ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอำนวยศิลป์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45: บรรทัด 45:


{{เรียงลำดับ|อำนวยศิลป์}}
{{เรียงลำดับ|อำนวยศิลป์}}
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในเขตราชเทวี|อำนวยศิลป์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:31, 14 สิงหาคม 2565

โรงเรียนอำนวยศิลป์
ที่ตั้ง
แผนที่

โรงเรียนอำนวยศิลป์ (Amnuay Silpa School) ตั้งอยู่เลขที่ 304/1 ถนนศรีอยุธยา​ แขวงทุ่งพญาไท​ เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร​ 10400 เป็นโรงเรียนเอกชน ประเภทสหศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เปิดสอนระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนก่อตั้งในปี พ.ศ. 2469 เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วนในช่วงแรก จิตร ทังสุบุตร เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเจ้าของโรงเรียน ภายหลังเขาจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาที่ไม่แสวงหากำไร มูลนิธิอำนวยศิลป์

ในอดีตโรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้าในสาขาอาชีพต่าง ๆ ถึงปี 2528 เมื่ออาภรณ์รัตน์ รัตนทารส เข้ามารับช่วงบริหารงาน โรงเรียนอำนวยศิลป์มีนักเรียนมากที่สุดถึงกว่า 7,000 คน จนต้องจัดการเรียนการสอนเป็นวันละ 2 รอบ (ภายหลังลดจำนวนนักเรียนเหลือ 1,500 คน) ต่อมาเมื่อเพชรชุดา (รัตนทารส) เกษประยูร เข้ามาบริหาร มีความเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียน การทำโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียน การจับมือกับ Bell Education Trust จากประเทศอังกฤษ และการก่อสร้างอาคารเรียนชั้นมัธยมใหม่มูลค่า 60 ล้านบาท เริ่มสร้างตุลาคม พ.ศ. 2547 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2549[1]

ปัจจุบันโรงเรียนอำนวยศิลป์ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสภาโรงเรียนนานาชาติ (Council of International Schools หรือ CIS) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 นับเป็นโรงเรียนสองภาษาแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองนี้ และยังเป็นศูนย์สอบหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จัดการสอบ IGCSE/A Level สำหรับการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากมหาวิทยาลัย Exeter สหราชอาณาจักรให้เป็นโรงเรียนการคิด (Thinking School) และต่อมาได้เลื่อนสถานะเป็นโรงเรียนการคิดระดับความเชี่ยวชาญขั้นสูง (Advanced Thinking School) แห่งที่ 21 ของโลก[2]

ศิษย์เก่าของโรงเรียนมีอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย 6 คน คือ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พลเอกสุจินดา คราประยูร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายอานันท์ ปันยารชุน[3]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. "เพชรชุดา รัตนทารส เกษประยูร : Education Innovator". โพซิชันนิงแมก.
  2. ""อำนวยศิลป์" รร.สองภาษาแห่งแรกไทย คว้ามาตรฐานสภารร.นานาชาติ". สยามรัฐออนไลน์.
  3. "โคราชจัดรวมพลครั้งใหญ่ "คนอำนวยศิลป์ถิ่นอีสาน"". โคราชคนอีสาน.

แหล่งข้อมูลอื่น