ่วย)
· พระยาวุฒาธิคุณ (เคน ณ หนองคาย)
สถาปนาพ.ศ. 2228
ล่มสลายพ.ศ. 2475
ราชวงศ์ก่อนหน้าไม่ปรากฏ

ราชวงศ์สุวรรณปางคำ หรือ เชียงรุ่งแสนหวีฟ้า เป็นราชวงศ์เจ้านายฝ่ายอีสานที่ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน อุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช ยศสุนทรประเทศราช หนองคาย เขมราษฎร์ธานี อำนาจเจริญ บึงกาฬ ฯลฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นต้นกำเนิดเมืองต่างๆ ในภาคอีสานของประเทศไทย

การสถาปนา

ราชวงศ์สุวรรณปางคำ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2228 ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง โดยเจ้าปางคำ เจ้านายเชื้อสายราชวงศ์เชียงรุ่งแสนหวีฟ้า ได้อพยพหนีภัยรุกรานของพวกจีนฮ่อบุกเข้ายึดนครเชียงรุ่ง ลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง โดยมีเจ้านายนครเชียงรุ่งที่อพยพลงมาพร้อมกันคือ เจ้าอินทกุมาร และเจ้าจันทกุมารี ซึ่งเป็นพระราชมารดาเจ้ากิ่งกิสราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (พ.ศ. 2246-2265) และเจ้าอินทโฉม กษัตริย์อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง พระองค์ที่ 2 (พ.ศ. 2266-2292)

ประมาณปี พ.ศ. 2302 พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าปางคำทรงนำกำลังไพร่พลครัวนครเชียงรุ่งแสนหวีฟ้าที่ติดตามมาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงนำไพร่พลหลวงพระบางและเวียงจันทน์มาก่อสร้างขึ้นครั้ง พ.ศ. 2106 ให้เมืองหน้าด่านของกรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เมื่อเจ้าปางคำได้มาถึงเมืองหนองบัวลุ่มภู ทรงเลือกหน้าทำเลที่ตั้งบ้านเมืองใหม่ บริเวณริมหนองบัวอันมีปราการทางธรรมชาติคือ เทือกเขาภูพานสูงตระหง่าน สามารถป้องกันข้าศึกศัตรู พร้อมก่อสร้างค่ายคูประตูหอรบ กำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียงอย่างแน่นหนา สถาปนาเวียงแห่งใหม่นี้ว่า "เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า "หนองบัวลุ่มภู" ซึ่งเป็นเมืองเอกเทศราชไม่ขึ้นตรงต่ออาณาจักรใด ทรงให้ตั้งกฏบัญญัติบ้านเมืองหนองบัวลุ่มภู มีลำพระเนียงเป็นแม่น้ำสายหลักไหลหล่อเลี้ยงชาวเมือง มีพญาช้างเผือกคู่เวียง และมีเมืองหน้าด่านของนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ได้แก่ เมืองนาด้วง เมืองภูเวียง เมืองผาขาว เมืองพรรณา[1] และสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น พระเจ้าสุวรรรปางคำ ปฐมกษัตริย์ผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานพระองค์แรก และถือเป็นปฐมราชวงศ์สุวรรณปางคำตามพระนามของพระองค์ด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์

ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์เชียงรุ่งแสนหวีฟ้า

ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง

ราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์

ราชวงศ์ล้านช้างจำปาสัก

ลำดับสายสกุลวงศ์

ชั้นที่ 1

พระเจ้าสุวรรณปางคำ (เจ้าปางคำ) ปฐมราชวงศ์สุวรรณปางคำ พระเจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) พระองค์ที่ 1

  • พระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ
  1. เจ้าพระวรราชปิตา
  2. เจ้าพระวรราชภักดี
  • พระนางเภาเทวี แห่งนครจำปาศักดิ์ มีพระราชธิดา 1 พระองค์ คือ
  1. เจ้านางแพง

ชั้นที่ 2

เจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระองค์ที่ 2

  • พระนางบุศดีเทวี มีพระโอรส และพระธิดา 11 องค์ คือ
  1. เจ้านางอูสา
  2. เจ้านางแสนสีชาติ โดยสันนิษฐานว่าเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าสิริบุญสาร และเป็นพระราชมารดาเจ้าอนุวงศ์ (มีในเอกสารใบลานพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง)
  3. เจ้าคำผง
  4. เจ้าฝ่ายหน้า
  5. เจ้าทิดพรหม
  6. เจ้าโคตร
  7. เจ้านางมิ่ง
  8. เจ้าซุย
  9. พระศรีบริบาล
  10. เจ้านางเหมือนตา
  11. เจ้าสุ้ย ต่อมาเป็นเจ้าราชบุตรเมืองอุบลราชธานี และได้รับพระราชทานเป็นเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 3 แต่ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมือง

เจ้าพระวรราชภักดี (เจ้าพระวอ) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระองค์ที่ 3

  • พระนางอรอินทร์เทวี มีพระโอรส และพระธิดา 9 องค์ คือ
  1. เจ้านางจันบุปผา
  2. เจ้าก่ำ เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1
  3. เจ้านางทุมมา
  4. เจ้านางต่อนแก้ว
  5. เจ้าเสน ต่อมาเป็นเจ้าราชบุตรเมืองยศสุนทร
  6. เจ้าเครือ
  7. เจ้าลาด
  8. เจ้านางปัดทำ
  9. เจ้าฮด

ชั้นที่ 3

เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 1

  • พระนางตุ่ย ไม่มีพระโอรส และพระธิดา
  • พระนางสีดา มีพระโอรส และพระธิดา 10 องค์ คือ
  1. เจ้านางคำสิงห์
  2. เจ้านางสีดา
  3. เจ้าสุดตา ต่อมาเป็นเจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี
  4. เจ้าหมาแพง ต่อมาเป็นเจ้าอุปราชเมืองยศสุนทร
  5. เจ้าหมาคำ
  6. เจ้าหำทอง
  7. เจ้านางสุ้ย
  8. เจ้ากุทอง ต่อมาเป็นที่เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 4
  9. เจ้านางจำปาคำ
  10. เจ้านางพิมพ์
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าไชย

พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก องค์ที่ 1

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 5 องค์ คือ
  1. เจ้าคำสิงห์ ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (เจ้าคำสิงห์) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช พระองค์ที่ 1
  2. เจ้าฝ่ายบุต ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช พระองค์ที่ 3 และเจ้าผู้ครองเมืองนครพนม
  3. เจ้านางแดง
  4. เจ้านางไทย
  5. เจ้านางก้อนแก้ว

พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช พระองค์ที่ 2

  • พระนางเหง้า แต่ไม่มีพระโอรส 1 พระองค์ คือ
  1. เจ้าโหง่นคำ ต่อมาเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองอุบลราชธานี

เจ้าโคตร

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าสีหาราช (พลสุข)

เจ้าราชบุตรสุ้ย เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 3

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. เจ้าสิงห์
  2. เจ้าคำ ต่อเป็นเจ้าราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 4 องค์ คือ
  1. เจ้าบุญจันทร์ ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 2
  2. เจ้าบุญเฮ้า ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 3
  3. ท้าวชำนาญไพรสณฑ์ (เจ้าแดง) ต่อมาเป็นที่พระกำจรจาตุรงค์ (แดง) เจ้าเมืองวารินทร์ชำราบ องค์ที่ 1
  4. เจ้านางหมาแพง

ชั้นที่ 4

เจ้าอุปราชสุดตา เจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี

  • พระนางพิมพา แห่งนครจำปาศักดิ์ มีพระโอรส และพระธิดา 13 องค์ คือ
  1. เจ้านางพิมพ์
  2. เจ้านางจำปา
  3. เจ้าโท ต่อมาเป็นเจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี
  4. เจ้าอินทิสาร
  5. เจ้าไชยสาร
  6. เจ้าคูณ
  7. เจ้านางทุมมา
  8. เจ้าสุวรรณแสน (ผู้เกิดเหตุวิวาทกับเมอสิเออร์ไซแง ทหารฝรั่งเศส)
  9. เจ้าอินทิจักร
  10. เจ้านางสิมมา
  11. เจ้านางหล้า
  12. เจ้านางบัวภา
  13. ท้าวไกยราช (เจ้าพู) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล ทองพิทักษ์

เจ้าอุปราชแพง เจ้าอุปราชเมืองยศสุนทร

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 5 องค์ คือ
  1. เจ้าบุญมา ต่อมาเป็นที่พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย คนที่ 1 และเป็นต้นสายสกุล ณ หนองคาย
  2. เจ้าสุริยะ (แข้) ต่อมาเป็นเจ้าอุปราชเมืองยศสุนทร
  3. เจ้ากันยา ต่อมาเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองยศสุนทร
  4. เจ้าเสน หรือหลวงจุมพลภักดี ต่อมาเป็นที่พระนิคมบริรักษ์ (เสน ประทุมทิพย์) เจ้าเมืองเสลภูมินิคม คนที่ 1 และเป็นต้นสายสกุล ประทุมทิพย์
  5. เจ้าโพ

พระพรหมราชวงศา (เจ้ากุทอง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช พระองค์ที่ 3

  • พระนางหมาแพง มีพระโอรส และพระธิดา 4 องค์ คือ
  1. ท้าวโพธิสาราช (เจ้าเสือ) ต่อมาเป็นอุปราชเมืองพิบูลมังสาหาร
  2. ท้าวธรรมกิติกา (จูมมณี) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร คนที่1
  3. เจ้านางคำซาว
  4. ท้าวสีฐาน (เจ้าสาง) ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองพิบูลมังสาหาร
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. เจ้าสุริยวงศ์ (อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผล องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ นายกองโทเก่ง เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล อมรดลใจ
  2. เจ้าพรหมมา ต่อมาเป็นอุปราชเมืองตระการพืชผล
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าขัตติยะ (ผู) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร องค์ที่ 2
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าปุตตะ (คำพูน) เจ้าเมืองมหาชนะชัย องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ หลวงวัฒนวงศ์โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล โทนุบล

เจ้าราชวงศ์โหง่นคำ

  • ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
  1. เจ้าไชยกุมาร ต่อมาเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองอุบลราชธานี

พระสุนทรราชวงศา (เจ้าคำสิงห์) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช องค์ที่ 1

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าบุตร ต่อมาเป็นที่เจ้าอุปราชเมืองยศสุนทร และถูกเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สั่งให้ประหารชีวิตในคุกเพลิง กรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์

พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช องค์ที่ 3 และเจ้าผู้ครองเมืองนครพนม

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าเหม็น ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัติยชาติ ประเทศราชวาเวียง ดำรงรักษ์ศักดิยศไกร ศรีพิไชยสงคราม (เจ้าเหม็น) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช องค์ที่ 4

เจ้าสีหาราช (พลสุข)

  • หม่อมสุภา มีบุตร 2 คน คือ
  1. เจ้าสุ่ย ต่อมาเป็นเจ้าราชบุตรสุ่ย
  2. เจ้าคำ ต่อมาเป็นเจ้าราชบุตรคำ

เจ้าสิงห์

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 6 องค์ คือ
  1. เจ้านางทอง
  2. เจ้าสีหาราช (หมั้น)
  3. เจ้านางบัว
  4. เจ้านางจันที
  5. เจ้านางวันดี
  6. เจ้ามา
  7. เจ้านางสีทา
  8. เจ้านางแพงแสน

พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี พระองค์ที่ 2

  • เจ้านางแตงอ่อน มีพระธิดา 1 องค์ คือ
  1. เจ้านางแท่ง ต่อมาสมรสกับท้าวธรรมกิติกา (พรหม) กรมการเมืองมุกดาหาร มีบุตร 1 คน คือ ขุนแสงพาณิชย์ (หยุย) ต้นสายสกุล แสงสิงห์แก้ว

พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 3

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. เจ้าบุญสิงห์ ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 4
  2. เจ้าบุญชัย ต่อมาเป็นเจ้าอุปราชเมืองวารินทร์ชำราบ

ชั้นที่ 5

เจ้าอุปราชโท

  • หม่อมคำมะลุน บ้านชีทวน มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวจันทร์ ต่อมาเป็นเจ้าอุปราชจันทร์
  2. ท้าวเสือ ต่อมาเป็นพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)

พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 1

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าเคน ต่อมาเป็นที่พระยาวุฒาธิคุณวิบุลยศักดิ์ อัครสุรินทรมหินทรภักดี เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 2

พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร องค์ที่ 1

  • หม่อมขิง มีบุตร และบุตรี 10 คน คือ
  1. นางบัวไข
  2. ท้าวลอด
  3. นางม่วง
  4. ท้าวมิน
  5. ท้าวรัตน์
  6. เจ้านางจวง
  7. ท้าวฮง
  8. นางหยี
  9. ท้าวห่วน
  10. นางหล้า
  • หม่อมทุม มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
  1. นางอมรา
  2. นางแก้ว
  3. ท้าวบุญเฮา
  4. นางเลื่อน
  • หม่อมดา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวหำทอง

เจ้าราชบุตร (สุ่ย) เจ้าราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

  • หม่อมทอง บุตโรบล มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวสุรินทร์ชมภู (หมั้น บุตโรบล)
  2. ท้าวหนูคำ ต่อมาเป็นเจ้าราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

เจ้าราชบุตร (คำ) เจ้าราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

  • ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวบุญเพ็ง ต่อมาเป็นพระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) กรมการเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลคือ บุตโรบล

เจ้าราชวงศ์ไชยกุมาร

  • ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวบุญชู ต่อมาเป็นพระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ผู้ว่าราชการเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พรหมวงศานนท์

พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าเหม็น) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช องค์ที่ 4

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. เจ้าสุพรหม ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (เจ้าสุพรหม) เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช องค์ที่ 5

เจ้าสีหาราช (หมั้น)

  • หม่อมสุนี มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
  1. ท้าวเล็ก ต่อมาเป็นพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล สิงหัษฐิต
  2. ท้าวสี
  3. พระภิกษุจำปาแดง
  4. เด็กหญิงบุญกว้าง

พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 4

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. เจ้าจันทบรม (เสือ) หรือเจ้าจันทบุฮม ต่อมาเป็นที่พระอมรอำนาจ (เสือ) เจ้าเมืองอำนาจเจริญ องค์ที่ 1
  2. เจ้าขัตติยะ (พ่วย) ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (พ่วย) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 5

ชั้นที่ 6

พระยาวุฒาธิคุณ (เคน ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 2

  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 8 องค์ คือ
  1. เจ้าเสือ ต่อมาเป็นที่พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 3
  2. เจ้าแพ ต่อมาเป็นที่พระยาวุฒาธิคุณวิบุลยศักดิ์ อัครสุรินทร์มหินทรภักดี (แพ ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 4 เป็นผู้เข้าขอรับพระราชทานนามสกุล ณ หนองคาย
  3. พระราชบุตร (สุพรหม ณ หนองคาย)
  4. พระบริบาลภูมิเขตร (หนูเถื่อน ณ หนองคาย)
  5. พระวิชิตภูมิกิจ (โพธิ์ ณ หนองคาย)
  6. ท้าวจันทกุมาร
  7. เจ้านางกุประดิษฐ์บดี (เปรี้ยง กุประดิษฐ์ ณ หนองคาย)
  8. เจ้านางราชามาตย์ (หนูพัน ณ หนองคาย)

ท้าวสุรินทร์ชมภู (หมั้น บุตโรบล)

  • หม่อมดวงจันทร์ บุตโรบล มีบุตร และบุตรี 9 คน คือ
  1. นางก้อนคำ สมรสกับพระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ผู้ว่าราชการอุบลราชธานี
  2. นางอบมา สมรสกับท้าววรกิติกา (คูณ) กรมการเมืองอุบลราชธานี
  3. นางเหมือนตา
  4. นางบุญอ้ม สมรสกับท้าวอักษรสุวรรณ กรมการเมืองอุบลราชธานี
  5. นางหล้า
  6. นางดวงคำ สมรสกับรองอำมาตย์ตรี ขุนราชพิตรพิทักษ์ (ทองดี หิรัญภัทร์)
  7. ท่านคำม้าว โกณฺฑญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสารพัดนึก จังหวัดอุบลราชธานี
  8. ไม่ปรากฏนาม (ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์)
  9. เจ้านางเจียงคำ บุตโรบล ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

พระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต)

  • ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
  1. เติม วิภาคย์พจนกิจ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน และประวัติศาสตร์หัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขง

ใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

อนึ่งราชวงศ์สุวรรณปางคำได้อพยพหนีภัยสงครามมาหลายครั้งหลายหน และต้องสู้อดทนเพื่อความเป็นเอกวงศ์แห่งตน และความผาสุขร่มเย็นของนิกูลวงศ์อันสืบสายมาแต่พระเจ้าสุวรรณปางคำ ก็ด้วยพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แก่เหล่านิกูลพระเจ้าสุวรรณปางคำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าประเทศราช เจ้าผู้ครองเมือง เจ้าเมือง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ เจ้าราชบุตร และดำรงชีพอยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยความผาสุขสวัสดี เหล่านิกูลของพระเจ้าสุวรรณปางคำก็ได้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททุกรัชกาล รับราชการรับใช้ใต้พระยุคลบาทตราบเท่าจวบจนปัจจบุน

อ้างอิง