ข้ามไปเนื้อหา

มหัศจรรย์รักข้ามภพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหัศจรรย์รักข้ามภพ
โปสเตอร์ภาพยนตร์ มหัศจรรย์รักข้ามภพ
กำกับเควิน ลีมา
เขียนบทบิลล์ เคลลี
อำนวยการสร้างแบร์รี โจเซฟสัน
แบร์รี ซอนเนนฟีลด์
นักแสดงนำเอมี่ อดัมส์
แพทริก เดมป์ซีย์
เจมส์ มาร์สเดน
ทิโมธี สปอล
อีดินา เมนเซล
ซูซาน ซาแรนดอน
ผู้บรรยายจูลี่ แอนดรูว์ส
กำกับภาพดอน เบอร์เกส
ตัดต่อสตีเฟน เอ. ร็อตเทอร์
เกรกอรี พาร์เลอร์
ดนตรีประกอบอลัน เมนเคน
ผู้จัดจำหน่ายเดอะวอลต์ดิสนีย์
วันฉายสหราชอาณาจักร 20 ต.ค. 2550
(London Film Festival)
สหรัฐ 21 พ.ย. 2550
อิตาลี 7 ธ.ค. 2550
สหราชอาณาจักร 14 ธ.ค. 2550
ไทย 24 ม.ค. 2551
ญี่ปุ่น 14 มี.ค. 2551
ความยาว107 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน$340.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
ต่อจากนี้มหัศจรรย์รักข้ามภพกับเวทมนตร์อลเวง
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb

มหัศจรรย์รักข้ามภพ (อังกฤษ: Enchanted) เป็นภาพยนตร์อเมริกันที่สร้างในปี พ.ศ. 2550 อำนวยการสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์พิคเจอร์ส และโจเซฟสันเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกฉายครั้งแรกในเทศกาล London Film Festival เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550 จากนั้นได้เข้าฉายในสหรัฐอเมริกา วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเข้าฉายในประเทศไทย วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551 ตัวหนังเป็นการผสมผสานระหว่างแอนิเมชัน 2 มิติ ซึ่งวาดด้วยมือ และภาพยนตร์ที่ใช้คนจริงแสดง โดยมีเนื้อหาหลายส่วนที่ล้อเลียนเทพนิยายคลาสสิกที่ผ่านมาในอดีตของวอลต์ดิสนีย์เอง

มหัศจรรย์รักข้ามภพ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 65 ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์เพลง/ตลก (เอมี่ อดัมส์) และเพลงประกอบยอดเยี่ยม (That's How You Know) แต่ไม่ได้รางวัล[2] อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80 ในสาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยมถึง 3 เพลง (Happy Working Song, So Close, That's How You Know) แต่ไม่ได้รางวัลเช่นกัน[3]

ภาคต่อภาพยนตร์ มหัศจรรย์รักข้ามภพกับเวทมนตร์อลเวง (อังกฤษ: Disenchanted) ออกฉายทาง ดิสนีย์+ ทั่วโลก วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถือเป็นภาพยนตร์ภาคต่อที่ใช้เวลาห่างจากภาคแรกถึง 15 ปี

เรื่องย่อ

[แก้]

ตัวละคร

[แก้]
ตัวเอกของเรื่อง เป็นหญิงสาวช่างฝันซึ่งมีชีวิตอยู่ในดินแดนอันดาเลเซีย ผู้รอคอย 'เจ้าชายในฝัน' และ 'จุมพิตแห่งรักแท้' อันแสนโรแมนติก จนในวันหนึ่งเธอก็สมหวังเมื่อได้พบกับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด แต่ก่อนที่เธอจะได้แต่งงานกับเจ้าชาย ก็กลับโดน นาริสซา ผลักตกบ่อน้ำจนข้ามภพไปโผล่ที่ใจกลางเมืองแมนฮัตตัน ของมหานครนิวยอร์ก
ตัวละครจีเซลล์นั้น เป็นการรวมเอาบทบาทของเจ้าหญิงดิสนีย์หลายๆ คน เช่น สโนว์ไวท์ (สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด) ซินเดอเรลล่า (ซินเดอเรลล่า) ออโรร่า (เจ้าหญิงนิทรา) แอเรียล (เจ้าหญิงเงือกน้อย) และ เบลล์ (โฉมงามกับเจ้าชายอสูร) มาไว้ด้วยกัน แต่บุคลิกพื้นฐานของเธอจะมีต้นแบบมาจากสโนว์ไวท์มากที่สุด[4]
ทนายหนุ่มพ่อหม้ายลูกติด อาศัยอยู่ในนิวยอร์ก เป็นคนที่จริงจังกับชีวิตอยู่ตลอดเวลา จึงไม่เคยสอนให้ลูกสาวสนใจในเรื่องจินตนาการเพ้อฝัน จนกระทั่งได้มาพบกับจีเซลล์
เจ้าชายแห่งอันดาเลเซีย เป็นบุตรบุญธรรมของราชินีนาริสซา มีนิสัยเหมือนเด็กที่ยังบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา รักสนุกไปวันๆ และค่อนข้างหลงตัวเอง ระหว่างที่กำลังท่องป่า เอ็ดเวิร์ดได้ยินเสียงเพลงของจีเซลล์ เขาจึงขี่ม้าตามหาตัวเธอจนพบ และตกลงแต่งงานกับเธอทันที ทว่าในเช้าวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันแต่งงาน เมื่อเอ็ดเวิร์ดรู้ว่าจีเซลล์ตกลงไปในบ่อน้ำ เขาก็รีบกระโดดตามลงไป และไปก่อความวุ่นวายอยู่ในนิวยอร์กพักใหญ่ๆ
ข้ารับใช้ของราชินีนาริสซา มีจิตใจที่ภักดีต่อนาริสซาเป็นอย่างมาก
  • แนนซี่ เทรเมน (Nancy Tremaine) แสดงโดย อีดินา เมนเซล (พากย์ไทย: จรัสกร ทิพย์ศรี)
แฟนสาวของโรเบิร์ต ที่คบกันมานานถึง 5 ปี แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะแต่งงานกัน มีอาชีพเป็นดีไซน์เนอร์
ราชินีแห่งอันดาเลเซีย มารดาบุญธรรมของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เป็นคนจิตใจโหดร้าย เธอไม่ต้องการให้เอ็ดเวิร์ดสมรส เพราะกลัวว่าตนเองจะหลุดจากตำแหน่งราชินี จึงได้หลอกให้จีเซลล์ชะโงกลงไปในบ่อน้ำ และผลักให้เธอตกลงไป จนข้ามภพไปยังโลกแห่งความเป็นจริง (นิวยอร์ก) ที่ทางอันดาเลเซียมีความเชื่อกันว่าเป็นโลกที่มีความสุขน้อยที่สุด
บุคลิกของตัวละครนาริสซา มีต้นแบบมาจากราชินีชั่วร้ายในเรื่องสโนว์ไวท์ มาเลฟิเซนต์ในเจ้าหญิงนิทรา และแม่เลี้ยงใจร้ายในเรื่องซินเดอเรลล่า[4]
  • มอร์แกน ฟิลิป (Morgan Philip) แสดงโดย เรเชล โควีย์ (พากย์ไทย: จินดานุช โชคดีภูษิต)
ลูกสาวของโรเบิร์ต อายุ 6 ขวบ
กระรอกน้อยผู้เป็นเพื่อนของจีเซลล์ ตอนอยู่ที่อันดาเลเซีย สามารถพูดภาษามนุษย์ได้ แต่เมื่อมาอยู่ที่นิวยอร์ก กลับไม่สามารถพูดได้ จึงต้องพยายามใช้ภาษากาย ทำท่าทางบอกให้เอ็ดเวิร์ดได้รับรู้ว่าจีเซลล์กำลังถูกปองร้าย แต่เอ็ดเวิร์ดกลับไม่ค่อยเข้าใจภาษากายของเขามากนัก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Perman, Stacy (July 5, 2007). "A Movie Studio Grows in Brooklyn". BusinessWeek. McGraw-Hill. สืบค้นเมื่อ January 12, 2008.
  2. ผลประกาศรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 65, sanook.com, เรียกข้อมูลเมื่อ 17 มี.ค. 2551
  3. ประกาศผลรางวัล ออสการ์ ครั้งที่ 80 เก็บถาวร 2008-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, kapook.com, เรียกข้อมูลเมื่อ 17 มี.ค. 2551
  4. 4.0 4.1 Susan Wloszczyna, "'Enchanted' princess steps out of cartoon, into Manhattan", USA Today, 14 พ.ย. 2550, เรียกข้อมูลเมื่อ 17 มี.ค. 2551

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]