ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอแม่พริก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
SARANPHONG YIMKLAN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
|- style=
|- style=
! ที่ !! ชื่อตำบล !! [[อักษรธรรมล้านนา|ตัวเมือง]] !! อักษรโรมัน !! จำนวนหมู่บ้าน !! จำนวนครัวเรือน!!จำนวนประชากร<ref> จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย</ref>
! ที่ !! ชื่อตำบล !! [[อักษรธรรมล้านนา|ตัวเมือง]] !! อักษรโรมัน !! จำนวนหมู่บ้าน !! จำนวนครัวเรือน!!จำนวนประชากร<ref> จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย</ref>
|- style="background: #ffffff;"
|-
||1.||แม่พริก||[[ไฟล์:LN-Tambon-Mae Phrik.png|40px]]||Mae Phrik||10||2,307||7,037
||1.||แม่พริก||[[ไฟล์:LN-Tambon-Mae Phrik.png|40px]]||Mae Phrik||10||2,307||7,037
|- style="background: #ffffff;"
|-
||2.||ผาปัง||[[ไฟล์:LN-Tambon-Pha Pang.png|40px]]||Pha Pang||5||462||1,673
||2.||ผาปัง||[[ไฟล์:LN-Tambon-Pha Pang.png|40px]]||Pha Pang||5||462||1,673
|- style="background: #ffffff;"
|-
||3.||แม่ปุ||[[ไฟล์:LN-Tambon-Mae Pu.png|40px]]||Mae Pu||6||1,263||4,248
||3.||แม่ปุ||[[ไฟล์:LN-Tambon-Mae Pu.png|40px]]||Mae Pu||6||1,263||4,248
|- style="background: #ffffff;"
|-
||4.||พระบาทวังตวง||[[ไฟล์:LN-Tambon-Phra Bat Wang Tuang.png|55px]]||Phra Bat Wang Tuang||8||1,128||3,894
||4.||พระบาทวังตวง||[[ไฟล์:LN-Tambon-Phra Bat Wang Tuang.png|55px]]||Phra Bat Wang Tuang||8||1,128||3,894
|}
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:38, 6 พฤษภาคม 2562

อำเภอแม่พริก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Phrik
คำขวัญ: 
สวนส้มเกลี้ยงลือไกล ถิ่นลำไยไร้สารพิษ
ถ้ำน้ำผ่างามวิจิตร เมืองเศรษฐกิจชุมชน
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอแม่พริก
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอแม่พริก
พิกัด: 17°26′54″N 99°6′54″E / 17.44833°N 99.11500°E / 17.44833; 99.11500
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด538.921 ตร.กม. (208.079 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด16,156 คน
 • ความหนาแน่น29.97 คน/ตร.กม. (77.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 52180,
52230 (เฉพาะหมู่ 1, 2, 6 ตำบลพระบาทวังตวง)
รหัสภูมิศาสตร์5209
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่พริก หมู่ที่ 5 ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง 52180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่พริก (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอแห่งหนึ่งใน จังหวัดลำปาง

ประวัติ

อำเภอแม่พริกตั้งอยู่บนลำห้วยแม่พริก เข้าใจว่าชื่อ อำเภอแม่พริก คงจะได้มาจากชื่อลำห้วยแม่พริกนี้ ส่วนที่มาของคำว่า “แม่พริก” มีเรื่องเล่ามาว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่อำเภอนี้จึงมีรอยพระพุทธบาทประทับอยู่บนรอยหิน 2 รอย แต่รอยพระพุทธบาททั้ง 2 รอย เป็นรอยกลับกัน (ชาวบ้านเรียกว่า “ปิ๊ก”หรือ “พลิก”แปลว่า “กลับ”)ต่อมานานเข้าเลยเรียกเพี้ยนจาก “พลิก”มาเป็น “พริก”เรื่องเล่าหรือคำบอกเล่าเหล่านี้จึงเป็นที่มาของลำห้วยแม่พริก ก่อนที่จะตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่พริก ปรากฏว่า ท้องที่อำเภอแม่พริกแห่งนี้เป็นหมู่บ้าน ขึ้นกับอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มีรวมด้วยกัน 3หมู่บ้าน คือ บ้านพริกลุ่ม บ้านแม่พริกบน และบ้านแม่เชียงราย ติดต่อกับเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีม่อนก่องหิน

  • เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2443 ถึงปี พ.ศ. 2447 จังหวัดตาก ได้ตั้งด่านเก็บภาษีค่านาเงินรัฐชูปการ ขึ้นที่บ้านแม่พริกลุ่ม และได้จัดส่งเจ้าน้อยสารมาเป็นนายด่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เจ้าน้อยสารถูกคนร้ายปล้นฆ่าตายทางราชการจึงได้โอนหมู่บ้านแม่พริกลุ่ม บ้านแม่พริกบน และบ้านแม่เชียงราย จากอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มาขึ้นกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยถือเขตห้วยแม่เชียงรายและห้วยแม่ระวาน เป็นเส้นแบ่งเขตและตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่พริกขึ้นโดยมีทีทำการกิ่งอำเภอแม่พริกอยู่ที่บ้านแม่พริกลุ่ม เมื่อแรกที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนั้น ได้แบ่งเขตปกครองออกเป็น 5 ตำบล คือ ตำบลแม่พริกลุ่ม ตำบลแม่พริกบน ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ และตำบลน้ำดิบ
  • เมื่อปี พ.ศ. 2470 ได้ยุบตำบลแม่พริกบน รวมกับตำบลแม่พริกลุ่ม เรียกชื่อเป็นทางการใหม่ว่า “ตำบลแม่พริก”
  • เมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบตำบลน้ำดิบไปรวมกับตำบลแม่วะ เขตอำเภอเถิน และโอนบ้านแม่ตั๋ง บ้านท่าต้นแหน ไปรวมกับตำบลแม่พริก โอนบ้านเกาะหัวช้าง บ้านตะฝั่งสูง บ้านน้ำลัด ไปรวมกับตำบลแม่ปุ ดังนั้น จึงเหลือเขตการปกครองอยู่เพียง 3 ตำบล คือ ตำบลแม่พริก ตำบลแม่ปุ และตำบลผาปัง
  • กิ่งอำเภอแม่พริก ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2501

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอแม่พริกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอแม่พริกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 30หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[1]
1. แม่พริก Mae Phrik 10 2,307 7,037
2. ผาปัง Pha Pang 5 462 1,673
3. แม่ปุ Mae Pu 6 1,263 4,248
4. พระบาทวังตวง Phra Bat Wang Tuang 8 1,128 3,894

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอแม่พริกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

สถานที่ท่องเที่ยว

ถ้ำน้ำผ่าผางาม

ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าชุม หมู่ที่ 2 ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นถ้ำธรรมชาติที่กว้างขวาง มีความยาว 302 เมตร อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทดี มีจุดชมธรรมชาติ และหินงอก หินย้อย รูปร่างแปลกๆ สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ระยะทางห่างจากถนนสายเอเซีย 2 ถนน 4 เลน ประมาณ 100 เมตร ขณะนี้ได้รับการปรับปรุงทางเข้าเป็นถนนคอนกรีตทางขึ้นเยี่ยมชมภายในถ้ำ มีบันไดปูนทอดยาวถึงปากถ้ำ บรรยากาศภายในตัวถ้ำสวยงามตามธรรมชาติ อากาศเย็นสบาย โดยจะมีวัดอยู่บริเวณทาง ขึ้น มีไฟฉายให้บริการ

วัดพระพุทธบาทวังตวง

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง วัดพระบาทวังตวงเป็นวัดเก่าแก่มีรอยพระพุทธบาทเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่พริก เป็นวัดเก่าแก่มีรอยพระพุทธบาท เป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอแม่พริก มีตำนาน อันศักดิ์สิทธิ์มายาวนาน มีปูชนียสถานที่สำคัญ คือ รอยพระพุทธบาท 2 รอย ประดิษฐาน อยู่บนยอดดอยที่มีความสูงประมาณ 80 จากระดับแม่น้ำวัง ชื่อของวัด แยกตามศัพท์ได้ 2 ความหมาย คือ พระพุทธบาท หมายถึงรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าและคำว่า วังตวง หมายถึงวังน้ำวนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวังติดกับวัดพระพุทธบาทวังตวง และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง รองรับสิ่งที่ไหล เทลงมา(เช่นภาษาถิ่นว่าเอกโอ่งมาตวงน้ำฝน)อีกอย่างหนึ่งคำว่า "ตวง" มีผู้สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ต๊วง" ซึ่งเป็นภาษาถิ่น แปลว่า "ดิ้น" หรือพลิกตัว(ฉะนั้นคำว่า "วังตวง" จึงมีความหมายว่าวังน้ำวนที่รองรับน้ำที่ไหลเทลงมา จากดอยพระบาทและอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง วังน้ำวนที่มีพญานาคพลิกตัวไปมา ดังตำนานเล่าสืบต่อกันมา)

น้ำตกแม่ตั๋ง

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านแม่ตั๋ง ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นน้ำตกที่เกิดจากการทับถมของใบไม้กลายเป็นชั้นหินเล็กๆ และมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ซึ่งชาวบ้านยังใช้ประโยชน์ จากน้ำตกดังกล่าวในการดำรงชีวิตประจำวัน

อ้างอิง

  1. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย