กฤษณ์ กาญจนกุญชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤษณ์ กาญจนกุญชร
อธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าตนเองในฐานราชเลขาธิการ
ถัดไปพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล
ราชเลขาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าอาสา สารสิน
ถัดไปตนเองในฐานอธิบดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม พ.ศ. 2491 (75 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสระวีวรรณ จารุสุนทรศรี
ลายมือชื่อ

กฤษณ์ กาญจนกุญชร (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2491) กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[1] อดีตอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์ อดีตราชเลขาธิการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549

ประวัติ[แก้]

กฤษณ์ กาญจนกุญชร เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2491 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายจากควีนส์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประกาศนียบัตรกฎหมายระหว่างประเทศ และปริญญาเอกสาขาเดียวกัน มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ทั้งผ่านหลักสูตร วปอ. รุ่น 37

การทำงาน[แก้]

กฤษณ์เริ่มเข้ารับราชการเป็นเลขานุการตรี กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเศรษฐกิจสัมพันธ์และความร่วมมือ กรมเศรษฐกิจ, รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ในปี พ.ศ. 2532 ดำรงตำแหน่งอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ต่อมาไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง, อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ปี พ.ศ. 2538 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา, อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ครั้งที 2, อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก, รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส, ปี พ.ศ. 2547 เป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แล้วในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2550 เป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ต่อมา ปี พ.ศ. 2551 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นรองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ [2]

ในอดีต กฤษณ์เป็นอดีตกรรมการธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 12 ตุลาคม 2549 - 1 เมษายน 2550[3] และจากนั้น ดร. กฤษณ์ กาญจนกุญชร ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ ตามพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สืบต่อจากอาสา สารสิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555[4] และรวมทั้งเป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[5]

ในปี พ.ศ. 2555 มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของสำนักราชเลขาธิการ ไปจัดตั้งเป็นกรมราชเลขานุการในพระองค์ สังกัดสำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเขาเป็นราชเลขานุการในพระองค์ ระดับ 11 เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  2. ราชเลขาธิการคนใหม่ กฤษณ์ กาญจนกุญชร
  3. รู้จัก "กฤษณ์ กาญจนกุญชร" ราชเลขาธิการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[ลิงก์เสีย]
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (พิเศษ 149 ง): 12. 1 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "คณะกรรมการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  6. "พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 150 ง): 1. 6 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐๐, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
ก่อนหน้า กฤษณ์ กาญจนกุญชร ถัดไป
อาสา สารสิน ราชเลขาธิการ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
ยุบเลิกตำแหน่ง
สถาปนาตำแหน่ง อธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์
(4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)
พลอากาศเอก​ สถิตย์พงษ์ สุขวิมล