ทวีปอเมริกา

พิกัด: 19°N 96°W / 19°N 96°W / 19; -96
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

19°N 96°W / 19°N 96°W / 19; -96

อเมริกา
พื้นที่42,549,000 ตารางกิโลเมตร
(16,428,000 ตารางไมล์)
ประชากร964,920,000[1]
จีดีพี (ราคาตลาด)26.68 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
จีดีพีต่อหัว26,460 ดอลลาร์สหรัฐ[1]
เอชดีไออเมริกาเหนือ 0.733, อเมริกาใต้ 0.738[2]
เดมะนิมชาวอเมริกัน (American),[3] ชาวโลกใหม่ (New Worlder)[4] (ดูการใช้งาน)
ประเทศ35 ประเทศ
ภาษาดูที่ภาษา
เขตเวลาUTC−10:00 ถึง UTC
เมืองใหญ่ชุมชนเมืองที่ใหญ่ที่สุด
เมืองที่ใหญ่ที่สุด
รหัส UN M49019 – อเมริกา
001 – โลก
แผนที่ทวีปอเมริกาโดย เคลมองต์ เดอ โยงเงอ (Clement De Jonghe) ประมาณ พ.ศ. 2313
แผนที่ทวีปอเมริกา

ทวีปอเมริกา (อังกฤษ: Americas)[5][6] เป็นคำเรียกรวม ๆ หมายถึงทั้งทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้รวมกัน ซึ่งแก้ปัญหาความสับสนในภาษาอังกฤษของคำว่า "America" (ไม่มี s) ซึ่งอาจหมายถึงอเมริกาเหนือหรือใต้ก็ได้ ในบางครั้งผู้เรียกยังอาจหมายถึงชื่อประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย

ทวีปอเมริกาเป็นดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 3 ส่วน คือ อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้. คำว่า "อเมริกา" ในที่นี้ยังรวมถึงหมู่เกาะแคริบเบียน และเกาะกรีนแลนด์ (แต่ไม่รวมประเทศไอซ์แลนด์) บริเวณคอคอดของอเมริกากลางมักถูกนำไปรวมกับอเมริกาเหนือ

คำว่า "อเมริกา" มีที่มาที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถหาหลักฐานได้คือ พ.ศ. 2050 โดยนักเขียนแผนที่ชาวเยอรมันชื่อ มาร์ติน วัลด์ซีมูลเลอร์ ได้ใส่คำว่า America ลงในแผนที่โลกของเขา และอธิบายว่าชื่อนี้นำมาจากชื่อภาษาละตินของนักสำรวจ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ซึ่งเขียนเป็นภาษาละตินได้ว่า Americus Vespucius และแปลงเป็นเพศหญิงได้เป็นคำว่า America (ในภาษาที่มีเพศอย่างภาษาละติน ทวีปจัดว่าเป็นเพศหญิง) ส่วน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นผู้พบทวีปอเมริกาเป็นคนแรก เสียชีวิตก่อนใน พ.ศ. 2049 โดยที่ยังเข้าใจว่าเขาค้นพบทวีปเอเซียบริเวณประเทศอินเดีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ที่พบอเมริกาเป็นคนแรกคือชาวไวกิ้ง​ ชื่อ​ เลฟ เอริกสัน

ประชากร[แก้]

เริ่มต้นจากมนุษย์ที่อพยพมาจากเอเชีย หรืออาจรวมถึงชาวโอเชียเนียระหว่างยุคน้ำแข็ง โดยทั่วไปกลุ่มนี้มักอยู่ห่างจากมนุษย์ที่อาศัยอยู่รวมกันจำนวนมาก หรือที่เรียกว่าโลกเก่า ตั้งแต่การเข้ามาของชาวยุโรปประมาณ 10 ถึง 15 ศตวรรษ โดยในปัจจุบัน จำนวนประชากรทั้งหมดของอเมริกามีประมาณ 951 ล้านคน แบ่งได้เป็นประชากรอเมริกาเหนือ 565 ล้านคน (อเมริกากลางและแคริบเบียน) และอเมริกาใต้ 386 ล้านคน

ประเทศและดินแดน[แก้]

ประเทศและดินแดน พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)[7]
จำนวนประชากร ความหนาแน่นประชากร
(ต่อตารางกิโลเมตร)
ภาษาราชการ เมืองหลวง
 แองกวิลลา (สหราชอาณาจักร) 91 13,452 164.8 ภาษาอังกฤษ เดอะแวลลีย์
 แอนทีกาและบาร์บิวดา 442 86,295 199.1 ภาษาอังกฤษ เซนต์จอนส์
 อาร์เจนตินา 2,766,890 42,669,500 14.3 ไม่มี บัวโนสไอเรส
 อารูบา (เนเธอร์แลนด์) 180 101,484 594.4 ภาษาดัตช์และภาษาพาพายเมนโต[8] โอรันเยสตัด
 บาฮามาส 13,943 351,461 24.5 ภาษาอังกฤษ แนสซอ
 บาร์เบโดส 430 285,000 595.3 ภาษาอังกฤษ บริดจ์ทาวน์
 เบลีซ 22,966 349,728 13.4 ภาษาอังกฤษ[9] เบลโมแพน
 เบอร์มิวดา (สหราชอาณาจักร) 54 64,237 1,203.7 ภาษาอังกฤษ แฮมิลตัน
 โบลิเวีย 1,098,580 10,027,254 8.4 ภาษาสเปนและภาษาพื้นเมือง 36 ภาษา ลาปาซและซูเกร [10]
 โบแนเรอ (เนเธอร์แลนด์) 294 12,093 41.1 ภาษาดัตช์[11] กราเลินไดก์
 เกาะบูเว (นอร์เวย์)[12] 49 0 0 ไม่มีผู้อยู่อาศัย  —
 บราซิล 8,514,877 203,106,000 23.6 ภาษาโปรตุเกส บราซิเลีย
 หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (สหราชอาณาจักร) 151 29,537 152.3 ภาษาอังกฤษ โรดทาวน์
 แคนาดา 9,984,670 35,427,524 3.4 ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ออตตาวา
 หมู่เกาะเคย์แมน (สหราชอาณาจักร) 264 55,456 212.1 ภาษาอังกฤษ จอร์จทาวน์
 ชิลี[13] 756,950 17,773,000 22 ภาษาสเปน ซานเตียโก
 ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส) 6[14] 0[15] 0.0 ไม่มีผู้อยู่อาศัย  —
 โคลอมเบีย 1,138,910 47,757,000 40 ภาษาสเปน โบโกตา
 คอสตาริกา 51,100 4,667,096 89.6 ภาษาสเปน ซานโฮเซ
 คิวบา 109,886 11,167,325 102.0 ภาษาสเปน อาบานา
 กูราเซา (เนเธอร์แลนด์) 444 150,563 317.1 ภาษาดัตช์[11] วิลเลมสตัด
 ดอมินีกา 751 71,293 89.2 ภาษาอังกฤษ[16] โรโซ
 สาธารณรัฐโดมินิกัน 48,671 10,378,267 207.3 ภาษาสเปน ซานโตโดมิงโก
 เอกวาดอร์ 283,560 15,819,400 53.8 ภาษาสเปน กีโต
 เอลซัลวาดอร์ 21,041 6,401,240 293.0 ภาษาสเปน ซานซัลวาดอร์
 หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (สหราชอาณาจักร)[17] 12,173 3,000 0.26 ภาษาอังกฤษ สแตนลีย์
 เฟรนช์เกียนา (ฝรั่งเศส) 91,000 237,549 2.7 ภาษาฝรั่งเศส กาแยน
 กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) 2,166,086 56,483 0.026 ภาษากรีนแลนด์ นุก
 กรีเนดา 344 103,328 302.3 ภาษาอังกฤษ เซนต์จอร์เจส
 กัวเดอลุป (ฝรั่งเศส) 1,628 405,739 246.7 ภาษาฝรั่งเศส บัส-แตร์
 กัวเตมาลา 108,889 15,806,675 128.8 ภาษาสเปน กัวเตมาลาซิตี
 กายอานา 214,999 784,894 3.5 ภาษาอังกฤษ จอร์จทาวน์
 เฮติ 27,750 10,745,665 361.5 ภาษาครีโอลและภาษาฝรั่งเศส ปอร์โตแปรงซ์
 ฮอนดูรัส 112,492 8,555,072 66.4 ภาษาสเปน เตกูซิกัลปา
 จาเมกา 10,991 2,717,991 247.4 ภาษาอังกฤษ คิงส์ตัน
 มาร์ตีนิก (ฝรั่งเศส) 1,128 392,291 352.6 ภาษาฝรั่งเศส ฟอร์-เดอ-ฟร็องส์
 เม็กซิโก 1,964,375 119,713,203 57.1 ภาษาสเปนและภาษาพื้นเมือง 68 ภาษา เม็กซิโกซิตี
 มอนต์เซอร์รัต (สหราชอาณาจักร) 102 4,922 58.8 ภาษาอังกฤษ[18] พลิมัทและเบรดส์[19]
 เกาะนาวาสซา (สหรัฐอเมริกา) 5[14] 0[15] 0.0 ไม่มีผู้อยู่อาศัย  —
 นิการากัว 130,373 6,071,045 44.1 ภาษาสเปน มานากัว
 ปานามา 75,417 3,405,813 45.8 ภาษาสเปน ปานามาซิตี
 ปารากวัย 406,750 6,783,374 15.6 ภาษากวาเรนิและภาษาสเปน อาซุนซิออน
 เปรู 1,285,220 30,814,175 22 ภาษาสเปนและภาษาพื้นเมือง ลิมา
 ปวยร์โตรีโก (สหรัฐอเมริกา) 8,870 3,615,086 448.9 ภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ ซานฮวน
 ซาบา (เนเธอร์แลนด์) 13 1,537[20] 118.2 ภาษาดัตช์ เดอะบอตเทิม
 ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส) 21[14] 8,938[15] 354.7 ภาษาฝรั่งเศส กุสตาวียา
 เซนต์คิตส์และเนวิส 261 55,000 199.2 ภาษาอังกฤษ บาสแตร์
 เซนต์ลูเชีย 539 180,000 319.1 ภาษาอังกฤษ แคสตรีส์
 เซนต์มาร์ติน (ฝรั่งเศส) 54[14] 36,979 552.2 ภาษาฝรั่งเศส มารีโก
แซ็งปีแยร์และมีเกอลง (ฝรั่งเศส) 242 6,081 24.8 ภาษาฝรั่งเศส แซ็ง-ปีแยร์
 เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 389 109,000 280.2 ภาษาอังกฤษ คิงส์ทาวน์
 ซินต์เอิสตาซียึส (เนเธอร์แลนด์) 21 2,739[20] 130.4 ภาษาดัตช์ โอรันเยสตัด
 ซินต์มาร์เติน (เนเธอร์แลนด์) 34 37,429 1,176.7 ภาษาดัตช์และภาษาอังกฤษ ฟิลิปส์บืร์ค
เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช (สหราชอาณาจักร) 3,093 20 0.01 ภาษาอังกฤษ กริตวีเคน
 ซูรินาม 163,270 534,189 3 ภาษาดัตช์[21] ปารามาริโบ
 ตรินิแดดและโตเบโก 5,130 1,328,019 261.0 ภาษาอังกฤษ พอร์ตออฟสเปน
 หมู่เกาะเติกส์และเคคอส (สหราชอาณาจักร) 948 31,458 34.8 ภาษาอังกฤษ[22] โคเบิร์นทาวน์
 สหรัฐ[note 1] 9,629,091 320,206,000 34.2 ไม่มี วอชิงตัน ดี.ซี.
 หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ (สหรัฐอเมริกา) 347 106,405 317.0 ภาษาอังกฤษ ชาร์ลอตต์อะมาลี
 อุรุกวัย 176,220 3,286,314 19.4 ภาษาสเปน มอนเตวิเดโอ
 เวเนซุเอลา 916,445 30,206,307 30.2 ภาษาสเปนและภาษาพื้นเมือง 40 ภาษา การากัส
Total 42,320,985 973,186,925 21.9

เมืองสำคัญ[แก้]

เมืองสำคัญ ได้แก่

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. รวมถึงรัฐฮาวายและอลาสกาซึ่งทั้งสองแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยฮาวายอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจากทวีปอเมริกาเหนือจึงมักสัมพันธ์กับดินแดนอื่น ๆ ของโอเชียเนีย ในขณะที่อลาสกาตั้งอยู่ระหว่างแคนาดาและเอเชีย (รัสเซีย)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "World Economic Outlook". International Monetary Fund. 2020.
  2. "Continental Comparison of Human Development Index (HDI)". 2020.
  3. "American". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  4. "New Worlder". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  5. america - Definition from the Merriam-Webster Online Dictionary. Retrieved on January 27, 2008.
  6. america. Dictionary.com. The American Heritage Dictionary of the English Language, Fourth Edition. Houghton Mifflin Company, 2004. dictionary.reference.com (accessed: January 27, 2008).
  7. Unless otherwise noted, land area figures are taken from Demographic Yearbook—Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density (PDF) (Report). United Nations Statistics Division. 2008. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2010.
  8. "Aruba Census 2010 Languages spoken in the household". Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-13.
  9. "Belize 2000 Housing and Population Census". Belize Central Statistical Office. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2008. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
  10. La Paz is the administrative capital of Bolivia; Sucre is the judicial seat.
  11. 11.0 11.1 "Households by the most spoken language in the household Population and Housing Census 2001". Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2012.
  12. Bouvet Island is part of South America according to the United Nations geoscheme.
  13. Includes Easter Island in the Pacific Ocean, a Chilean territory frequently reckoned in Oceania. Santiago is the administrative capital of Chile; Valparaíso is the site of legislative meetings.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Land area figures taken from "The World Factbook: 2010 edition". Government of the United States, Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-31. สืบค้นเมื่อ October 14, 2010.
  15. 15.0 15.1 15.2 These population estimates are for 2010, and are taken from "The World Factbook: 2010 edition". Government of the United States, Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ October 14, 2010.
  16. Paul M. Lewis; M. Paul, บ.ก. (2009). "Languages of Dominica". Dallas: Ethnologue: Languages of the World. สืบค้นเมื่อ August 30, 2012.
  17. Claimed by Argentina.
  18. Paul M. Lewis, บ.ก. (2009). "Languages of Montserrat". Dallas: Ethnologue.
  19. Ongoing activity of the Soufriere Hills volcano beginning in July 1995 destroyed much of Plymouth; government offices were relocated to Brades. Plymouth remains the de jure capital.
  20. 20.0 20.1 Population estimates are taken from the Central Bureau of Statistics Netherlands Antilles. "Statistical information: Population". Government of the Netherlands Antilles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2011. สืบค้นเมื่อ October 14, 2010.
  21. Lewis, Paul (2009). "Languages of Suriname". Dallas, Texas: Ethnologue.
  22. Lewis, M. Paul (2009). "Languages of Turks and Caicos Islands". Ethnologue: Languages of the World, Sixteenth edition. Dallas: SIL International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]