ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำรวจตระเวนชายแดน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chachawan Krungsanthia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chachawan Krungsanthia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
|battles = [[การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย]]<br>[[เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม]]<br>[[สมรภูมิบ้านร่มเกล้า]]<br>[[ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย]]<br>[[กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา]]
|battles = [[การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย]]<br>[[เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม]]<br>[[สมรภูมิบ้านร่มเกล้า]]<br>[[ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย]]<br>[[กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา]]
| anniversaries =
| anniversaries =
| commander1 = พล.ต.ท. MRW.พ.ต.ต.ม.อ.จัฅวาลย์ กรุงธนารักษุ์เจริญศรีสิริสวัสดิ์พิภัทรฐาทรัพย์ 00:43, 3 กรกฎาคม 2562 (+07)
| commander1 = พล.ต.ท
| commander1_label = ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
| commander1_label = ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:43, 3 กรกฎาคม 2562

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
Border Patrol Police
สัญลักษณ์กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
สัญลักษณ์กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ประเทศ ไทย
รูปแบบกำลังกึ่งทหาร
บทบาทรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน
ต่อต้านการก่อความไม่สงบภายในประเทศ
กองบัญชาการ1279 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
คำขวัญเสียสละ อดทน ดำรงตนอย่างมีเกียรติ
เพลงหน่วยมาร์ชตำรวจตระเวนชายแดน
ปฏิบัติการสำคัญการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม
สมรภูมิบ้านร่มเกล้า
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนพล.ต.ท. MRW.พ.ต.ต.ม.อ.จัฅวาลย์ กรุงธนารักษุ์เจริญศรีสิริสวัสดิ์พิภัทรฐาทรัพย์ 00:43, 3 กรกฎาคม 2562 (+07)

ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) (Border Patrol Police) เป็น ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นกำลังเสริม แทนการใช้กำลังทหาร ในรักษาความสงบตามแนวตะเข็บชายแดน อันเนื่องจากสนธิสัญญากรุงเจนีวาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสกำหนดห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ 25 กิโลเมตรจากแนวชายแดน จุดประสงค์หลักในการจัดตั้ง ตชด.ในช่วงแรกคือป้องกันกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้ามารุกรานในประเทศ ในปัจจุบัน ตชด. มีหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดที่เข้ามาในประเทศไทยโดยเฉพาะยาบ้า

ประวัติ

ช่วงที่ 1

หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 ประเทศอาณานิคมที่เคยเป็นเมืองขึ้นมาเป็นเวลานานหลายประเทศ ก็ได้รับเอกราชคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบก็ได้รับเอกราชใหม่ทุกประเทศได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย แม้ประเทศเหล่านี้จะได้รับเอกราชสมบูรณ์ แล้วก็ตาม แต่ความสงบสุขของบ้านเมืองในแถบนี้ยังห่างไกลจากความเป็นจริง ทั้งนี้เกิดจากความยุ่งยากทางการเมืองภายในจาก การชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นยุ่งยากทางการเมืองภายใน จากการชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นในนโยบายการปกครองแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุ่งยากอันเกิดจากการเมืองภายนอกที่ประเทศคอมมิวนิสต์ และบริวารพยายามแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคของโลกส่วนนี้ให้อยู่ในอุ้งมือให้จึงได้ ทั้งได้พยายามดำเนินการทั้งมวลที่จะให้ประชาชนของประเทศเหล่านั้นจับอาวุธเข้าต่อสู้รัฐบาลของตนและประชาชนที่เป็นชาติเดียวกันเองหนักมือยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นชนวนแห่งความยุ่งยาก และก่อให้เกิดเหตุร้ายในส่วนนี้ของโลกตราบเท่าทุกวันนี้

ช่วงที่ 2

ประเทศไทยได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2484 และ สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งได้รับความบอบซ้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เศรษฐกิจและการทหารก็นับว่าอยู่ในระยะที่จะต้องปรับปรุงทั้งสิ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ปรากฏว่าสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศไทยและในภาคพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มตั้งเค้าแห่งความไม่สงบขึ้น เพราะการใช้สงครามบ่อนทำลายของฝ่ายคอมมิวนิสต์มีสิ่งบอกเหตุว่าภยันตรายอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสู้รบระหว่างฝ่ายเวียตมินต์หรือฝ่ายเวียดนามคอมมิวนิสต์กับฝรั่งเศสมีการแทรกซึมของฝ่ายเวียตมินห์เข้าสู่ประเทศลาวและประเทศเขมร ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ถูกคุกคามได้ตลอดเวลา ทางด้านภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการสู้รบกับระหว่างกองทัพของประเทศพม่ากับกองทหารจีนชาติ(ก๊กมินตั๋ง) ที่ถูกคอมมิวนิสต์ตีถอยร่นลงมาทางใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และได้เข้าอยู่ในพื้นที่ของบ้านตูมและบ้านญวนในเขตแดนพม่าตรงข้ามกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่อื่น ๆ ตรงข้ามกับจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน นอกจากนั้นกองทัพพม่ายังต่อสู้กับกะเหรี่ยงและไทยใหญ่ ที่เรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเอง ซึ่งอยู่ติดกับทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของไทยอีกด้วยทางด้านภาคใต้โจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้พื้นที่บริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย เป็นฐานทำการต่อสู้กับรัฐบาลของอังกฤษและรัฐบาลมาเลเซีย ประเทศไทยจึงอยู่ในภาวะที่จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะภัยที่ยังมองไม่เห็นกำลังคุกคามประเทศรอบด้านในขณะที่เหตุการณ์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มซึ่งแสดงการคุกคามต่อประเทศไทยขณะเดียวกันเหตุการณ์ภายในประเทศก็เกิดขึ้นอีกโดยปฏิกิริยาของชาวญวนอพยพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงที่ 3

รัฐบาลและกรมตำรวจ ได้ร่วมกันพิจารณาภาวะการทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น และพิจารณาหาหนทางในการป้องกันที่จะมิให้เกิดความเสียหายต่อความสงบสุขและความมั่นคงปลอดภัยของชาติและได้พิจารณาว่าหากจะใช้ตำรวจภูธรซึ่งงานในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมก็ล้นมืออยู่แล้วเพราะในขณะที่ศีลธรรมและขวัญของประชาชนเสื่อมและตกต่ำอย่างมากในระยะสงครามและ ยิ่งต่ำลงเมื่อสงครามเลิกแล้วส่วนการพิจารณาที่จะใช้กำลังทางทหารป้องกันและต่อสู้กับการคุกคามของคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในขณะนั้นจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศอย่างไรหรือไม่ เพราะประเทศรอบบ้านเราต่างก็มีประวัติศาสตร์ที่เคยสู้รบแย่งชิงอำนาจกันมาก โดยตลอดและการใช้กำลังทหารในขณะนั้นจะได้ผลคุ้มค่าทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและเป็นการประหยัดหรือไม่เพราะเป็นการใช้ภารกิจด้านเดียวเพราะไม่สามารถเข้าทำการปราบอาชญากรรมหรือให้การบริการแก่ประชาชนได้เหมือนข้าราชการตำรวจและพลเรือน ปัญหาก็คือจะใช้หน่วยงานอะไรจึงจะใช้ทำงานได้ผล รัฐบาลและกรมตำรวจจึงได้พิจารณาตกลงใจว่าจะต้องจัดตั้งหน่วยงานขึ้น และต้องเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะเป็นทั้ง ทหาร ตำรวจ และพลเรือน เมื่อไม่รบก็ต้องปราบปรามอาชญากรรม และในขณะเดียวกันก็ต้องบริการประชาชนได้หน่วยงานนั้นนอกจากจะเป็นผลต่อความมั่นคงปลอดภัย และรักษาความสงบตามชายแดน แล้วยังควรที่จะสามารถดำเนินการตามนโยบายของทุกกระทรวง ทบวง กรม อีกด้วย หรืออาจกล่าวโดยสรุป ก็คือว่าหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นนั้นจะต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการ

ช่วงที่ 4

แนวความคิดของรัฐบาลและกรมตำรวจในการจัดตั้ง ตชด. ก็เพื่อเสริมกำลังตำรวจภูธรในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนและป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์ ประหยัดการใช้กำลังทางทหารในยามปกติรักษาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านฝึกกำลังตำรวจเพื่อทำหน้าที่คล้ายทหาร และกำลังแบบทหารฝึกกำลังให้กับประเทศใกล้เคียง ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตำรวจตระเวนชายแดนเป็นการเตรียมกำลังตำรวจให้พร้อม เพื่อจะปฏิบัติการต่อต้านการรบนอกแบบโดยเฉพาะการรบแบบกองโจรเป็นการเตรียมกำลังตำรวจ ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพอื่น ๆ ได้ทันที ถ้าสงครามเกิดขึ้นทำการคุ้มครองพื้นที่ของประเทศที่เป็นป่าเขาทั่วไปที่การคมนาคมทุกชนิดเข้าไปไม่ถึงด้วยการเดินเท้า หรือโดยการส่งลงทางอากาศทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ใช้รอยต่อของจังหวัดและของประเทศเป็นที่ซุกซ่อนกับการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงของหนีภาษี และยาเสพติดเมื่อไม่มีเหตุการณ์ สามารถพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดการกินดีอยู่ดีแก่ประชาชน

การที่จะมอบหมายให้หน่วยทหารที่มีอยู่ในขณะนั้น ปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณแนวชายแดนก็ขัดต่อสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ระบุห้ามมิให้นำกำลังทหารไปวางไว้ ในระยะ 25 กิโลเมตร จากแนวแบ่งเขตชายแดน ไทย - ลาว และกัมพูชา และหากจะพิจารณาใช้กำลังตำรวจภูธรเข้าปฏิบัติภารกิจดังกล่าวตำรวจภูธรก็มีภารกิจหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจนไม่มีกำลังเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณแนวชายแดนได้ ในที่สุด รัฐบาลก็ได้พิจารณาจัดตั้งหน่วยกำลัง "ตำรวจตระเวนชายแดน" ขึ้นในปี พ.ศ. 2494 โดยกำหนดให้หน่วยจะต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการ ดังนี้

  1. สามารถทำการรบได้อย่างทหาร
  2. สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ
  3. สามารถดำเนินการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนได้เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน

ธงชัยประจำหน่วย

ธงชัยประจำกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมกับหน่วยตำรวจอื่นรวม 6 หน่วย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495
ธงชัยประจำกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนและธงชัยหน่วยตำรวจอื่นๆ ในพิธีถวายคำสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในวันตำรวจเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ตำรวจตระเวนชายแดนได้รับพระราชทานธงชัยประจำหน่วยตำรวจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับหน่วยอื่นของตำรวจอีก 5 หน่วย เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจด้วยพระองค์เอง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ผืนธงมีลักษณะเช่นเดียวกับธงชาติ ภายในยอดธงบรรจุเส้นพระเจ้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็กเรียกว่า "พระยอดธง" เอาไว้ ธงชัยจึงถือเป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหล่าข้าราชการตำรวจทั้งหลาย และปวงชนชาวไทยให้ความเคารพ

ธงชัยประจำกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนนี้ มีลักษณะและการได้มาเช่นเดียวกันกับธงชัยเฉลิมพลของทหารทุกประการ โดยสำนักราชเลขาธิการได้บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" นี้ไว้ ตามหลักฐานต่างๆปรากฏชื่อธงดังกล่าว ได้แก่ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" "ธงชัยประจำกอง" "ธงชัย" "ธงประจำกอง" ซึ่งล้วนก็คือธงเดียวกัน

การจัดโครงสร้างหน่วย

กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 (ค่ายบดินทรเดชา อ.มะขาม จ.จันทบุรี)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 (ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 (ค่ายพระพุทธยอดฟ้า อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 (ค่ายพระมงกุฎเกล้า อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์)
กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 (ค่ายสุรินทรภักดี อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 (ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 (ค่ายศรีสกุลวงศ์ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 (ค่ายเสนีย์รณยุทธ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี)
กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31 (ค่ายเจ้าพระยาจักรี อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 (ค่ายพญางำเมือง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 (ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี อ.สันทราย จ.เชียงใหม่)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 (ค่ายพระเจ้าตาก อ.เมืองตาก จ.ตาก)
กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 (ค่ายอาภากรเกียรติวงศ์ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42 (ค่ายศรีนครินทรา อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 (ค่ายรามคำแหง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา)
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 (ค่ายพญาลิไทย อ.เมืองยะลา จ.ยะลา)
กองบังคับการฝึกพิเศษ
  • กองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี)
  • กองกำกับการ 2 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายพระยาสุรสีห์ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา)
  • กองกำกับการ 3 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายพระยอดเมืองขวาง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี)
  • กองกำกับการ 4 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายเสนีย์รณยุทธ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี)
  • กองกำกับการ 5 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายนเรศวรมหาราช อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่)
  • กองกำกับการ 6 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายรามคำแหงมหาราช อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย)
  • กองกำกับการ 7 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายศรียานนท์ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี)
  • กองกำกับการ 8 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายศรีนครินทรา อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช)
  • กองกำกับการ 9 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายท่านมุก อ.สะเดา จ.สงขลา)
กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ (ค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี)
กองบังคับการสนับสนุน
กองบังคับการอำนวยการ

การแข่งขันกีฬาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ประวัติ

ครั้งที่ ระยะเวลา เจ้าภาพ ชนะเลิศ หมายเหตุ
1 20-22 เมษายน2554 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4
2 20-22 เมษายน 2555 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1
3 24-26 เมษายน 2556 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3
4 21-23 เมษายน 2557 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4
5 21-25 เมษายน 2558 ██ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3
6 25-29 ธันวาคม 2559 ██ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1
7 2-5 เมษายน 2561 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ██ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1

อ้างอิง

 บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก "2004 edition"

แหล่งข้อมูลอื่น