ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กิเลส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jcvision1990 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประเภทของกิเลส: เพิ่มราคะ ที่ตกไป
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
# '''[[อุทธัจจะ]]''' ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
# '''[[อุทธัจจะ]]''' ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
# '''[[ทิฏฐิ]]''' ความเห็นผิดเป็นชอบ
# '''[[ทิฏฐิ]]''' ความเห็นผิดเป็นชอบ
# '''[[ราคะ]]''' ความกำหนัด
# '''[[วิจิกิจฉา]]''' ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
# '''[[วิจิกิจฉา]]''' ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
# '''[[โลภะ]]''' ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
# '''[[โลภะ]]''' ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
บรรทัด 23: บรรทัด 24:


ความเป็นตัวตน
ความเป็นตัวตน

== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:23, 19 กรกฎาคม 2559

กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก

กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่

กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจของคน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต

กิเลส[2]

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ = กิเลสา แปลว่า ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน เศร้าหมอง ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กิเลส

กิลิสฺสติ เอเตหีติ = กิเลสา แปลว่า สัมปยุตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมอง เร่าร้อน ด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้นธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเร่าร้อนของสัมปยุตนั้น จึงชื่อว่า กิเลส

ประเภทของกิเลส

  1. อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต
  2. โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ
  3. โมหะ ความหลงใหล ความโง่
  4. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
  5. ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ
  6. ราคะ ความกำหนัด
  7. วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
  8. โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
  9. ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา
  10. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต
  11. มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง

ความเป็นตัวตน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, [[วัดราชะ ปริจเฉทที่ 7 สมุจยสังคหวิภาค
  • [2] แนบ มหานีรานนท์ "อภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค"