ข้ามไปเนื้อหา

ซูลู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูลู
AmaZulu
ประชากรทั้งหมด
14,159,000[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 แอฟริกาใต้10,659,309 (ข้อมูลจาก 2001)
to 12,559,000[1][2]
 เลโซโท324,000[1]
 ซิมบับเว167,000[1]
 เอสวาตินี107,000[1]
 มาลาวี66,000[1]
 บอตสวานา500,000[1]
 โมซัมบิก6,000[1]
ภาษา
Zulu
ศาสนา
Christianity, Zulu religion
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
Xhosa, Swazi, Hlubi, Southern Ndebele and Northern Ndebele
นักรบซูลูในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โปรดสังเกตชาวยุโรปแถวหลัง

ซูลู (อังกฤษ: Zulu) เป็นชนเผ่ากลุ่มหนึ่งของแอฟริกา มีจำนวนประชากรประมาณ 11 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่อาศัยในควาซูลู-นาตาล แอฟริกาใต้ มีจำนวนเล็กน้อยที่อยู่อาศัยในซิมบับเว แซมเบียและโมซัมบิก ภาษาอีซิซูลู (isiZulu) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาบันตู (Bantu) ซึ่งจัดอยู่ในภาษากลุ่มย่อย "นูนิ" (Nguni)

ราชอาณาจักรซูลูมีบทบาทสำคัญมากในประวัติศาสตร์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2344 - พ.ศ. 2444 (คริสต์ศตวรรษที่ 19-20) ในยุคแห่งการถือผิว ชาวซูลูถูกจัดให้เป็นประชาชนชั้น 2 และถูกดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง ปัจจุบันชาวซูลูเป็นชนเผ่าที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศแอฟริกาใต้และมีสิทธิเสรีภาพแห่งมนุษยชนเท่าเทียมกับประชาชนทุกเชื้อชาติและชนเผ่าในประเทศ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

รกรากเดิม

[แก้]

แต่เดิมซูลู เป็นชนเผ่ากลุ่มน้อยที่อยู่ในตอนเหนือของควาซูลู-นาทาลปัจจุบัน ได้สถาปนาตนเองเป็นราชอาณาจักรขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2330 โดยซูลู คานโตมบฮีลี (Zulu kaNtombhele) ในภาษาซูลู คำว่า "ซูลู" แปลว่าสวรรค์ หรือท้องฟ้า ในสมัยนั้น พื้นที่ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเล็กที่เรียกว่า "นูนิ" หลายกลุ่ม พวกนูนิได้ย้ายถิ่นฐานลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกามากกว่าพันปีมาแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ได้มาถึงบริเวณที่เป็นประเทศแอฟริกาใต้ในปัจจุบันเมื่อประมาณ 800 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 2800 ปีก่อน

ราชอาณาจักร

[แก้]

การเกิดของราชอาณาจักรซูลูภายใต้ "ชากา"

[แก้]

ซูลูชากาเป็นโอรสนอกสมรสของพระเจ้า "เชนซานกาโนมา" กษัตริย์เผ่าซูลู เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2330 ชากาและพระมารดาถูกเนรเทศโดยเชนซานกาโนมา และไปลี้ภัยอยูใน "มเธทวา"(Mthethwa) ชากาได้ฝึกการสู้รบเพื่อเป็นนักรบภายใต้ "ดิงกิสวาโย" (Dingiswayo) หัวหน้าเผ่ามเธวา เมื่อเชนซานกาโนมาถึงแก่พิราลัย ดิงกิสวาโยจึงช่วยหนุนให้ชากาทวงสิทธิ์การเป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรซูลู

การขึ้นสู่บัลลังก์อันโชกเลือดของ "ดิงกาเน" (Dingane)

[แก้]

ดิงกาเน พระอนุชาต่างพระมารดาได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากชากาโดยสมรู้ร่วมคิดกับ "มลางกานา" (Mhlangana) โอรสต่างพระมารดาอีกผู้หนึ่งเพื่อลอบปลงพระชนม์ หลังการปลงพระชนม์แล้ว ดิงกาเนก็ประหารชีวิตมลางกานาแล้วขึ้นครองบัลลังก์ พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระองค์คือการประหารชีวิตพระราชวงศ์เป็นจำนวนมากเพื่อไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน ยกเว้น "มพันเด" (Mpande) พระอนุชาต่างพระมารดาอีกพระองค์หนึ่งซึ่งอ่อนแอไม่มีอันตรายในขณะนั้น

การประทะกับ "วูเทรกเกอส์" (Voortrekkers) กับการขึ้นสู่บัลลังก์ของ มพันเด

[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2380 ปิเอต์ รีทีฟ หัวหน้าพวกวูเทรกเกอรส์ (นักบุกเบิกดินแดนแอฟริกา) ได้ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าดิงกาเนที่พระตำหนักเพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับที่ดินของนักบุกเบิก และในเดือนพฤศจิกายน คาราวานเกวียนประมาณ 1,000 เล่มของพวกวูเทกเกอร์ได้เดินทางลงจากเขาดราเก็นสเบอร์ก จาก "ออเนจ์ฟรีสเตท" มาสู่ดินแดนซึ่งเป็นแคว้นควาซุลู-นาทาล ในปัจจุบัน

พระเจ้าดิงนาเกขอให้รีทรีฟและชาวคณะให้ช่วยนำฝูงปสุสัตว์ที่หัวหน้าเผ่าในบริเวณนั้นลักไปมาคืนให้ และรีทรีฟก็ได้รีบทำตามและส่งคืนให้ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2381 และในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการลงนามในข้อตกลงโดยพระเจ้าดิงกาเนยอมมอบดินแดนฝั่งใต้ทั้งหมดของแม่น้ำ "ตูเลกา" จดกับแม่น้ำ "ซิมวูบุ" ให้แก่ชาววูเทรกเกอร์ การเฉลิมฉลองได้ตามมาโดยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ คณะของรีทรีฟได้รับเชิญให้ร่วมเต้นระบำร่วมกันโดยให้วางอาวุธไว้ข้างหลัง ในขณะที่การร่ายรำกำลังสนุกถึงที่ ดิงเนเกได้ลุกขึ้นยืนกระโดดและตระโกนว่า "แบมบานิ อบา ทาคาติ" (ภาษาซูลูแปลว่า "ฆ่าพวกพ่อมด") รีทรีฟและพวกถูกจับตัวและนำไปประหารที่เนินเขาคามาติวาเน เป็นที่เชื่อกันว่าเหตุผลรีทรีฟและพวกถูกฆ่านั้นเนื่องมาจากการยักยอกไม่คืนวัวที่เรียกคืนมาให้ครบทั้งหมด ทหารของดิงกาเนได้โจมตีและฆ่าพวกวูเทกเกอร์รวมทั้งเด็กและสตรีไปประมาณ 500 คน บริเวณที่เกิดเหตุการณ์นี้ในปัจจุบันเรียกว่า "วีเนน" (ภาษาดัทช์แปลว่า "การร่ำไห้)

ชาววูเทกเกอร์ที่เหลือได้เลือกหัวหน้าใหม่ชื่อ แอนเดรียร์ส เปรโตรเรียส (Andries pretorius) และพระเจ้าดิงนาเกประสบกับการพ่ายแพ้ใน "การสู้รบแห่งแม่น้ำสายเลือด" เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2381 โดยการนำของกลุ่มนักสู้ 470 คนของนักบุกเบิกวูเทกเกอร์ที่เหลือที่นำโดยเปรโตรเรียส

หลังจากการพ่ายแพ้พระเจ้าดิงกาเนก็เผาพระตำหนักและอาคารบ้านเรือนหนีไปทางเหนือ มพันเด พระอนุชาต่างพระมารดาซึ่งได้รับการไว้ชีวิตจากพระเชษฐา 17,000 คน ร่วมกับเปรโตเรียสและพวกวูเทกเกอร์ไล่ล่าทำสงครามกับพระเจ้าดิงกาเน ซึ่งในที่สุดก็ถูกปลงพระชนม์ที่ชายเขตแดนสวาซิแลนด์ปัจจุบัน มพันเดจึงได้ขึ้นสู่บรรลังเป็นประมุขของชาติซูลูสืบต่อมา

การขึ้นสู่บัลลังก์ของพระเจ้าเคตช์วาโย

[แก้]

สืบเนื่องต่อจากการสู้รบกับดิงกาเน ในปี พ.ศ. 2382 ชาวอาณานิคมวูเทกเกอร์นำโดยเปรโตเรียสได้ก่อตั้ง "สาธารณรัฐบัวร์" แห่งนาตาเลียซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางใต้ของแม่น้ำตูเกลากับด้านตะวันตกของอาณานิคมอังกฤษที่ปอร์ตนาทาล (ปัจจุบันคือดุร์บาน) พระเจ้ามพันเดและเปรโตเรียสยังคงมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอยู่ อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2385 ได้เกิดสงครามระหว่างพวกบัวร์กับอังกฤษ มีผลให้อังกฤษผนวกนาตาเลียเข้าไว้ในอาณานิคม เป็นเหตุให้พระเจ้ามพันเดหันจำต้องไปเข้ากับฝ่ายอังกฤษและก็ได้มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน

ในปี พ.ศ. 2386 พระเจ้ามพันเดได้สั่งกำจัดพวกที่ถูกเข้าใจว่าเป็นอริในราชอาณาจักรของพระองค์ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากมาย มีการอพยพลี้ภัยไปสู่ประเทศข้างเคียงรวมทั้งอาณานิคมนาทาลที่อยู่ในบังคับอังกฤษ พวกอพยพเหล่านี้หนีไปพร้อมกับฝูงปสุสัตว์ พระเจ้ามพันเดจึงสั่งกวาดล้างพื้นที่ข้างเคียงจนถึงจุดสูงสุดกลายเป็นการรุกรานสวาซีแลนด์ในปี พ.ศ. 2385 แต่ฝ่ายอังกฤษก็ใช้อิทธิพลกดดันให้มพันเดถอยออกไป ซึ่งพระองค์ก็ทำตามโดยดีในเวลาไม่ยาน

ถึงตอนนี้สงครามแย่งชิงบัลลังก์ได้เกิดขึ้นระหว่างพระโอรสสองพระองค์ของพระเจ้ามพันเด คือ เคตช์วาโย กับ มบูยาซี เหตุการณ์ถึงขีดสุดเมือ่ปี พ.ศ. 2395 ด้วยการสู้รบและการตายของมบูยาซ๊ จากนั้นเคตช์วาโย ก็ค่อยๆ ยึดอำนาจการบริหารจากพระราชบิดา เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ด้วยโรคชราเมื่อ พ.ศ. 2415 เคตช์วาโย ก็เสด็จขึ้นครองราชย์

การล่มสลายของราชอาณาจักรซูลู

[แก้]

ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2421 ผู้แทนของฝ่ายอังกฤษใด้ยื่นคำขาดให้กับหัวเผ่า 18 เผ่าย่อยที่ขึ้นอยู่กับเซ็ทช์วาโย เนื้อความสำคัญในคำขาดเป็นสิ่งที่พระเจ้าเคตช์วาโย รับไม่ได้ ฝ่ายอังกฤษจึงบุกข้ามแม่น้ำตูเกลาในปลายเดือนธันวาคม สงครามจึงได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2422 ในตอนแรกของสงคราม ฝ่ายซูลูรบชนะอังกฤษใน "การสู้รบที่ไอแลนด์ลวานา" (Battle of Islandlwana) ในวันที่ 22 มกราคม แต่กลับมาพ่ายแพ้อย่างยับเยินในวันเดียวกันที่รอร์กดริฟ สงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของฝ่ายซูลูในวันที่ 4 กรกฎาคม

การแบ่งแยกและการสวรรคตของพระเจ้าเคตช์วาโย

[แก้]

พระเจ้าเคตช์วาโย ถูกจับได้ในเวลา 1 เดือนหลังสงครามและถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองเคปทาวน์ อังกฤษจัดแบ่งแยกราชอาณาจักรซูลูออกเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ 13 อนุราชอาณาจักรแต่ละอนุราชอาณาจักรมีอำนาจในอาณาจักรของตนเอง ในเวลาไม่นานก็ได้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นในระหว่างอนุราชอาณาจักรเหล่านั้น และในปี พ.ศ. 2425 พระเจ้าเคตช์วาโย ก็ได้เสด็จเยือนอังกฤษและได้รับพระราชวโรกาสจากสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียให้เข้าเฝ้าและพบปะกับบุคคลสำคัญของอังกฤษก่อนที่จะได้รับการยินยอมให้เสด็จกลับสู่การครองแผ่นดินซูลูแลนด์อีกครั้งหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2456 พระเจ้าเคตช์วาโยกลับได้รับมอบอำนาจให้ครอบครองเฉพาะอาณาเขตรอยต่อที่มีขนาดเล็กกว่าราชอาณาจักรเดิมของพระองค์เป็นอย่างมาก ในปลายปีนั้นพระเจ้าเคตช์วาโย ได้ถูกลอบทำร้ายโดยพวกซิบเฮบฮู หนึ่งใน 13 อนุราชอาณาจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากพวกบัวร์ พระองค์ได้รับการบาดเจ็บและเสด็จสวรรคตในปีต่อมา ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการลอบวางยาพิษ พระโอรส คือ "ไดนูซูลู"พระชนมายุ 15 พรรษาได้ขึ้นครองราชแทน

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "The Zulu people group are reported in 7 countries". สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  2. International Marketing Council of South Africa (9 July 2003). "South Africa grows to 44.8 million". www.southafrica.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2005. สืบค้นเมื่อ 4 March 2005.