ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sco:Sunderland A.F.C.
Almabot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 237: บรรทัด 237:
[[it:Sunderland Association Football Club]]
[[it:Sunderland Association Football Club]]
[[ja:サンダーランドAFC]]
[[ja:サンダーランドAFC]]
[[ka:სანდერლენდი (საფეხბურთო კლუბი)]]
[[ko:선덜랜드 AFC]]
[[ko:선덜랜드 AFC]]
[[lb:Sunderland AFC]]
[[lb:Sunderland AFC]]
[[lt:Sunderland AFC]]
[[lt:Sunderland AFC]]
[[mn:Сандерленд (хөлбөмбөгийн баг)]]
[[mr:संडरलँड ए.एफ.सी.]]
[[mr:संडरलँड ए.एफ.सी.]]
[[ms:Sunderland A.F.C.]]
[[ms:Sunderland A.F.C.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:49, 4 ตุลาคม 2553

ซันเดอร์แลนด์
Sunderland AFC
ชื่อเต็มSunderland Association Football Club
ฉายาแมวดำ (The Black Cats)
ก่อตั้งค.ศ. 1879
สนามสเตเดียมออฟไลท์, ซันเดอร์แลนด์
ความจุ49,000 คน
ประธานไนออล ควินน์
ผู้จัดการสตีฟ บรูซ
ลีกเอฟเอ พรีเมียร์ลีก
2006-07ชนะเลิศ ลีกแชมเปี้ยนชิพ
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ มีสนามเหย้าชื่อสเตเดียมออฟไลท์ ตั้งอยู่ในเมืองซันเดอร์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ เป็นทีมที่เล่นในพรีเมียร์ลีก

เริ่มใช้งานสนามสเตเดียมออฟไลท์ตั้งแต่ปี 1997 หลังจากใช้งานสนาม Roker Park มากกว่า 99 ปี ซันเดอร์แลนด์เคยเป็นแชมป์ลีกสูงสุด 6 ครั้ง ในปี 1892, 1893, 1895, 1902, 1913 และ 1936 เข้าร่วมกับลีกอังกฤษตั้งแต่ปี 1890 โดยซันเดอร์แลนด์เล่นอยู่ในลีกสูงสุดเรื่อยมาจนถึงปี 1958 เคยชนะเลิศเอฟเอคัพ 2 ครั้ง ในปี 1937 ชนะ เปรสตัน นอร์ธ เอนด์ 3-1 และในปี 1973 ชนะ ลีดส์ ยูไนเต็ด 1-0

ฤดูกาล 2006-2007 ชนะเลิศฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ ทำให้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลปัจจุบัน (2007-2008) มีประธานสโมสรคือไนออล ควินน์ และมี สตีฟ บรูซ เป็นผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน

ประวัติสโมสร

สโมสรซันเดอร์แลนด์ (Sunderland A.F.C.) ก่อตั้งขึ้นในปี 1879 ภายใต้ชื่อเดิม Sunderland & District Teachers Association และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sunderland Association Football Club และได้เริ่มรับนักเตะเข้ามาร่วมทีมและเข้าร่วมฟุตบอลลีกอาชีพในปี 1890

ในช่วงแรกระหว่างปี 1886-1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับสโมสรนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ต่อมาในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ย้ายมาใช้สนามโรเกอร์พาร์ค เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่

ปี 1913 ซันเดอร์แลนด์พ่ายให้กับทีมแอสตันวิลลา ในเกมนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ทีมซันเดอร์แลนด์ก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนในปี 1958 ทีมซันเดอร์แลนด์ตกชั้นไปเล่นลีกดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก

จนถึงปี 1987 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ย่ำแย่ทำให้ตกลงไปเล่นในระดับดิวิชั้น 3 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมาภายใต้การทำทีมของ Dennis Smith ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นและเป็นแชมป์ในปี 1988 และหลังจากนั้น 2 ปีสามารถทำผลงานได้ถึงรอบเพลย์ออฟ (playoff) แต่ต้องพ่ายให้กับสวินดอน หลังจากพ่ายแพ้ทำให้ยังคงต้องเล่นอยู่ในระดับดิวิชั้น 2 ในฤดูกาล 1991-1992 ทีมสามารถเข้าใกล้พื้นที่เพลย์ออฟแต่ทำไม่สำเร็จ ได้เพียงเข้าชิงเอฟเอคัพ และพ่ายให้กับลิเวอร์พูลในที่สุด

Dennis Smith ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมโดยมี Malcolm Crosby ทำหน้าที่แทน(เพียงหนึ่งปี) และ เทอร์รี่ บุทเชอร์ ก็เข้ามาเป็นผู้จัดการในระยะสั้น และได้เปลี่ยนเป็น Mick Buxton

ในปี 1995 ซันเดอร์แลนด์ก็ได้ใช้บริการผู้จัดการทีมคนใหม่ ปีเตอร์ รีด เพียงแค่ฤดูการแรก ปีเตอร์ รีด ก็สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการพาทีมขึ้นสู่ระดับพรีเมียร์ลีก หลังจากต้องพยายามอยู่กว่า 5 ปี แต่เนื่องจากทำผลงานได้ไม่ดีนักทำให้ต้องกลับไปเล่นในระดับดิวิชั่น 1 เมื่อจบฤดูกาล และในปีเดียวกันนั้น ทีมซันเดอร์แลนด์ต้องย้ายจากสนาม Roker Park ที่เคยใช้งานมากว่า 99 ปี มายังสนามแห่งใหม่ที่มีความจุมากที่สุดแห่งหนึ่งในรอบ 70 ปีของสนามกีฬาในอังกฤษ ด้วยจำนวนที่นั่งผู้ชม 42,000 คน และได้ขยายมาเป็น 49,000 คน

ซันเดอร์แลนด์กลับสู่ระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้งในปี 2000-2001 ด้วยฤดูกาลที่ไม่ยากเย็นนัก ปี 1998-1999 ทำคะแนนได้สูงถึง 105 คะแนน ในอีก 2 ปีต่อมา 2001-2002 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ดีอยู่อันดับ 7 ในระดับพรีเมียร์ลีก แต่ทว่ายังพลาดโอกาสที่จะไปเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรป ในปีต่อมา 2002-2003 ผลงานกลับทำผลงานได้ย่ำแย่อีกครั้ง เมื่อชนะเพียง 4 เกม ยิงได้ 21 ประตู เก็บได้แค่ 19 คะแนนเท่านั้น เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ซันเดอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะหนี้สินท้วมสโมสร มากกว่า 20 ล้านปอนด์ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะที่ดีที่สุดไปเพื่อพยุงสถานการณ์ของสโมสร

ในฤดูกาล 2004-2005 ซันเดอร์แลนด์จบอย่างสวยหรู โดยการทำทีมของ มิค แมคคาร์ธธี โดยเป็นแชมป์ของลีก Coca-Cola Championship และได้กับมาเล่นในระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้ง (ครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปี) อย่างไรก็ตามหลังจากจบซีซัน 2005-2006 ซันเดอร์แลนด์เก็บได้เพียง 15 คะแนน เป็นประวัติการได้คะแนนน้อยที่สุดของสโมสร ทำให้ แมคคาร์ธธี ต้องออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงกลางฤดูกาล โดยมีรักษาการผู้จัดการทีมคือ Kevin Ball

หลังจากนั้นความหวังของทีมซันเดอร์แลนด์ก็กลับมาอีกครั้งในปี 2006 ด้วยการเข้าซื้อกิจการของไนออล ควินน์ อดีตนักเตะของซันเดอร์แลนด์ ร่วมกับ Irish Drumaville Consortium ทำการซื้อหุ้นจากประธานสโมสรคนก่อน Bob Murray และการเข้ามาคุมทีมของรอย คีน อดีตกัปตันแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นอดีตทีมชาติไอร์แลนด์เหมือนประธานสโมสร

หลังจากการเข้ามาของประธานสโมสร และผู้จัดการทีมคนใหม่ ซันเดอร์แลนด์สร้างสถิติไม่แพ้ใคร 17 นัดติดต่อกันในฤดูกาล 2006-2007 ในช่วงต้นปี 2007 เก็บคะแนนได้เป็นกอบเป็นกำ ขยับจากตำแหน่งบ๊วยของตารางขึ้นมาเป็นจ่าฝูง และทำให้ซันเดอร์แลนด์เลื่อนชั้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกในฐานะ ทีมชนะเลิศ พร้อมกับ เบอร์มิงแฮม ซิตี้(อันดับ 2) และทีมดาร์บีเคาน์ตี (เพลย์ออฟ)

ในนัดเปิดสนามฤดูกาล 2007-2008 ซันเดอร์แลนด์ชนะทอตแนมฮ็อตสเปอร์ ด้วยสกอร์ 1-0 โดยการทำประตูของ ไมเคิล โชปราในช่วงทดเวลาเจ็บ และนัดที่สองเสมอกับทีมน้องใหม่เหมือนกันคือ Birmingham City 2-2 โดย ไมเคิล โชปรา และ สเติร์น จอห์น ช่วยกันทำประตู

ในฤดูกาล2008/2009 ซันเดอร์แลนด์ เล่นนัดเปิดสนาม แพ้ ลิเวอร์พูล 0-1 หลังจากนั้นไม่กี่เดือน รอย คีน ก็ลาออกจากตำแหน่ง เพราะผลงานทีมย่ำแย่และเป็นริคกี้ สบราเกีย ผู้ช่วยเขาเข้ามาคุมทีมชั่วคราวแต่เพียงสองนัดผลงานทีมดูดีขึ้นด้วยการถล่มเวสบรอมวิชและฮัลส์ ซิตี้ทำให้ได้คุมทีมถาวรพอหลังจากนั้นผลงานทีมก็แย่ลง ทั้งที่มีนักเตะอย่าง ฌิบริล ซิสเซ่ อดีตหัวหอกลิเวอร์พูล เคนวิน โจนส์ หัวหอกดาวซัลโวปีที่แล้ว รวมถึง คีแรน ริชาร์ดสันด้วย จนเมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับ16 ริคกี้ สบารเกีย ก็ออกจากตำแหน่งโดยคนที่มาแทนที่คือ สตีฟ บรูซ และ ได้ดึงนักเตะอย่าง ดาร์เรน เบนท์,เฟรเซอร์ แคมป์เบลล์ หัวหอกดาวรุ่งจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด รวมถึง เปาโล ดาซิลวา ปราการหลังทีมชาติอุรุกวัย การเสริมทัพนับว่าน่าสนใจและน่าจะทำให้ทีมมีอนาคตที่ดีขึ้น และในช่วงต้นฤดูกาลในเกมส์พบลิเวอร์พูลเกิดเหตุการ์ณที่สร้างความฮือฮาไปทั่ววงการเมื่อดาร์เรน เบนท์ กองหน้าซันเดอร์แลนด์ยิงไปโดนลูกบอลชายหาดที่แฟนเชียร์ขว้างลงมาในสนามทำให้บอลเปลี่ยนทางเข้าประตูไปโดยเกมส์นี้ซันเดอร์แลนด์ชนะไป1-0และยังสามารถเอาชนะอาร์เซนอลด้วยสกอร์1-0ก่อนที่ช่วงท้ายฤดูกาลซันเดอร์แลนด์ฟอร์มตกจนหมดโอกาสที่จะลุ้นไปเล่นฟุตบอลยุโรปทั้งที่กองหน้าอย่างดาร์เรน เบนท์ โชว์ฟอร์มได้ยอดเยี่ยมด้วยการยิงไป 24 ประตู

สนามเหย้า

สเตเดียมออฟไลท์

สีประจำสโมสร

เมื่อก่อนนี้ซันเดอร์แลนด์ใช้ชุดแข่งสีน้ำเงินล้วน โดยมีสีแดงเพียงเล็กน้อยบนบ่า และได้เปลี่ยนเปลี่ยนเป็นสีแดงสลับขาวตั้งปี 1887 เป็นต้นมา ปัจจุบันฤดูกาล 2007-2008 ซันเดอร์แลนด์ใช้ชุดทีมเยือนเป็นสีขาวล้วน ซึ่งใช้มานานแล้วตั้งแต่ปี 1898 และชุดทีมเยือนแบบที่ 2 เป็นสีน้ำเงินล้วน

ชื่อเล่น

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ชื่อเล่นที่รู้จักกันทั่วไปของสโมสรซันเดอร์แลนด์ คือ "The Black Cats" (แมวดำ)

โดยในประวัติของสโมสร ได้เคยมีชื่อเล่นที่เรียกสโมสรไว้หลายหลายชื่อ เช่น Black Cat Battery, Eye Plan, Team of All Talents, Bank of England club เป็นต้น

ฤดูกาล 2006-2007 ที่ผ่านมา ตั้งแต่สองนายใหญ่ ไนออล ควินน์ และ รอย คีน เข้ามาคุมทีม มีข้อสังเกตว่าจากที่ทั้งสองเป็นอดีตนักเตะไอร์แลนด์ และได้ดึงนักเตะสัญชาติไอร์แลนด์เข้ามาร่วมทีมหลายคน (9 ใน 34 คน) เลยมีการหยอกล้อว่าเป็น "Sund-Ireland"

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สกอตแลนด์ เคร็ก กอร์ดอน
2 DF อังกฤษ ฟิล บาร์ดสลี่ย์
3 DF ไอร์แลนด์เหนือ จอร์จ แม็คคาร์ทนี่ย์
5 DF อังกฤษ แอนตัน เฟอร์ดินานด์
6 DF จาเมกา ไนรอน นอสเวิร์ทธี่
8 MF อังกฤษ สตีฟ มัลบร็องก์
9 FW สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เฟรเชอร์ แคมป์เบลล์
10 MF อังกฤษ คีแรน ริชาร์ดสัน
11 FW อังกฤษ ดาร์เรน เบนท์
12 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เลียม มิลเลอร์
15 DF เวลส์ แดนนี่ คอลลินส์
17 FW ตรินิแดดและโตเบโก เคนวิน โจนส์
18 MF อังกฤษ แกรนต์ ลีดบิทเทอร์
20 MF อังกฤษ แอนดี้ รีด
21 DF สกอตแลนด์ รัสเซลล์ อันเดอร์สัน
31 FW สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เดวิด คอนนอลลี่
32 GK ฮังการี มาร์ตัน ฟูล็อป
33 MF สกอตแลนด์ รอสส์ วัลเลซ
MF อังกฤษ ลี แคตเทอร์โมล
DF ปารากวัย ดาซิลวา
DF อังกฤษ ไตตรัส บรัมเบิ้ล

ผู้เล่นที่อยู่ระหว่างการยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 DF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไคลฟ์ คลาร์ก ((เลสเตอร์ซิตี้))
28 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ แกรห์ม คาวานาฟ ((เชฟฟิลด์ เวนส์เดย์))
32 GK ฮังการี มาร์ตอน ฟูลอป ((เลสเตอร์ซิตี้))
MF สเปน อาร์เนา ริเอรา ((ฟัลเคิร์ก))
DF อังกฤษ สตีเฟ่น ไรท์ ((สโต๊ก))

อดีตผู้เล่นที่โด่งดัง

สถิติที่สำคัญของสโมสร

ระยะเวลา 117 ปี (76 ปีในลีกสูงสุด) ซันเดอร์แลนด์เล่นไปแล้วกว่า 4,700 นัด โดยเฉลี่ยชนะ 41% เสมอ 24% และแพ้ 35% ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วประตูได้เสีย รวมแล้วได้มากกว่าเสียประมาณ 600 ประตู

  • สถิติผู้ชม
    • ผู้ชมสูงสุด (รวมทุกรายการ): 75,118 (แข่งกับดาร์บี้ เค้าท์ตี้, เอฟเอคัพ รอบที่ 6 นัดแข่งใหม่, 8 มีนาคม 1933 สนามโรเกอร์พาร์ค)
    • ผู้ชมสูงสุด (เกมลีก): 68,004 (แข่งกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ด, 4 มีนาคม 1950) โดยมีการคาดการว่าอาจมีผู้ชมเข้าชมมากถึง 90,000 ในเกมที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในปี 1964 ที่สนามโรเกอร์พาร์ค
    • ผู้ชมสูงสุด (สนามสเตเดียมออฟไลท์): 48,355 (แข่งกับลิเวอร์พูล, พรีเมียร์ลีก, 13 เมษายน 2002) นอกจากนี้สถิติที่เคยทำได้สูงสุดหลังจากไม่ได้เล่นในระดับลีกสูงสุดคือ 47,350 (แข่งกับสโตคซิตี้, ลีกแชมเปียนชิพ, 8 พฤษภาคม 2005)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (รวมทุกรายการ): 1,000? (แข่งกับ Firefield, เอฟเอคัพรอบแรก, 2 กุมภาพันธ์ 1895 สนามนิวคาสเซิลโร้ด) (ประมาณการตัวเลข)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (เกมลีก): 2,000? (แข่งกับเอฟเวอร์ตัน, 10 เมษายน 1910 หรือ แข่งกับเบิร์นลี่ย์, 12 ธันวาคม 1914) (ประมาณการตัวเลข และทั้งสองเกมแข่งที่โรเกอร์พาร์ค)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลท์): 11,450 (แข่งกับเชสเตอร์ซิตี้, ลีกคัพรอบแรก, 24 สิงหาคม 2004)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลท์, เกมลีก): 22,167 (แข่งกับวีแกนแอทเลติค, 2 ธันวาคม 2003)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (รวมทุกรายการ): 47,976 (1949-1950 ที่โรเกอร์พาร์ค)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (สนามสเตเดียมออฟไลท์): 46,790 (2000-2001)
    • ผู้ชมสูงสุดเปรียบเทียบกับพื้นที่อัฒจันทร์: 97% (1999-2000)
  • ผลการแข่งขัน
    • ชนะมากที่สูงสุด (เกมลีก): 1-9 (แข่งกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ด, ดิวิชั่น 1, 5 ธันวาคม 1908)
    • ชนะมากที่สูงสุด (ฟุตบอลถ้วย): 11-1 (แข่งกับ Fairfield, เอฟเอคัพรอบแรก, 2 กุมภาพันธ์ 1895)
    • แพ้มากที่สุด: 8-0 (แข่งกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด, 19 ตุลาคม 1968 และ แข่งกับวัตฟอร์ด 25 กันยายน 1982)
  • ผู้เล่น
    • ลงเล่นมากที่สุดตลอดกาล: 623 นัด - Jimmy Montgomery (เกมลีก 537, ฟุตบอลถ้วย 78 และอื่นๆ 8 นัด)
    • ทำประตูมากที่สุดตลอดกาล: 228 ประตู - Bobby Gurney
    • ทำประตูมากที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้: 113 ประตู - Kevin Phillips
    • ทำประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 43 ประตู - Dave Halliday ฤดูกาล 1928-29
    • นักเตะที่มีค่าตัวสูงที่สุด: 9 ล้านปอนด์ (Craig Cordon ซื้อจาก Hearts) (เป็นบันทึกการซื้อตัวผู้รักษาประตูที่แพงที่สุดในฟุตบอลลีกอังกฤษ)
  • ผลการแข่งขันต่อเนื่อง
    • ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 13 เกม (14 พฤศจิกายน 1891 - 2 เมษายน 1982)
    • เสมอติดต่อกันนานที่สุด: 6 เกม (26 มีนาคม 1949 - 19 เมษายน 1949)
    • แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 17 เกม (18 มกราคม 2003 - 23 สิงหาคม 2003)
    • ไม่แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 19 เกม (3 พฤษภาคม 1998 - 11 พฤศจิกายน 1998)
    • ไม่ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 22 เกม (21 ธันวาคม 2002 - 23 สิงหาคม 2003)
  • คะแนน
    • คะแนนสูงสุดในหนึ่งฤดูกาล: 105 คะแนน (ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1998-99) (เป็นบันทึกในฟุตบอลลีกของอังกฤษ)
    • คะแนนน้อยที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 15 คะแนน (พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2005-06) (เป็นบันทึกในฟุตบอลลีกของอังกฤษ ตั้งแต่ใช้วิธีเก็บคะแนนแบบชนะได้ 3 คะแนน)

เกียรติประวัติ

  • แชมป์ดิวิชั้น 1 (เดิม): 6 ครั้ง
    • 1891/1892, 1892/1893, 1894/1895, 1901/1902, 1912/1913, 1935/1936
  • รองแชมป์ดิวิชั้น 1 (เดิม): 5 ครั้ง
    • 1893/1894, 1897/1898, 1900/1901, 1922/1923, 1934/1935
  • แชมป์ฟุตบอลลีก (ลีกแชมเปี้ยนชิพในปัจจุบัน): 2 ครั้ง
    • 2004/2005, 2006/2007
  • แชมป์ดิวิชั้น 1 (ใหม่): 2 ครั้ง
    • 1995/1996, 1998/1999
  • แชมป์ดิวิชั้น 2 (เดิม): 1 ครั้ง
    • 1975/1976
  • รองแชมป์ดิวิชั้น 2 (เดิม): 1 ครั้ง
    • 1963/1964
  • แชมป์ดิวิชั้น 3 (เดิม): 1 ครั้ง
    • 1987/1988
  • แชมป์เอฟเอคัพ: 2 ครั้ง
    • 1936/1937, 1972/1973
  • รองแชมป์เอฟเอคัพ: 3 ครั้ง
    • 1912/1913, 1941/1942, 1991/1992
  • รองแชมป์ลีกคัพ: 1 ครั้ง
    • 1984/1985
  • แชมป์ Charity Shield: 1 ครั้ง
    • 1936/1937
  • รองแชมป์ Charity Shield: 1 ครั้ง
    • 1937/1938

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA