ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครหาดใหญ่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบส่วนที่ละเมิดลิขสิทธิ์จาก: http://www.hatyaicity.go.th/forum/detail/6823
Wim b (คุย | ส่วนร่วม)
Reverted 1 edit by 223.207.30.14 (talk). (TW)
บรรทัด 217: บรรทัด 217:
* ทางรถไฟ เป็นเส้นทางหลัก [[สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่]]ที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่าง[[อำเภอหาดใหญ่]]กับ[[กรุงเทพมหานคร]] และจังหวัดอื่น ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงประเทศ[[มาเลเซีย]]ได้โดยชุมทางรถไฟหาดใหญ่เป็นชุมทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของ[[ภาคใต้]] เส้นทางรถไฟสายใต้เริ่มต้นจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ลงไปถึงชุมทางหาดใหญ่ระยะทางยาวประมาณ 945 กิโลเมตร จากนั้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางสาย[[หาดใหญ่]]-[[ปาดังเบซาร์]] ความยาว 45 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของมาเลเซียจนถึง[[สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ท]]ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางสาย[[หาดใหญ่]]-[[นราธิวาส]] สิ้นสุดที่[[อำเภอสุไหงโก-ลก]] ความยาว 110 กิโลเมตร หาดใหญ่เป็นสถานีชุมทางต่างประเทศแห่งเดียวของประเทศไทยที่เชื่อมไปยังคาบสมุทรมาลายูด้วย เป็นสถานีรถไฟที่มีปริมาณผู้ใช้บริการหนาแน่นมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย
* ทางรถไฟ เป็นเส้นทางหลัก [[สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่]]ที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่าง[[อำเภอหาดใหญ่]]กับ[[กรุงเทพมหานคร]] และจังหวัดอื่น ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงประเทศ[[มาเลเซีย]]ได้โดยชุมทางรถไฟหาดใหญ่เป็นชุมทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของ[[ภาคใต้]] เส้นทางรถไฟสายใต้เริ่มต้นจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ลงไปถึงชุมทางหาดใหญ่ระยะทางยาวประมาณ 945 กิโลเมตร จากนั้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางสาย[[หาดใหญ่]]-[[ปาดังเบซาร์]] ความยาว 45 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของมาเลเซียจนถึง[[สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ท]]ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางสาย[[หาดใหญ่]]-[[นราธิวาส]] สิ้นสุดที่[[อำเภอสุไหงโก-ลก]] ความยาว 110 กิโลเมตร หาดใหญ่เป็นสถานีชุมทางต่างประเทศแห่งเดียวของประเทศไทยที่เชื่อมไปยังคาบสมุทรมาลายูด้วย เป็นสถานีรถไฟที่มีปริมาณผู้ใช้บริการหนาแน่นมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย
* ทางอากาศ มี[[ท่าอากาศยานหาดใหญ่]]ตั้งอยู่ในเขตตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง ห่างจากเขตเทศบาลประมาณ 12 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับการยกฐานะเป็น[[ท่าอากาศยานนานาชาติ]] เมื่อวันที่ ธันวาคม 2515 มีพื้นที่ประมาณ 4.80 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,000 ไร่โดยให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 -24.00 น. ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้รองจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตและท่าอากาศยานนานาชาติเกาะสมุย
* ทางอากาศ มี[[ท่าอากาศยานหาดใหญ่]]ตั้งอยู่ในเขตตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง ห่างจากเขตเทศบาลประมาณ 12 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับการยกฐานะเป็น[[ท่าอากาศยานนานาชาติ]] เมื่อวันที่ ธันวาคม 2515 มีพื้นที่ประมาณ 4.80 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,000 ไร่โดยให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 -24.00 น. ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้รองจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตและท่าอากาศยานนานาชาติเกาะสมุย
== โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหาดใหญ่==
เนื่องจากมีข่าวมาว่า ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ กำลังจะสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลในเขตเมือง ด้วยงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลนั้น เหมาะสมกับเมืองหาดใหญ่มาก ด้วยเหตุผลหลายประการ อนึง การขนส่งมวลชน ควรจะทำในรูปแบบผสมผสาน ให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เช่น บนถนนมีรถประจำทาง รถโดยสาร รถเมลล์ รถตุ๊กๆ ฯลฯ ซึ่งทางเทศบาลควรจะจัดไว้ให้บริการประชาชน และระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล ก็เป็นการขนส่งรูปแบบหนึ่ง ที่จะมาสนองต่อความต้องการ การเดินทางแบบผสมผสานนี้ รถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ และเป็นระบบที่เหมาะกับเมืองที่มีขนาดกลาง ถึงเมืองที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในกัวลาลัมเปอร์ และซิดนีย์ ถือได้ว่า รถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักของเมือง ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเมืองเริ่มขยายตัว จึงได้เกิดปัญหา ไม่มีที่จอดรถ และการเข้าถึงเขตเมืองชั้นในเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงทำให้ธุรกิจใจกลางเมือง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก รัฐบาลออสเตรเลียจึงแก้ปัญหา ด้วยการสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล เชื่อมกับที่จอดรถ หรือ สถานีขนส่งนอกเขตเมือง เชื่อมเข้ากับ เขตใจกลางเมือง เพื่อ ขนคนเข้าไปซื้อของ และเข้าไปท่องเที่ยวในเขตใจกลางเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า รถไฟฟ้าโมโนเรล ก่อสร้างได้ง่าย และค่าก่อสร้างมีราคาถูก ตัวรางสามารถซอนไซไปตามซอกถนนเล็กๆได้ เมื่อก่อสร้างเสร็จ ผลที่ได้รับ เป็นที่น่าพอใจ ในระดับที่ดีเยี่ยม

เมื่อกลับมามองในเขตหาดใหญ่ ก็พบว่า มีปัญหาในลักษณะเดียวกับซิดนีย์ ที่เขตใจกลางเมือง เข้าถึงได้ยาก ไม่มีที่จอดรถ และเจอการแข่งขัน กับ ห้างชานเมือง เช่น โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟู แม็กโคร ฯลฯ อย่างรุนแรง จึงเกิดคำถามว่า เราจะรักษาเขตใจกลางเมือง เช่นตลาดกิมหยง ลีการ์เดนส์ สันติสุข ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสัญลักษณ์ ของหาดใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งบางทีคำตอบนั้น อาจจะเป็นโมเดลเดียวกับ ซิดนีย์ ก็เป็นไปได้ เมืองหาดใหญ่ มีลักษณะพิเศษ ที่ไม่มีเมืองอื่นเหมือน นั้นก็คือ ตัวเมือง มีลักษณะกระจุกตัว บางครั้ง ในชม.เร่งด่วน การเดินทาง ในเขตตัวเมืองชั้นในแค่ 1 กม. อาจจะต้องใช้เวลาถึง ครึ่งชม.เลยทีเดียว ตรรกะนี้ แสดงให้เห็นว่า ระยะทางแค่ 1 กม. ในเขตตัวเมือง ชั้นใน มีความคุ้มค่าในตัวของมันอยู่มากเลยทีเดียว ดั้งนั้น ด้วยงบ 200 ล้านบาท อาจจะก่อสร้างได้แค่ 1-2 กม. หรือ อาจจะมากกว่านั้น แล้วแต่การออกแบบก่อสร้าง แต่ถ้าหากเราเปลี่ยนแนวคิด ว่า การลงทุนด้วยงบประมาณ 200 ล้าน ทำอย่างไรให้ สอดรับกับการลงทุนระยะยาว ก็มีไอเดียว่า สร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยการแบ่งการก่อสร้างออกเป็นเฟสๆ จะดีไหม เช่น รถไฟฟ้า สายสีฟ้า จาก ตลาดเกษตรหาดใหญ่ใน ถึง สามแยกคอหงส์ ระยะทาง 6.6 กม. (รูปที่ 3) แบ่งก่อสร้างด้วบงบผูกพัน 3 ปี เราก็จะได้รถไฟฟ้าโมโนเรล 1 สาย ที่ได้ผลในการขนส่งมวลชนแบบผสมผสานขึ้นมาจริงๆในเขตเทศบาล

จากการศึกษาเส้นทางของ สนข. (รูปที่ 3 ในรูปเล็กมุมซ้ายบน) จะพบเส้นทาง ที่ สนข. ระบุว่า ควรมีระบบขนส่งมวลชนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะมีระบบขนส่งหลายๆระบบ รวมกันในเส้นทางเดียวก็ได้ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้ แต่ในทีนี้ เป็นการศึกษา เส้นทางโมโนเรล ที่เหมาะสม ก็พบ 2 เส้นทางคือ
*2.1 สายสีฟ้า ระยะทาง 6.650 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม จากตลาดเกษตรหาดใหญ่ใน ถึง 3 แยกคอหงส์ ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลัก ที่มีปริมาณการจราจรสูงสุดของเมืองหาดใหญ่
*2.2 สายสีแดง ระยะทาง 6.190 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม ราษฎร์ยินดี ศรีภูวนารถ และ นิพัทธ์สงเคราะห์ 3 เป็นเส้นทางวงแหวนสีแดงชั้นใน ที่จะเชื่อม เขตเศรษฐกิจใหม่บนถนนราษฎร์ยินดี เขตใจกลางเมือง หน้าหอนาฟิกา
*2.3 จุดซ้อน (Overlap) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า รถไฟฟ้าและสายสีแดง เป็นระยะทางจาก จุด Junction A และ Junction B ระยะทาง 1.780 กิโลเมตร จาก 4แยกโรงแรมวีแอล ถึง 4แยกเพชรเกษมตัดราษฎร์ยินดี เป็นจุดที่ รถไฟฟ้าสายสีฟ้า และสายสีแดง ใช้รางร่วมกันได้


== การท่องเที่ยว ==
== การท่องเที่ยว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:10, 12 สิงหาคม 2557

หาดใหญ่
เทศบาลนครหาดใหญ่
นครหาดใหญ่
นครหาดใหญ่
หาดใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
หาดใหญ่
หาดใหญ่
พิกัด: 7°1′N 100°28′E / 7.017°N 100.467°E / 7.017; 100.467พิกัดภูมิศาสตร์: 7°1′N 100°28′E / 7.017°N 100.467°E / 7.017; 100.467
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอหาดใหญ่
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีไพร พัฒโน
พื้นที่
 • ทั้งหมด21.00 ตร.กม. (8.20 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน20.50 ตร.กม. (8.00 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ0.50 ตร.กม. (0.20 ตร.ไมล์)  2.38%
ประชากร
 (2008)
 • ทั้งหมด157,359 คน
 • ความหนาแน่น12,676.05 คน/ตร.กม. (35,297.55 คน/ตร.ไมล์)
 ชาวบ้านที่สมัครสมาชิกเฉพาะ
เขตเวลาUTC+7 (Thailand)
Postal code90110
เว็บไซต์http://www.hatyaicity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครหาดใหญ่ หรือ นครหาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้[1] เนื่องจากเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคมขนส่งที่สำคัญของภาคใต้ หาดใหญ่ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538

ประวัติ

ยุคสุขาภิบาลหาดใหญ่

หาดใหญ่ เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุนและบ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูง มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านโคกเสม็ดชุน เมื่อทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินและเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีรถไฟอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ในปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ปัจจุบัน ประชาชนได้ทยอยย้ายบ้านเรือนมาสร้างตามบริเวณสถานีนั่นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา

ต่อมาได้มีผู้เห็นการไกลกล่าวว่าบริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน ในที่สุดปี พ.ศ. 2471 หาดใหญ่จึงมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2471

ยุคเทศบาลตำบลหาดใหญ่

ต่อมาสุขาภิบาลแห่งนี้เจริญขึ้น มีพลเมืองหนาแน่นขึ้น และมีกิจการเจริญก้าวหน้า กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น เทศบาลตำบลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 5,000 คน รวมถึงมีรายได้ประมาณ 60,000 บาท

ยุคเทศบาลเมืองหาดใหญ่

เมื่อประชากรในเขตเทศบาลมีมากขึ้น พร้อมทั้งกิจการได้เจริญขึ้น จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาล และมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลตำบลหาดใหญ่เป็น เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2492 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตรเช่นเดิม แต่มีประชากรเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ 19,425 คน มีรายได้ 374,523.33 บาท

เมื่อท้องที่ในเขตเทศบาลเจริญและมีประชากรอยู่หนาแน่นเพิ่มปริมาณมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2520 ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2520 ในขณะนั้นมีประชากร 68,142 คน มีรายได้ 49,774,558.78 บาท นับได้ว่าเทศบาลเมืองหาดใหญ่เป็นเทศบาลชั้น 1 มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก

ยุคเทศบาลนครหาดใหญ่

หาดใหญ่ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบก และทางอากาศ สนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร หาดใหญ่ยังเป็นชุมทางรถไฟ และศูนย์กลางทางด้านคมนาคม และด้วยศักยภาพที่โดดเด่น และถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะรวมไปถึงวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของผู้บริหารภายใต้การนำของ นายเคร่ง สุวรรณวงศ์ ทำให้เทศบาลเมืองหาดใหญ่ได้ยกฐานะเป็น เทศบาลนครหาดใหญ่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 ซึ่งปัจจุบัน เทศบาลนครหาดใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร

ภูมิอากาศและภูมิประเทศ

นครหาดใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปี คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ว่างของลมมรสุมจะเริ่มตั้งแต่หลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนักเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ทะเล และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน นครหาดใหญ่จะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกชุกมากกว่า เนื่องจากพัดผ่านอ่าวไทย ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะถูกเทือกเขาบรรทัดปิดกั้นทำให้ฝนตกน้อยลง ในปี พ.ศ. 2546 ฝนตกมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม และฝนตกน้อยที่สุดในเดือนเมษายน

ข้อมูลภูมิอากาศของหาดใหญ่
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.8
(87.4)
32.5
(90.5)
34.2
(93.6)
34.6
(94.3)
33.3
(91.9)
33.1
(91.6)
32.9
(91.2)
32.9
(91.2)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
30.1
(86.2)
29.4
(84.9)
31.4
(88.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.4
(70.5)
21.8
(71.2)
22.5
(72.5)
23.4
(74.1)
23.8
(74.8)
23.5
(74.3)
23.1
(73.6)
23.3
(73.9)
23.1
(73.6)
23.2
(73.8)
22.9
(73.2)
22.2
(72)
22.85
(73.13)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 44.7
(1.76)
14.9
(0.587)
41.6
(1.638)
106.3
(4.185)
181.2
(7.134)
88.2
(3.472)
104.6
(4.118)
100.0
(3.937)
153.6
(6.047)
219.6
(8.646)
294.9
(11.61)
265.2
(10.441)
1,614.8
(63.575)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 7 3 5 11 16 13 13 14 18 21 21 18 160
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

เศรษฐกิจ

หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าและการบริการของภาคใต้ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชยกรรม (รองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว) และอุตสาหกรรม ได้แก่ อาชีพค้าขาย ธุรกิจบริการ และเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ ลักษณะของเมืองมีขนาดกระชับตัวมาก มีศูนย์กลางเมืองกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ประชิดทางรถไฟ สภาพเมืองขยายตัวออกไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของอาคารสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นตึกแถวพาณิชย์ชั้นล่างและอยู่อาศัยชั้นบน อาคารลักษณะเดี่ยวมีน้อยและกระจายตัวอยู่ประปราย จำนวนอาคารสถานประกอบการต่างๆ ดังนี้

  • สถานที่จำหน่ายอาหาร (ตาม พ.ร.บ.สาธารณะสุข) 1,600 แห่ง
  • สถานบริการ (ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ) 239 แห่ง
  • โรงพยาบาล/สถานีอนามัย 7 แห่ง
  • โรงแรม 96 แห่ง
  • โรงภาพยนตร์ 3 แห่ง
  • ธนาคาร 10 แห่ง

ประชากร

เทศบาลนครหาดใหญ่มีประชากรทั้งสิ้น 158,218 คน [2] เป็นชาย 73,701 คน หญิง 84,517 คน จำนวนบ้าน 58,434 หลัง (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2555) แบ่งเป็น 101 ชุมชน ความหนาแน่นของประชากร 7,529 คน/ตารางกิโลเมตร (บริเวณกลางเมืองความหนาแน่นถึง 20,000คน/ตารางกิโลเมตร) ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นและอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 10 ของประชากร)

การคมนาคม

นครหาดใหญ่มีโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดต่าง ๆ เป็นเมืองหลักของภาคใต้ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความสะดวกได้ทั้งภายในภูมิภาค และนานาชาติ คือ

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
ท่าอากาศยานหาดใหญ่

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหาดใหญ่

เนื่องจากมีข่าวมาว่า ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ กำลังจะสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลในเขตเมือง ด้วยงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลนั้น เหมาะสมกับเมืองหาดใหญ่มาก ด้วยเหตุผลหลายประการ อนึง การขนส่งมวลชน ควรจะทำในรูปแบบผสมผสาน ให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เช่น บนถนนมีรถประจำทาง รถโดยสาร รถเมลล์ รถตุ๊กๆ ฯลฯ ซึ่งทางเทศบาลควรจะจัดไว้ให้บริการประชาชน และระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล ก็เป็นการขนส่งรูปแบบหนึ่ง ที่จะมาสนองต่อความต้องการ การเดินทางแบบผสมผสานนี้ รถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ และเป็นระบบที่เหมาะกับเมืองที่มีขนาดกลาง ถึงเมืองที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในกัวลาลัมเปอร์ และซิดนีย์ ถือได้ว่า รถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักของเมือง ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเมืองเริ่มขยายตัว จึงได้เกิดปัญหา ไม่มีที่จอดรถ และการเข้าถึงเขตเมืองชั้นในเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงทำให้ธุรกิจใจกลางเมือง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก รัฐบาลออสเตรเลียจึงแก้ปัญหา ด้วยการสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล เชื่อมกับที่จอดรถ หรือ สถานีขนส่งนอกเขตเมือง เชื่อมเข้ากับ เขตใจกลางเมือง เพื่อ ขนคนเข้าไปซื้อของ และเข้าไปท่องเที่ยวในเขตใจกลางเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า รถไฟฟ้าโมโนเรล ก่อสร้างได้ง่าย และค่าก่อสร้างมีราคาถูก ตัวรางสามารถซอนไซไปตามซอกถนนเล็กๆได้ เมื่อก่อสร้างเสร็จ ผลที่ได้รับ เป็นที่น่าพอใจ ในระดับที่ดีเยี่ยม

เมื่อกลับมามองในเขตหาดใหญ่ ก็พบว่า มีปัญหาในลักษณะเดียวกับซิดนีย์ ที่เขตใจกลางเมือง เข้าถึงได้ยาก ไม่มีที่จอดรถ และเจอการแข่งขัน กับ ห้างชานเมือง เช่น โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟู แม็กโคร ฯลฯ อย่างรุนแรง จึงเกิดคำถามว่า เราจะรักษาเขตใจกลางเมือง เช่นตลาดกิมหยง ลีการ์เดนส์ สันติสุข ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสัญลักษณ์ ของหาดใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งบางทีคำตอบนั้น อาจจะเป็นโมเดลเดียวกับ ซิดนีย์ ก็เป็นไปได้ เมืองหาดใหญ่ มีลักษณะพิเศษ ที่ไม่มีเมืองอื่นเหมือน นั้นก็คือ ตัวเมือง มีลักษณะกระจุกตัว บางครั้ง ในชม.เร่งด่วน การเดินทาง ในเขตตัวเมืองชั้นในแค่ 1 กม. อาจจะต้องใช้เวลาถึง ครึ่งชม.เลยทีเดียว ตรรกะนี้ แสดงให้เห็นว่า ระยะทางแค่ 1 กม. ในเขตตัวเมือง ชั้นใน มีความคุ้มค่าในตัวของมันอยู่มากเลยทีเดียว ดั้งนั้น ด้วยงบ 200 ล้านบาท อาจจะก่อสร้างได้แค่ 1-2 กม. หรือ อาจจะมากกว่านั้น แล้วแต่การออกแบบก่อสร้าง แต่ถ้าหากเราเปลี่ยนแนวคิด ว่า การลงทุนด้วยงบประมาณ 200 ล้าน ทำอย่างไรให้ สอดรับกับการลงทุนระยะยาว ก็มีไอเดียว่า สร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยการแบ่งการก่อสร้างออกเป็นเฟสๆ จะดีไหม เช่น รถไฟฟ้า สายสีฟ้า จาก ตลาดเกษตรหาดใหญ่ใน ถึง สามแยกคอหงส์ ระยะทาง 6.6 กม. (รูปที่ 3) แบ่งก่อสร้างด้วบงบผูกพัน 3 ปี เราก็จะได้รถไฟฟ้าโมโนเรล 1 สาย ที่ได้ผลในการขนส่งมวลชนแบบผสมผสานขึ้นมาจริงๆในเขตเทศบาล

จากการศึกษาเส้นทางของ สนข. (รูปที่ 3 ในรูปเล็กมุมซ้ายบน) จะพบเส้นทาง ที่ สนข. ระบุว่า ควรมีระบบขนส่งมวลชนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะมีระบบขนส่งหลายๆระบบ รวมกันในเส้นทางเดียวก็ได้ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้ แต่ในทีนี้ เป็นการศึกษา เส้นทางโมโนเรล ที่เหมาะสม ก็พบ 2 เส้นทางคือ

  • 2.1 สายสีฟ้า ระยะทาง 6.650 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม จากตลาดเกษตรหาดใหญ่ใน ถึง 3 แยกคอหงส์ ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลัก ที่มีปริมาณการจราจรสูงสุดของเมืองหาดใหญ่
  • 2.2 สายสีแดง ระยะทาง 6.190 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม ราษฎร์ยินดี ศรีภูวนารถ และ นิพัทธ์สงเคราะห์ 3 เป็นเส้นทางวงแหวนสีแดงชั้นใน ที่จะเชื่อม เขตเศรษฐกิจใหม่บนถนนราษฎร์ยินดี เขตใจกลางเมือง หน้าหอนาฟิกา
  • 2.3 จุดซ้อน (Overlap) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า รถไฟฟ้าและสายสีแดง เป็นระยะทางจาก จุด Junction A และ Junction B ระยะทาง 1.780 กิโลเมตร จาก 4แยกโรงแรมวีแอล ถึง 4แยกเพชรเกษมตัดราษฎร์ยินดี เป็นจุดที่ รถไฟฟ้าสายสีฟ้า และสายสีแดง ใช้รางร่วมกันได้

การท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้แก่

  • วัดหาดใหญ่ใน ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ใกล้สะพานคลองอู่ตะเภา มีพระนอนขนาดใหญ่ คือ พระพุทธหัตถมงคล ซึ่งมีผู้นิยมเดินทางมานมัสการจำนวนมาก
  • สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ตั้งอยู่ถนนกาญจนวนิช เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวหาดใหญ่และนักท่องเที่ยว ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท้าวมหาพรหม พระพุทธมงคลมหาราช พระโพธิสัตว์กวนอิมหยก และจุดชมวิวอีกหลายจุดที่สามารถชมเมืองหาดใหญ่ได้ทั้งกลางวันแกลางคืน
  • ตลาดกิมหยง เป็นตลาดเก่าที่มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งเมืองหาดใหญ่ มีสินค้าราคาถูก ทั้งผลไม้และของใช้ต่างๆเพื่อเป็นของขวัญและของฝากช่วงเทศกาล
  • ตลาดสันติสุข เป็นแหล่งรวมสินค้าราคาถูกมากมายจากทั่วสารทิศจนขึ้นชื่อว่าเป็น Shopping Paradise

อ้างอิง

  1. http://www.rd.go.th/songkhla2/76.0.html
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ population

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น