บิ๊กฮีโร่ 6 (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Big Hero 6 (film))
บิ๊กฮีโร่ 6
ใบปิดภาพยนตร์ บิ๊กฮีโร่ 6 ในประเทศไทย
กำกับ
บทภาพยนตร์
สร้างจากบิ๊กฮีโร่ 6
โดย แมนออฟแอ๊คชั่นสตูดิโอ
อำนวยการสร้างรอย คอนลิ
นักแสดงนำ
ตัดต่อทิม เมอร์เทนส์
ดนตรีประกอบเฮนรี่ แจ๊คแมน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิคเจอร์ส
วันฉาย7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(สหรัฐอเมริกา)
4 ธันวาคม พ.ศ. 2557
(ไทย)
ความยาว102 นาที[1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3]
ทำเงิน657.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

บิ๊กฮีโร่ 6 (อังกฤษ: Big Hero 6) เป็นภาพยนตร์ประเภทคอมพิวเตอร์แอนิเมชันสามมิติแนวตลก, ผจญภัย, ซูเปอร์ฮีโร่ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2557 อำนวยการสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์และจัดจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 54 ของภาพยนตร์ในชุดแอนิเมชันคลาสสิกของวอลต์ดิสนีย์ ได้แรงบันดาลใจจากทีมซูเปอร์ฮีโร่ในชื่อเดียวกันจากมาร์เวลคอมิกส์[4] ภาพยนตร์กำกับโดยดอน ฮอลล์ และคริส วิลเลียมส์ เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มผู้มีความสามารถพิเศษในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ชื่อฮีโร่ ฮามาดะที่ได้รวมทีมซูเปอร์ฮีโร่ในการต่อสู้กับตัวร้ายที่สวมหน้ากาก นักพากย์เสียงตัวละครหลักได้แก่ ไรอัน พอตเตอร์, สก็อตต์ แอดซิท, แดเนียล เฮนนีย์, ที.เจ. มิลเลอร์, เจมี่ ชุง, เดมอน เวย์นส์ จูเนียร์, และ เจเนซิส โรดริเกวซ

บิ๊กฮีโร่ 6 เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกที่ดัดแปลงจากการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งมาเป็นบริษัทลูกในเครือของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 [5]

บิ๊กฮีโร่ 6 ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และในเทศกาลภาพยนตร์อาบูดาบี ในระบบสามมิติ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์ได้ออกฉายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และได้รับเสียงตอบรับในเชิงบวกอย่างล้นหลาม[6][7] ทำรายได้ทั่วโลกมากกว่า 546 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชนะเลิศรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม และเคยได้รับการเสนอชือเข้าชิงรางวัลแอนนี่ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม และรางวัลแบฟตา สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม

ในประเทศไทย บิ๊กฮีโร่ 6 ได้ออกฉายรอบสื่อมวลชนที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ออกฉายรอบพิเศษหลัง 13.00 น. ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และออกฉายจริงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เนื้อเรื่อง[แก้]

ฮีโร่ ฮามาดะ เป็นอัจฉริยะด้านหุ่นยนต์อายุ 14 ปีที่อาศัยในเมืองซานฟรานโซเกียว และมักใช้เวลาไปกับการนำหุ่นยนต์ที่ตนประดิษฐ์ไปพนันแข่งขันด้วยการต่อสู้กับหุ่นยนต์ของคนอื่น ทาดาชิผู้เป็นพี่ชายกลัวว่าฮีโร่จะนำความสามารถที่มีไปใช้อย่างไร้ประโยชน์ จึงได้พาฮีโร่ไปที่สถาบันเทคโนโลยีที่ตนเรียนอยู่ ที่นั่นฮีโร่ได้พบกับเพื่อนของทาดาชิคือ โกโก้, วาซาบิ, ฮันนี่เลมอน, และเฟรด ทั้งยังได้พบกับเบย์แม็กซ์ หุ่นยนต์นักดูแลสุขภาพที่ทาดาชิประดิษฐ์ขึ้นมา ฮีโร่สนใจจะเข้าเรียนที่สถาบัน จึงได้ทำโครงงานประดิษฐ์ฝูงหุ่นยนต์ขนาดจิ๋วเรียกว่าไมโครบอทที่สั่งงานได้โดยใช้เพียงจินตนาการในสมอง และได้นำออกแสดงในนิทรรศการประจำปีเพื่อให้ได้ผ่านการประเมินสู่การได้เข้าเรียนในสถาบัน ศาสตราจารย์คัลลาแฮนประทับใจในผลงานของฮีโร่จึงรับฮีโร่เข้าเรียนที่สถาบัน แต่หลังจากที่ฮีโร่แสดงผลงานไมโครบอทได้ไม่นาน ก็เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่อาคารจัดแสดงนิทรรศการ ทาดาชิวิ่งเข้าไปในอาคารเพื่อช่วยศาสตราจารย์คัลลาแฮนที่ยังติดอยู่ในอาคาร แต่ก็ได้เกิดระเบิดขึ้น ฮีโร่จึงได้สูญเสียพี่ชายไปในเหตุการณ์นั้น และหลังจากนั้นมาก็เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน

วันหนึ่ง ฮีโร่ได้บังเอิญทำให้เบย์แม็กซ์ที่ถูกเก็บไว้ที่บ้านทำงานขึ้นมา พร้อมกันนั้นก็ได้พบว่าไมโครบอทชิ้นหนึ่งที่ฮีโร่เก็บไว้ไม่ได้สูญเสียไปในเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่สถาบันได้มีปฏิกิริยาเหมือนจะเข้าหาไมโครบอทตัวอื่น เบย์แม็กซ์ได้ใช้ไมโครบอทชิ้นนั้นตามหาสถานที่ที่ไมโครบอทนั้นจะไปจนมาถึงโกดังร้างแห่งหนึ่ง ฮีโร่ที่ตามเบย์แม็กซ์มาได้พบว่าไมโครบอทที่น่าจะถูกเผาไปแล้วในกองเพลิง กลับถูกใครบางคนลักเอาไป ทั้งยังมีการผลิตเพิ่มจำนวนไปอีก แล้วทั้งคู่ก็ถูกโจมตีโดยชายผู้สวมหน้ากากคาบูกิที่สามารถควบคุมไมโครบอทได้ ฮีโร่พาเบย์แม็กซ์หนีออกมาได้ และตัดสินใจที่จะจับชายคนนี้ให้ได้ จึงได้อัพเกรดเบย์แม็กซ์ให้มีความสามารถในการต่อสู้ ทั้งยังได้รวมกลุ่มกับโกโก้, วาซาบิ, ฮันนี่เลมอน, และเฟรด ตั้งเป็นทีมซูเปอร์ฮีโร่ขึ้นมา

ตัวละคร[แก้]

บิ๊กฮีโร่ 6[แก้]

  • ฮิโระ ฮามาดะ (อังกฤษ: Hiro Hamada) ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นเด็กหนุ่มอายุ 14 ปีผู้มีความสามารถพิเศษในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เป็นหัวหน้าของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
  • เบย์แม็กซ์ (อังกฤษ: Baymax) หุ่นยนต์นักดูแลสุขภาพที่ประดิษฐ์โดยทาดาชิ มีลักษณะเป็นหุ่นพองลมสีขาวอ้วนกลม ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
  • เฟรด (อังกฤษ: Fred) แฟนหนังสือการ์ตูนแนวสัตว์ประหลาด ทำหน้าที่สวมชุดมอสคอตในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว และเป็นผู้ตั้งชื่อเล่นให้กับโกโก้, วาซาบิ, และฮันนี่เลมอน ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
  • โกโก้ โทมาโกะ (อังกฤษ: GoGo Tomago) ผู้พัฒนาล้อแม่เหล็กไฟฟ้าในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
  • วาซาบิ (อังกฤษ: Wasabi) ผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์ในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
  • ฮันนี่เลมอน (อังกฤษ: Honey Lemon) ผู้เชียวชาญด้านเคมีในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6

ตัวละครอื่นๆ[แก้]

  • ทาดาชิ ฮามาดะ (อังกฤษ: Tadashi Hamada) พี่ชายของฮีโร่ และเป็นผู้ประดิษฐ์เบย์แมกซ์
  • ศาสตราจารย์โรเบิร์ต คัลลาแฮน (อังกฤษ: Professor Robert Callaghan) ศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว
  • แคส ฮามาดะ (อังกฤษ: Cass Hamada) ป้าของฮีโร่และทาดาชิ เป็นเจ้าของร้านกาแฟในซานฟรานโซเกียว
  • อลิสแตร์ เคร (อังกฤษ: Alistair Krei) เจ้าของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ และเป็นศิษย์เก่าของสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว
  • อาบิเกล คัลลาแฮน (อังกฤษ: Abigail Callaghan) ลูกสาวของศาสตราจารย์คัลลาแฮน
  • ยามะ (อังกฤษ: Yama) นักแข่งขันหุ่นยนต์ที่ชนะได้เงินพนันจากการนำหุ่นยนต์มาต่อสู้หลายครั้ง แต่ได้มาพ่ายแพ้ให้กับหุ่นยนต์ของฮีโร่
  • โมจิ (อังกฤษ: Mochi) แมวของบ้านฮามาดะ
  • เจ้าหน้าที่เจอร์สัน (อังกฤษ: Sergeant Gerson) ตำรวจที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจในเมืองซานฟรานโซเกียว หลังจากที่ฮีโร่และเบย์แม็กซ์ถูกโจมตีโดยชายสวมหน้ากากคาบูกิแล้วหนีมาได้ ก็ได้มาแจ้งความกับเจ้าหน้าที่เจอร์สัน เจ้าหน้าที่เจอร์สันใช้ชื่อเดียวกับผู้ให้เสียงพากย์คือแดเนียล เจอร์สัน ซึ่งเป็นผู้เขียนบทคนหนึ่งของภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6
  • พ่อของเฟรด (อังกฤษ: Fred's father) อดีตซูเปอร์ฮีโร่ ตัวละครมีต้นแบบมาจากสแตน ลี และให้เสียงพากย์โดยตัวสแตน ลี เอง

นักแสดง[แก้]

ชื่อ พากย์ พากย์ไทย
ฮิโระ ฮามาดะ ไรอัน พอตเตอร์ โอม เปล่งขำ
เบย์แม็กซ์ สก็อต แอดซิท รัตนชัย เหลืองวงศ์งาม
ทาดาชิ ฮามาดะ แดเนียล เฮนนีย์ วิรุฬห์วิชญ์ ถิรสุวรรณ
เฟรด ที.เจ. มิลเลอร์ ชานน จำเนียรแพทย์
โกโก้ โทมาโกะ เจมี่ ชุง กรกรัณย์ ชงสกุล
วาซาบิ เดมอน เวย์นส์ จูเนียร์ กริน อักษรดี
ฮันนี่เลมอน เจเนซิส โรดริเกวซ สมิตา ไทยจำนง
โรเบิร์ต คัลลาแฮน เจมส์ ครอมเวล เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง
อลิสแตร์ เคร อลัน ทูดิค สิทธิสม มุทธานุกูลวงศ์
แคส ฮามาดะ มายา รูดอล์ฟ สุมาลี สุธีรธรรม
พ่อของเฟรด สแตน ลี กฤษณะ ศฤงคารนนท์

การฉาย[แก้]

บิ๊กฮีโร่ 6 ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [8] ฉายรอบปฐมทัศน์ในระบบ 3 มิติในเทศกาลภาพยนตร์อาบูดาบี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [9] และออกฉายจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 [10]

ในการฉายภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 ได้มีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่อง ฟีสท์ (อังกฤษ: Feast) เป็นภาพยนตร์สั้นฉายแปะหน้าภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 [11] เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์บอสตันเทร์เรียร์ชื่อวินสตัน ที่ได้รับการประคบประหงมจากเจ้าของด้วยอาหารต่างๆ

ในประเทศไทย บิ๊กฮีโร่ 6 ได้ออกฉายรอบสื่อมวลชนที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 [12] ออกฉายรอบพิเศษหลัง 13.00 น. ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 [13] และออกฉายจริงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในการฉายภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6ในประเทศไทย ก็มีการฉายภาพยนตร์สั้นแปะหน้าเรื่องฟีสท์ด้วย

เพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]

เฮนรี่ แจ๊คแมนเป็นผู้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 [14] ส่วนเพลงประกอบภาพยนตร์ "อิมมอร์ทัลส์" แต่งและบันทึกเสียงโดยวงดนตรีร็อกฟอลล์เอาต์บอย ซึ่งได้ออกจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ เรคคอร์ด เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [15][16]

อัลบั้มของเพลงประกอบภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 ออกจำหน่ายผ่านสื่อดิจิตอลโดยวอลท์ ดิสนีย์ เรคคอร์ด เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และวางจำหน่ายในรูปแบบซีดีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557[17] นอกจากเพลงประกอบภาพยนตร์ในอัลบั้มแล้ว ยังมีช่วงดนตรีสั้นๆของเพลงอายออฟเดอะไทเกอร์ปรากฏในภาพยนตร์ แต่ไม่ได้อยู่รวมอยู่ในอัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์[18]

เพลงประกอบภาพยนตร์ทุกเพลง ประพันธ์ทำนองโดยเฮนรี่ แจ๊คแมน (ยกเว้นเพลง อิมมอร์ทัลส์)

Big Hero 6 (Original Motion Picture Soundtrack)
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย
วางตลาด14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
บันทึกเสียงพ.ศ. 2557
แนวเพลงฟิล์มสกอร์
ความยาว53:57
ค่ายเพลงวอลท์ ดิสนีย์ เรคคอร์ด
โปรดิวเซอร์คริส มอนแทน
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ศิลปินยาว
1."Immortals"แพทริค สตัมพ์, เพท เวนตซ์, โจ โทรแมน, แอนดี้ เฮอร์เลย์ฟอลล์เอาต์บอย3:15
2."Hiro Hamada"  1:57
3."Nerd School"  2:12
4."Microbots"  1:46
5."Tadashi"  1:46
6."Inflatable Friend"  1:56
7."Huggable Detective"  1:35
8."The Masked Man"  1:29
9."One of the Family"  1:49
10."Upgrades"  2:27
11."The Streets of San Fransokyo"  4:08
12."To the Manor Born"  1:15
13."So Much More"  3:01
14."First Flight"  2:35
15."Silent Sparrow"  4:39
16."Family Reunion"  2:39
17."Big Hero 6"  6:57
18."I Am Satisfied With My Care"  5:29
19."Signs of Life"  1:14
20."Reboot"  1:48
ความยาวทั้งหมด:53:57

รางวัล[แก้]

รางวัล
รางวัล สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 87 ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ดอน ฮอลล์, คริส วิลเลียมส์ และ รอย คอนลิ ชนะ
สมาคมนักตัดต่อภาพยนตร์แห่งอเมริกา[19] ภาพยนตร์แอนิเมชั่นตัดต่อยอดเยี่ยม ทิม เมอร์เทนส์ เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลแอนนี่ประจำปีครั้งที่ 42[20] ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 เสนอชื่อเข้าชิง
เทคนิคพิเศษในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน ไมเคิล คาสชาล์ค, ปีเตอร์ เดอมุนด์, เดวิด ฮัทชินส์, เฮนริค ฟอลท์, และจอห์น คอสนิค ชนะ
ผู้ออกแบบตัวละครในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน ชิยูน คิม, จิน คิม เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน ดอน ฮอลล์, คริส วิลเลียมส์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้เขียนสตอรี่บอร์ดในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน มาร์ค อี. สทิธ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้เขียนบทในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน โรเบิร์ต แอล. แบร์ด, แดเนียล เจอร์สัน, จอร์แดน โรเบิร์ตส์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้ตัดต่อในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน ทิม เมอร์เทนส์ เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลแบฟตา ครั้งที่ 68[21] ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์แพร่ภาพกระจายเสียง ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 72[22] ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์เนวาด้า ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 ชนะ
รางวัลกลุ่มนักวิจารณ์ภาพยนตร์สตรี ภาพยนตร์ครอบครัวยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 ชนะ
ตัวละครแอนิเมชั่นหญิงยอดเยี่ยม โกโก้ โทมาโกะ พากย์โดย เจมี่ ชุง เสนอชื่อเข้าชิง
ฮันนี่ เลมอน พากย์โดย เจเนซิส โรดริเกวซ เสนอชื่อเข้าชิง
วลียอดเยี่ยมในภาพยนตร์ "Stop Whining. Woman Up!" พูดโดย เจมี่ ชุง ชนะ
รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ฟีนิกซ์ ครั้งที่ 15[23] ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 เสนอชื่อเข้าชิง
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อิมมอร์ทัลส์ โดย ฟอลล์เอาต์บอย เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลแซทเทลไลท์ ครั้งที่ 19[24] ภาพยนตร์แอนิเมชั่นหรือสื่อผสมยอดเยี่ยม บิ๊กฮีโร่ 6 เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลโปรดิวเซอร์ กิลด์ ออฟ อเมริกา Best Outstanding Producer of Animated Theatrical Motion Pictures รอย คอนลิ เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสมาคมเทคนิคพิเศษด้านภาพ ครั้งที่ 13 [25] Outstanding Animation in an Animated Feature Motion Picture ดอน ฮอลล์, คริส วิลเลียมส์,รอย คอนลิ และ ซาจ พาร์ริซ ชนะ
Outstanding Models in any Motion Media Project Brett Achorn, Minh Duong, Scott Watanabe, Larry Wu ชนะ
Outstanding Created Environment in an Animated Feature Motion Picture Ralf Habel, David Hutchins, Michael Kaschalk, Olun Riley ชนะ
Outstanding Effects Simulations in an Animated Feature Motion Picture Henrik Falt, David Hutchins, Michael Kaschalk, John Kosnik ชนะ
Outstanding Animated Character in an Animated Feature Motion Picture Colin Eckart, John Kahwaty, Zach Parrish, Zack Petroc ชนะ

วีดิโอเกม[แก้]

มีการจำหน่ายวิดีโอเกมสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอสและนินเท็นโด 3ดีเอส ที่อิงจากภาพยนตร์ชื่อเกมว่า Big Hero 6: Battle in the Bay วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [26] นอกจากนี้ยังมีเกมแอปพลิเคชันที่อิงจากภาพยนตร์ชื่อเกมว่า Big Hero 6: Bot Fight [27][28] และนอกจากสองเกมข้างต้นแล้ว สแควร์อีนิกซ์ ยังได้ประกาศนำโลกจากภาพยนตร์เรื่องนี้ไปลงไว้ในเกม คิงดอมส์ฮาร์ท 3 ทั้งหมด และสร้างเนื้อเรื่องต่อจากภาพยนตร์หลักอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ontario Film Review Board: Big Hero 6". Ontario Film Review Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-05. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Brent Lang (4 พฤศจิกายน 2557). "Box Office: 'Interstellar,' 'Big Hero 6' Eye Record-Breaking Weekend". Variety. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "Big Hero 6 (2014)". Box Office Mojo. Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ May 29, 2015.
  4. McDaniel, Matt (May 21, 2014). "Disney Throws Out the Marvel Rulebook for 'Big Hero 6'". Yahoo! Movies. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Truitt, Brian (May 9 พฤษภาคม 2556). "Disney animates Marvel characters for 'Big Hero 6'". USA Today. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "Big Hero 6 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "Big Hero 6 (2014)". Rotten Tomatoes.
  8. Amidi, Amid (31 กรกฎาคม 2557 2014). "World Premieres of 'Big Hero 6' and 'Parasyte' Set for Tokyo International Film Festival". Cartoon Brew. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "World premiere of Big Hero 6 in 3D to close Abu Dhabi Film Festival". The National. 31 ตุลาคม คม 2557. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. Bahr, Lindsey (24 สิงหาคม 2557). "Big Hero 6 Preview". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-22. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Walt Disney Animation Studios' 'Feast' to Premiere at the Annecy International Animated Film Festival". Disney Post. April 24, 2014. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  12. "Big Hero 6 : Thailand Gala Premiere จากเพจทางการของวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิคเจอร์ส ประเทศไทย". วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิคเจอร์ส ประเทศไทย. 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. "บิ๊กฮีโร่ 6". เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Henry Jackman to Score Disney's 'Big Hero 6'". Film Music Reporter. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
  15. Wickman, Kase (October 9, 2014). "'Big Hero 6' Sizzle Reel Brings New Fall Out Boy Song, Two Minutes Of Cuteness". MTV. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
  16. Dornbush, Jonathon (October 14, 2014). "Hear 'Immortals,' Fall Out Boy's song from the 'Big Hero 6' soundtrack". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-16. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
  17. "'Big Hero 6' Soundtrack Details". Film Music Reporter. October 15, 2014. สืบค้นเมื่อ October 25, 2014.
  18. Feldman, Abigail (November 12, 2014). "'Big Hero 6' succeeds at box office". The Tufts Daily. สืบค้นเมื่อ November 16, 2014.
  19. "American Cinema Editors announce nominees". Awards Dailydate=3 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "42nd Annual Annie Award Nominees". สืบค้นเมื่อ December 1, 2014.
  21. Ritman, Alex (8 มกราคม 2558). "BAFTA Nominations: 'Grand Budapest Hotel' Leads With 11". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. Gray, Tim (December 11, 2014). "Golden Globes: 'Birdman,' 'Fargo' Top Nominations". Variety. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
  23. "Phoenix Film Critics Society 2014 Awards". Phoenix Film Critics Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-06. สืบค้นเมื่อ December 9, 2014.
  24. Pond, Steve (December 1, 2014). "'Birdman' Leads Satellite Awards Nominations". The Wrap. สืบค้นเมื่อ December 3, 2014.
  25. "VES Awards 2015: Complete Winners List". สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. Kingdom, Stitch (June 10, 2014). "E3: Nintendo Names Future Disney Titles for 'Big Hero 6,' 'Planes' and More". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
  27. "'Disney Infinity' Hands-On Review, Part Three: San Diego Comic-Con". Stitch Kingdom. July 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29. สืบค้นเมื่อ August 3, 2014.
  28. Hollada, Becky (August 23, 2014). "Big Hero 6's Hiro and Baymax Get Disney Infinity Figures". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ August 23, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]