ข้ามไปเนื้อหา

บาร์เซโลนา

พิกัด: 41°23′N 2°11′E / 41.383°N 2.183°E / 41.383; 2.183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Barcelona)
บาร์เซโลนา

Barcelona
เทศบาลนคร
ศูนย์กลางเขตเศรษฐกิจ, ซากราดาฟามิลิอา, กัมนอว์, ปราสาทสามมังกร, ปาลาอูนาซีโอนัล, โรงแรมดับเบิลยู บาร์เซโลนา และ ชายหาด
ศูนย์กลางเขตเศรษฐกิจ, ซากราดาฟามิลิอา, กัมนอว์, ปราสาทสามมังกร, ปาลาอูนาซีโอนัล, โรงแรมดับเบิลยู บาร์เซโลนา และ ชายหาด
ธงของบาร์เซโลนา
ธง
ตราราชการของบาร์เซโลนา
ตราอาร์ม
สมญา: 
Ciutat Comtal (กาตาลา) / Ciudad Condal (สเปน)
"นครแห่งท่านเคานต์"

ตัวย่อ:
Barna, BCN
บาร์เซโลนาตั้งอยู่ในสเปน
บาร์เซโลนา
บาร์เซโลนา
ที่ตั้งของบาร์เซโลนาในประเทศสเปน
พิกัด: 41°23′N 2°11′E / 41.383°N 2.183°E / 41.383; 2.183
ประเทศธงของประเทศสเปน สเปน
แคว้นปกครองตนเอง แคว้นกาตาลุญญา
จังหวัดบาร์เซโลนา
คอร์มากาบาร์เซโลนา
การปกครอง
 • ประเภทสภาเมือง
 • องค์กรAjuntament de Barcelona
 • นายกเทศมนตรีAda Colau Ballano (Barcelona en Comú)
พื้นที่[1]
 • เมือง101.4 ตร.กม. (39.2 ตร.ไมล์)
ความสูง (ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล)12 เมตร (39 ฟุต)
ประชากร
 (2018)[4]
 • เมือง1,620,343 คน
 • อันดับ2
 • ความหนาแน่น16,000 คน/ตร.กม. (41,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง4,840,000[2] คน
 • รวมปริมณฑล5,474,482[3] คน
เขตเวลาUTC+01:00 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+02:00 (CEST)
รหัสไปรษณีย์080xx
เลขโทรศัพท์ขึ้นต้น+34 93
ภาษาทางการกาตาลาและสเปน
เว็บไซต์www.bcn.cat/en/

บาร์เซโลนา (สเปน: Barcelona) หรือ บาร์ซาโลนา (กาตาลา: Barcelona)[5] เป็นเมืองหลักของแคว้นกาตาลุญญา และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองทั้งในด้านขนาดและประชากรของประเทศสเปน มีประชากรในตัวเมือง 1,620,943 คน[6] แต่ถ้านับปริมณฑลโดยรอบอาจมากกว่า 4 ล้านคน ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของคาบสมุทรไอบีเรีย ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษา คือ ภาษากาตาลาและภาษาสเปน

บาร์เซโลนาเป็นเมืองท่าสำคัญ และเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นอาณานิคมของโรมันมาก่อน เคยถูกยึดครองโดยชาติต่าง ๆ หลายครั้ง รวมทั้งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2183 บาร์เซโลนาเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยามราตรีที่รื่นเริงสนุกสนาน บาร์เซโลนามีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่สำคัญมากมาย อาคารแบบนวศิลป์ที่ดูแปลกประหลาดออกแบบโดยสถาปนิกชาวสเปนชื่ออันตอนี เกาดี นับเป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญเมื่อปี พ.ศ. 2535 บาร์เซโลนาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 22 และเมื่อ พ.ศ. 2431 เคยเป็นที่จัดงานแสดงสินค้าโลก (World's Fair)

บาร์เซโลนาเป็นเมืองชั้นนำที่มีนักท่องเที่ยว, เศรษฐกิจ, งานแสดงสินค้า และวัฒนธรรมที่ดีที่สุดเมืองหนึ่งของโลก โดยมีชื่อเสียงทั้งด้านการค้า, การศึกษา, สื่อความบันเทิง, แฟชัน, วิทยาศาสตร์ และศิลปะ จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของโลก[7][8] ซึ่งเป็นศูนย์การทางการค้าและวัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในคาบสมุทรไอบีเรีย และเป็นอันดับที่ 24 ของโลก (ตามหลังซือริช, ก่อนแฟรงก์เฟิร์ต)[9] ในปี พ.ศ. 2551 บาร์เซโลนาเคยติด 10 อันดับที่เศรษฐกิจดีที่สุดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในสหภาพยุโรป และเป็นอันดับที่ 35 ของโลก ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากถึง 177 พันล้านยูโร ในปี พ.ศ. 2555 บาร์เซโลนามีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นเมืองที่มีอัตราการจ้างงานมากที่สุดในประเทศสเปน ณ เวลานั้น[10]

ในปี พ.ศ. 2552 บาร์เซโลนาได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 3 เมืองที่ประสบความสำเร็จด้านชื่อเสียงของเมือง[11] ในปีเดียวกัน บาร์เซโลนาได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 4 เมืองที่ดีที่สุดสำหรับการทำธุรกิจและเป็นเมืองที่เติบโตรวดเร็วที่สุดถึง 17% ต่อปี[12] และเมืองได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน 3 ปีถัดมา ต่อมาในปี พ.ศ.​2554 บาร์เซโลนาเป็นเมืองชั้นนำที่มีการประยุกต์ใช้แนวคิดสมาร์ตซิตี ในทวีปยุโรป[13] บาร์เซโลนาเป็นศูนย์รวมการขนส่งสาธารณะ ด้วยท่าเรือบาร์เซโลนา ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือขนส่งและท่าเรือสำหรับผู้โดยสารที่มีการใช้งานมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป[14] ท่าอากาศยานบาร์เซโลนาเอลปรัต ที่รองรับผู้โดยสาร 50 ล้านคนต่อปี[15], ทางหลวงพิเศษ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเชื่อมต่อจากประเทศฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป[16]

ชื่อ

[แก้]

ชื่อเมือง "บาร์เซโลนา" มาจากคำว่า "บาร์เคโน" (Barkeno) ภาษาพื้นเมืองไอบีเรียนโบราณ ซึ่งพิสูจน์มาจากเหรียญโบราณ โดยด้านขวาของเหรียญเขียนว่า Barkeno in Levantine Iberian script[17] ซึ่งเป็นอักษรไอบีเรีย Βαρκινών และ Barkinṓn ในภาษากรีกโบราณ[18][19] และ Barcino[20], Barcilonum[21] และ Barcenona.[22][23][24] ในภาษาละติน

บางแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าได้สันนิษฐานว่าเมืองมีชื่อตาม ฮามิลคาร์ บาร์คา ผู้ว่าการเมืองคาร์เธจ ซึ่งคาดว่าได้ก่อตั้งเมืองขึ้นในยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[25] แต่ไม่มีหลักฐานว่าเชื้อสายชาวบาร์เซโลนาจะมาจากคาร์เธจ และไม่มีหลักฐานว่าชื่อ "Barcino" มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับครอบครัวบาร์ซิดของฮามิลคาร์[26] โดยระหว่างสมัยกลาง เมืองนี้ได้รู้จักกันในชื่อ Barchinona, Barçalona, Barchelonaa และ Barchenona

ทางสากล ชื่อของบาร์เซโลนาถูกย่อว่า "บาร์ซา" (Barça) นั้นเป็นการย่อแบบผิดหลัก อย่างไรก็ดี ชื่อนี้มาจากสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ที่ใช้ชื่อย่อนี้ โดยชื่อย่อที่นิยมกันในท้องถิ่นคือ "บาร์นา" (Barna)

การย่อชื่อเมืองที่เห็นได้ทั่วไปคือ "BCN" ซึ่งมาจากรหัสท่าอากาศยาน IATA ของท่าอากาศยานบาร์เซโลนาเอลปรัต

ประวัติ

[แก้]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]

หลักฐานของจุดกำเนิดการตั้งถิ่นฐานของบาร์เซโลนายังไม่ชัดเจนในปัจจุบัน แต่มีการค้นพบซากปรักหักพัง เช่น สุสานและอาคารยุคโบราณ ที่สามารถบ่งบอกอายุว่าเกิดขึ้นในยุค 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[27] การค้นพบเมืองบาร์เซโลนามี 2 หลักฐานที่แตกต่างกัน หลักฐานแรกคือการเป็นเมืองที่เป็นตำนานของเฮอร์คิวลีส และอีกหลักฐานคือมีประวัติศาสตร์กับ ฮามิลคาร์ บาร์คา ผู้ว่าการเมืองคาร์เธจ ที่ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อเมือง "บาร์ซิโน" (Barcino) ในช่วง 3 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช[28] แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าหลักฐานหรือประวัติศาสตร์ไหนเป็นเรื่องจริง

ยุคโรมัน

[แก้]

ในจักรวรรดิโรมัน ช่วง 15 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้ตั้งเมืองให้เป็น "แคสทรา" (ค่ายทหารโรมัน) มีศูนย์กลางอยู่ที่ "มอนส์ตาเบร์" เนินเขาเล็ก ๆ ใกล้กับศาลาว่าการเมือง ภายใต้จักรวรรดิโรมัน เมืองนี้ได้เป็นอาณานิคมของตระกูล "ฟาเวนทีอา" (Faventia)[29] หรือชื่อเต็ม โคโลเนีย ฟาเวนทีอา ออกุสตา เปีย บาร์ซิโน[30] หรือ โคโลเนีย จูลีอา ออกุสตา ฟาเวนทีอา พาเทร์นา บาร์ซิโน ปอมโปนีอุส เมลา[31] นักภูมิศาสตร์ยุคโรมัน ได้กล่าวถึงบาร์เซโลนาว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ ข้างเคียง "ตาร์ราโก" (หรือ ตาร์ราโกนา ในปัจจุบัน) แต่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นเมืองใหญ่ที่เติบโตและสวยงาม รวมถึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในปัจจุบัน[32] บาร์เซโลนาผลิตเหรียญขึ้นมาใช้เอง จากการอยู่รอดในช่วงยุคของจักรพรรดิกัลบา

รูปปั้น มาเรเดเดอูเดลาเมร์เซ บน บาซิลิกาเดลาเมร์เซ

ร่องรอยจากยุคโรมันได้ปรากฏให้เห็นในชั้นใต้ดินของปลาซาเดลเรย์ ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองบาร์เซโลนา แสดงให้เห็นถึงรูปแบบตารางยุคโรมันที่ปรากฏในปัจจุบัน รวมไปถึงสถาปัตยกรรมกอทิก ในพิพิธภัณฑ์ ส่วนชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมโรมันสามารถเห็นได้จากกำแพงของมหาวิหาร "ลาเซอู" ที่คาดว่าถูกค้นพบในปี ค.ศ. 343[33]

ยุคกลาง

[แก้]

เมืองได้ถูกยึดโดยชาววิซิกอท ในต้นศตวรรษที่ 5 เป็นเมืองหลวงของฮิสเปเนีย อยู่หลายปี ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของอาหรับ ในต้นศตวรรษที่ 8 ก่อนที่จะถูกตีโดยชาร์เลอมาญ บุตรของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา ในปี ค.ศ. 801 ก่อตั้งเป็นภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียชายแดนที่ถูกควบคุมโดยเคานต์แห่งบาร์เซโลนา

เคานต์แห่งบาร์เซโลนา มีความเป็นอิสระในการบริหารบ้านเมืองในดินแดงของตนเองรวมถึงแคว้นกาตาลุญญา แม้ว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 985 จะถูกโจมตีโดยทหารของชาวอัลมันซอร์[34] ทำให้ประชาชนในเมืองถูกฆ่าและเป็นทาส[35] ต่อมาในปี ค.ศ. 1137 ราชอาณาจักรอารากอน และ เคานต์แห่งบาร์เซโลนา ได้ควบรวมราชวงศ์ ซึ่งกันและกัน[36][37] ด้วยการแต่งงานระหว่างราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา กับ เปโตรนิยาแห่งอารากอน จนอาณาจักรตกเป็นของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 แห่งอารากอน บุตรชายของทั้งสองซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1162 ดินแดนแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "ราชบัลลังก์อารากอน" ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จำนวนมาก ตั้งแต่ทิศตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับดินแดนห่างไกลเนเปิลส์และซิซิลี และยังขยายดินแดนไปถึงดัชชีเอเธนส์ ในศตวรรษที่ 13 การควบรวมระหว่างราชบัลลังก์อารากอน และ ราชบัลลังก์กัสติยา ทำให้บาร์เซโลนามีความสำคัญลดลง อีกทั้งธนาคารบาร์เซโลนา ธนาคารรัฐที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป ก่อตั้งขึ้นโดยแมยิสเตร็ดของเมืองในยุคนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1401[38]

บาร์เซโลนาในปี ค.ศ. 1563

ภายใต้การปกครองของสเปน

[แก้]

การสมรสระหว่างพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน กับ สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ในปี ค.ศ. 1469 ทำให้เชื่อมสัมพันธ์ทั้งสองราชวงศ์เข้าด้วยกัน จนทำให้ มาดริด กลายเป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการปกครองในช่วงการล่าอาณานิคมของอเมริกา และลดความสำคัญของการเงินลงจากการค้าขายผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บาร์เซโลนาจึงเป็นศูนย์กลางของดินแดนกาตาลัน ในยุคนั้นมีสงครามแรปเพอส์ (ค.ศ. 1640–1652) กับพระเจ้าเฟลิเปที่ 4 แห่งสเปน และกาฬโรคครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1650–1654 ทำให้ประชากรของเมืองลดลงถึงครึ่งหนึ่ง[39]

ปราสาทมอนต์จูอิก จุดใต้สุดจากการคำนวณเส้นเมอริเดียน

ในศตวรรษที่ 18 ป้อมปราการได้ถูกสร้างขึ้นที่ภูเขามอนต์จูอิก สำหรับการสอดส่องไปยังทะเล ต่อมาในปี ค.ศ. 1794 ป้อมปราการได้ถูกใช้โดยปิแยร์ เมอแช็ง นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในการสำรวจและสังเกตการณ์ไปยังเดิงแกร์ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการวัดโดยใช้หน่วยเมตร[40] แท่งวัดแบบเมตรผลิตจากแพลตินัม ถูกเสนอต่อสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1799 บาร์เซโลนาเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในสงครามคาบสมุทร แต่หลังจากสงครามสิ้นสุดลง เมืองพัฒนาอุตสาหกรรมไปในทางที่ดีขึ้น อิลเดฟอนส์ เซร์ดา นักผังเมือง ได้ออกแบบอิซัมเปลขนาดใหญ่สำหรับเมืองในยุค 1850 ซึ่งเป็นยุคที่กำแพงเมืองเก่าจากยุคกลางได้เริ่มถูกทำลายลง

สงครามกลางเมืองสเปนและยุคฟรังโก

[แก้]
บาร์เซโลนา เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสเปน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.​ 1937 จนถึง เดือนมกราคม คศ. 1939 ระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน[41][42] ในขณะนั้น ทั้งบาร์เซโลนาและมาดริดอยู่ภายใต้กฎหมายของสาธารณรัฐ ในภาพ มานูเอล อาซาญญา และ ฆวน เนกริน อยู่ที่ชานเมืองของบาร์เซโลนา

ระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน เมืองและกาตาโลเนียเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง องค์กรและรัฐวิสาหกิจถูกรวมกันโดย เซเอเนเต และ อูเฆเต เมื่ออำนาจของรัฐบาลสาธารณรัฐลดลง และเมืองหลายเมืองถูกควบคุมภายใต้กลุ่มอนาธิปไตย โดยกลุ่มอนาธิปไตยได้สูญเสียความควบคุมจากฝ่ายคอมมิวนิสต์และทหารของรัฐบาล มีการต่อสู้กันกลางเมือง ต่อมาหลังจากเมืองล่มสลายในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1939 ได้มีการอพยพประชาชนไปยังชายแดนฝรั่งเศส ความต้านทางของบาร์เซโลนาต่อการรัฐประหาร ฟรันซิสโก ฟรังโก มีผลกระทบยาวนานหลังจากความพ่ายแพ้ของรัฐบาลสาธารณรัฐ ความเป็นเอกภาพของแคว้นกาตาลุญญา ได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น[43] การใช้ภาษากาตาลาในที่สาธารณะเป็นสิ่งต้องห้าม บาร์เซโลนากลายเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของสเปน มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก แม้เมืองจะถูกทำลายระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน แต่มีการอพยพจากประชาชนที่ยากจนจำนวนมากจากส่วนอื่นของสเปน จากทั้งแคว้นอันดาลูซิอา, มูร์เซีย และแคว้นกาลิเซีย ทำให้แปรสภาพกลับมาเป็นเมืองใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

ปลายศตวรรษที่ 20

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1992 บาร์เซโลนาได้เป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูร้อน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ผ่านมาให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งผลักดันให้กลายเป็นเจ้าภาพจัดงานที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ในการเตรียมการเป็นเจ้าภาพ โรงงานอุตสาหกรรมริมทะเลถูกทำลายลง และได้มีการสร้างทะเลขึ้นเป็นระยะทางรวม 2 ไมล์ อีกทั้งยังมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับรถยนต์อีก 17% มีการจัดการของเสียที่เพิ่มมากขึ้นอีก 27% และเพิ่มพื้นที่สีเขียวและทะเลอีก 78% ระหว่าง ค.ศ. 1990 จนถึง ค.ศ. 2004 มียอดจองโรงแรมภายในเมืองเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี ค.ศ. 2012 บาร์เซโลนาเป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่ยอดนิยมอันดับที่ 12 ของโลก และอันดับที่ 5 ของทวีปยุโรป[44][45][46][47][48]

ยุคปัจจุบัน

[แก้]

หลังจากฟรังโกเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งมีแรงกดดันในการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้นของบาร์เซโลนา ในการออกจากระบบที่ฟรังโกสร้างขึ้นมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี[49] การประท้วงโดยกลุ่มม็อบขนาดใหญ่ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1977 ซึ่งมีผู้คนนับล้านบนถนนในเมืองบาร์เซโลนาในการเรียกร้องเอกราชของกาตาลันคืนกลับมา[50]

การพัฒนาของบาร์เซโลนาทำให้ได้รับโอกาสจาก 2 งานใหญ่ในปี ค.ศ. 1986 ทั้งการเข้าร่วมสหภาพยุโรปของสเปน และได้รับคัดเลือกให้จัดงานโอลิมปิกฤดูร้อน 1992[51][52] การพัฒนาผังเมืองถูกจัดสรรอย่างรวดเร็ว และมีการเพิ่มขึ้นของประชากรและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทำให้ประชากรลดลงอย่างเล็กน้อย (ร้อยละ 16.6) ซึ่งในช่วงสองทศวรรษปลายศตวรรษที่ 20 มีครอบครัวย้ายออกไปยังชานเมืองมากขึ้น แต่แนวโน้มได้กลับแปรผันอีกครั้งในปี ค.ศ. 2001 หลังจากการอพยพของชาวลาตินอเมริกา และโมร็อกโก[53]

ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ได้เกิดเหตุรถตู้พุ่งชนผู้สัญจรบนทางเท้าในย่านท่องเที่ยวลารัมบลา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คนและบาดเจ็บอย่างน้อย 100 คน และยังมีการก่อเหตุในช่วงเวลาเดียวกันในกาตาลุญญา มาเรียโน ราฆอย นายกรัฐมนตรีสเปน ได้เรียกเหตุการณ์ในบาร์เซโลนาว่าเป็นการก่อการร้ายญิฮาด โดยสำนักข่าวมักกล่าวโดยอ้อมว่าผู้อ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้คือกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์[54][55][56]

วัฒนธรรม

[แก้]

วัฒนธรรมของบาร์เซโลนามีรากฐานมายาวนานกว่า 2000 ปี หลังจากการมาของประชาธิปไตย ภาษากาตาลา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกกดขี่อย่างหนักในช่วงสเปนภายใต้การนำของฟรังโก ได้ถูกส่งเสริมขึ้นอีกครั้ง ทั้งโดยการฟื้นฟูผลงานจากในอดีต และโดยการกระตุ้นให้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ บาร์เซโลนา ถูกกำหนดให้เป็นเมืองระดับโลก โดยกลุ่มและเครือข่ายการศึกษาเมืองโลกาภิวัตน์และโลก[57] นอกจากนี้ยังได้เป็น เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ในฐานะเมืองแห่งวรรณกรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015[58]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพมุมกว้างของบาร์เซโลนา

ที่ตั้ง

[แก้]
บาร์เซโลนาจากมุมสูง

บาร์เซโลนา ตั้งอยู่บนทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บนที่ราบกว้าง 5 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ระหว่างภูเขาที่เรียกว่า "คอลเซโรลา" (Collserola) ระหว่างแม่น้ำเบซอซกับแม่น้ำโยเบรกัต[59] ที่ราบนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 170 ตารางกิโลเมตร[59] โดย 110 ตารางกิโลเมตร[60]เป็นเขตเมืองทั้งหมด และมีพื้นที่ยาว 120 กิโลเมตร ติดกับเทือกเขาพิรินีตอนใต้ เป็นพรมแดนระหว่างแคว้นกาตาลุญญา กับ ประเทศฝรั่งเศส

ตีบีดาบู ยอดเขาสูง 512 เมตร มีทิวทัศน์ที่สามารถเห็นเมืองได้ทั้งหมด[61] อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของตอร์เรเดคอลเซโรลา อาคารเสาสัญญาณโทรคมนาคม ที่สามารถมองเห็นได้จากทั่วทั้งเมือง บาร์เซโลนาเต็มเป็นด้วยเนินเขาเล็ก ๆ ที่มีผู้คนสร้างที่อยู่อาศัยมากมาย โดยจะตั้งชื่อย่านที่อยู่อาศัยตามเนินเขา เช่น การ์เมล (Carmel), ปุตเกต (Putget) และ รอบีรา (Rovira) ความสูงของมอนต์จูอิก (173 เมตร) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเห็นทิวทัศน์ของทะเล และเป็นที่ตั้งของปราสาทมอนจูอิก ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17–18 โดยปัจจุบันป้อมปราการได้เป็นพิพิธภัณฑ์ และมอนต์จูอิกเป็นพื้นสำหรับนันทนาการ เปรียบเสมือนกับเป็นสวนสาธารณะของเมือง

เมืองมีอาณาเขตติดต่อกับซันตากูโลมาดากรามาแน็ต และ ซันอาดรีอาเดเบซอซ ทางทิศเหนือ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออก, เอลปรัตเดยอเบรกัต และ ลุสปิตาแล็ตดายูบรากัต ทางทิศใต้ และ ซันเฟลีอูเดยอเบรกัต, ซันจัสเดสเบร์น, เอสปลาอูกูเอสเดยอเบรกัต, ซันกูกัตเดลบาเญซ และ มอนกาดาอีเรย์ซัก ทางทิศตะวันตก โดยพื้นที่เทศบาลรวมไปถึงดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยก 2 แห่งจนถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ภูมิอากาศ

[แก้]

จากการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน บาร์เซโลนามีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีฤดูหนาวเบาบางและฤดูร้อนที่มีอากาศร้อน[62] ส่วนฤดูที่มีฝนตกมากที่สุดคือฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยจะมีฤดูแล้งในช่วงฤดูร้อน เช่นเดียวกันกับมีฝนหิมะที่น้อยกว่าภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนทั่วไป[63] ซึ่งจะพบได้ในเขตเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกเฉฉียงเหนือ (เช่น มาร์แซย์) และคล้ายกันกับภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เช่น มิลาน) ที่จะมีปริมาณน้ำฝนที่มากในฤดูร้อน

อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 21.2 °C (70.2 °F) ในตอนกลางวัน และ 15.1 °C (59.2 °F) ในตอนกลางคืน ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของริมฝั่งทะเลอยู่ที่ 20 °C (68 °F) เดือนที่มีอากาศหนาวที่สุดคือเดือนมกราคม ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 12 ถึง 18 °C (54 ถึง 64 °F) ในตอนกลางวัน และ 6 ถึง 12 °C (43 ถึง 54 °F) ในตอนกลางคืน และอุณหภูมิเฉลี่ยริมฝั่งทะเลอยู่ที่ 13 °C (55 °F).[64] ในเดือนที่อากาศอุ่นที่สุดคือเดือนสิงหาคม ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 ถึง 31 °C (81 ถึง 88 °F) ในตแอนกลางวัน และ 23 °C (73 °F) ในตอนกลางคืน ส่วนอุณหภูมิริมฝั่งทะเลอยู่ที่ 26 °C (79 °F).[64] ในทั่วไปแล้ว ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อนจะมี 6 เดือน (พฤษภาคม ถึง ตุลาคม) ซึ่งในช่วงเมษายน ถึง พฤศจิกายน เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู ในบางครั้งจะมีอุณหภูมิสูงเกิน 20 °C (68 °F) และมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18–19 °C (64–66 °F) ในตอนกลางวัน และ 11–13 °C (52–55 °F) ในตอนกลางคืน อุณหภูมิที่แปรเปลี่ยนฉับพลันนั้นหาได้ยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน เป็นเพราะอยู่ใกล้ทะเลที่มีน้ำอุ่น การเกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งจึงหาได้ยากมากในเมืองบาร์เซโลนา มีเพียง 1 วันใน 30 ปีล่าสุดที่ได้มีการบันทึกว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งที่ −1 °C (30 °F)[65]

บาร์เซโลนามีฝนตกเฉลี่ย 78 วันต่อปี (≥ 1 มิลลิเมตร) และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 72% ส่วนมากฝนจะตกในช่วงปลายฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน–ตุลาคม) และมีโอกาสฝนตกต่ำที่สุดในช่วงกลางฤดูร้อน (มิถุนายน–สิงหาคม) และฤดูหนาวจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม บาร์เซโลนาได้รับแสงแดด 2,524 ชั่วโมงต่อปี จาก 138 ชั่วโมงในเดือนธันวาคม (เฉลี่ย 4.5 ชั่วโมงต่อวัน) และ 310 ชั่วโมงในเดือนกรกฎาคม (เฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน)[66]


ข้อมูลภูมิอากาศของบาร์เซโลนา (ค.ศ. 1987–ค.ศ. 2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 14.8
(58.6)
15.6
(60.1)
17.4
(63.3)
19.1
(66.4)
22.5
(72.5)
26.1
(79)
28.6
(83.5)
29.0
(84.2)
26.0
(78.8)
22.5
(72.5)
17.9
(64.2)
15.1
(59.2)
21.2
(70.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 11.8
(53.2)
12.4
(54.3)
14.2
(57.6)
15.8
(60.4)
19.3
(66.7)
22.9
(73.2)
25.7
(78.3)
26.1
(79)
23.0
(73.4)
19.5
(67.1)
14.9
(58.8)
12.3
(54.1)
18.2
(64.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 8.8
(47.8)
9.3
(48.7)
10.9
(51.6)
12.5
(54.5)
16.1
(61)
19.8
(67.6)
22.7
(72.9)
23.1
(73.6)
20.0
(68)
16.5
(61.7)
11.9
(53.4)
9.5
(49.1)
15.1
(59.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 43.7
(1.72)
31.4
(1.236)
33.0
(1.299)
47.7
(1.878)
47.4
(1.866)
32.5
(1.28)
25.1
(0.988)
40.8
(1.606)
81.9
(3.224)
96.5
(3.799)
45.1
(1.776)
46.8
(1.843)
571.9
(22.516)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 7.0 5.0 6.2 7.9 7.5 5.5 3.1 5.8 8.0 9.0 6.6 7.0 78.6
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 149 163 200 220 244 262 310 282 219 180 146 138 2,524
แหล่งที่มา: ฌานาราลิตัตดากาตาลุญญาอาเจนซีอาเอสตาตัลเดเมเตโอโรโลจีอา (ชั่วโมงของแสงแดด)[67]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "El municipi en xifres: Barcelona". Statistical Institute of Catalonia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2015. สืบค้นเมื่อ 23 November 2015.
  2. Demographia: World Urban Areas เก็บถาวร 3 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Demographia, April 2018
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ eurostat
  4. Municipal Register of Spain 2018. National Statistics Institute.
  5. จากกาตาลา: Barcelona ˌbarsəˈlonə บารฺซะโลนะ
  6. INE (1 January 2012). "Population of Barcelona". Instituto Nacional de Estadistica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-21. สืบค้นเมื่อ 3 June 2013.
  7. "The World According to GaWC 2010". Globalization and World Cities Study Group and Network, Loughborough University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 May 2014.
  8. "Inventory of World Cities". Globalization and World Cities (GaWC) Study Group and Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 1 December 2007.
  9. "2012 Global Cities Index". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  10. Emilia Istrate; Carey Anne Nadeau (30 November 2012). "Brookings analysis of data from Oxford Economics, Moody's Analytics, and the U.S. Census Bureau". Brookings Global MetroMonitor. Brookings Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2013. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  11. "Paris, London and Barcelona are Europe's top city brands". Citymayors.com. 28 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  12. "Best European business cities". City Mayors. 28 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2013. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
  13. "Barcelona 5.0 or Barcelona smart city". tvbrussel. 4 December 2014.
  14. "Port of Barcelona traffic statistics Accumulated data December 2013" (PDF). Statistics Service. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 June 2014. สืบค้นเมื่อ 14 June 2014.
  15. "AENA December 2018 Report" (PDF). 14 January 2019.
  16. "First commercial trips" (ภาษาสเปน). Europapress.es. 10 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2014. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  17. Emerita: Revista de Lingüística y Filología clasica 11 (1943), p.468
  18. Ptolemy, ii. 6. § 8
  19. Gudmund Schütte (1917). Ptolemy's Maps of Northern Europe: A Reconstruction of the Prototypes. H. Hagerup. p. 45.
  20. Smith, Sir William (1854). Dictionary of Greek and Roman Geography: Abacaenum-Hytanis. Boston, Massachusetts: Little, Brown and Company. p. 378.
  21. Rufus Festus Avienus Ora Maritima « et Barcilonum amoena sedes ditium. » v514 เก็บถาวร 12 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. Gustav Parthey (1848). Itinerarium Antonini Avgvsti et Hierosolymitanvm: ex libris manvscriptis. F. Nicolai. p. 188.
  23. Petrus Wesseling; Hierocles (The Grammarian) (1735). Vetera Romanorum itineraria, /: sive Antonini Augusti Itinerarium. apud J. Wetstenium & G. Smith. p. 390.
  24. Joel Cook (1910). The Mediterranean and Its Borderlands. p. 334.
  25. "Online Etymology Dictionary". Etymonline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2014. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  26. P.F. Collier & Son Corporation (1957). Collier's Encyclopedia. Collier. p. 48.
  27. Servei d'Arqueologia of Institut de Cultura de Barcelona. "Caserna de Sant Pau del Camp". CartaArqueologica (ภาษาสเปน). Ajuntament de Barcelona. p. Description and Historical Notes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  28. Oros. vii. 143; Miñano, Diccion. vol. i. p. 391; Auson. Epist. xxiv. 68, 69, Punica Barcino.
  29. Plin. iii. 3. s. 4
  30. Inscr. ap. Gruter, p. 426, nos. 5, 6.
  31. ii. 6
  32. Avien. Ora Maritima. 520: "Et Barcilonum amoena sedes ditium."
  33. "Roman walls, Barcelona". Bluffton.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2013. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
  34. The Usatges of Barcelona: The Fundamental Law of Catalonia, ed. Donald J. Kagay, (University of Pennsylvania Press, 1994), 7.
  35. Roger Collins, Caliphs and Kings, 796–1031, (Blackwell Publishing, 2012), 191.
  36. T.N. Bisson (1986). "II. The age of the Early Count-Kings (1137–1213) (The Principate of Ramon Berenguer IV 1137–1162)". ใน Clarendon Press – Oxford (บ.ก.). The medieval Crown of Aragon. A short story. p. 31. ISBN 978-0-19-820236-3.
  37. Cateura Benàsser, Pau. Els impostos indirectes en el regne de Mallorca (PDF). ISBN 978-84-96019-28-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 October 2008. สืบค้นเมื่อ 24 April 2008. El Tall dels Temps, 14. (Palma de) Mallorca: El Tall, 1996.
  38. The Bankers magazine, volume 11, page 595, J. Smith Homans Jr., New York 1857.
  39. Chapter 15: A History of Spain and Portugal, Stanley G. Payne [ลิงก์เสีย]
  40. Adler, Ken (2002). The Measure of All Things: The Seven-Year Odyssey that Transformed the World. Abacus. ISBN 978-0-349-11507-8.
  41. MHCB, City Council of Barcelona, Institute of Culture, SECC (2006). Juan Negrín 1892-1956. Barcelona, capital de la República. Barcelona. ISBN 84-96411-13-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-18. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  42. Jordi Canal (2015). Historia mínima de Cataluña. Madrid: Turner Publicaciones S.L. ISBN 978-84-16142-08-8.
  43. Decree of 5 April 1938.
  44. "Barcelona (Spain)". Encyclopædia Britannica. เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  45. Taylor, Adam (26 July 2012). "How The Olympic Games Changed Barcelona Forever". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  46. Usborne, Simon (18 August 2008). "After The Party: What happens when the Olympics leave town". The Independent. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  47. Ferran Brunet i Cid (2002). "The economic impact of the Barcelona Olympic Games" (PDF). Universitat Autònoma de Barcelona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 July 2009. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  48. "Legacies of the Games" (PDF). International Olympic Committee. December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  49. Steven Mock (29 December 2011). Symbols of Defeat in the Construction of National Identity. Cambridge University Press. p. 274. ISBN 978-1-139-50352-5.
  50. Julius W. Friend (19 June 2012). Stateless Nations: Western European Regional Nationalisms and the Old Nations. Palgrave Macmillan. p. 97. ISBN 978-0-230-36179-9.
  51. James Parkin; D. Sharma (1 January 1999). Infrastructure Planning. Thomas Telford. p. 173. ISBN 978-0-7277-2747-3.
  52. Ngiste Abebe; Mary Trina Bolton; Maggie Pavelka; Morgan Pierstorff (19 November 2013). Bidding for Development: How the Olympic Bid Process Can Accelerate Transportation Development. Springer. p. 3. ISBN 978-1-4614-8912-2.
  53. The proportion of the population born outside of Spain rose from 3.9% in 2001 to 13.9% in 2006. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 February 2012. สืบค้นเมื่อ 26 June 2010.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  54. "At least 13 dead in van crash in Barcelona city center: media". 17 August 2017 – โดยทาง Reuters.
  55. Ward, Victoria. "Barcelona scene". telegraph.co.uk. The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
  56. "Barcelona and Cambrils: 'Bigger' attacks were prepared". 18 August 2017 – โดยทาง www.bbc.com.
  57. "Globalization and World Cities Study Group & Network – Inventory of World Cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2007. สืบค้นเมื่อ 7 July 2007.
  58. Prim, Sara. "Barcelona becomes a UNESCO City of Literature". www.catalannews.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  59. 59.0 59.1 "Barcelona". Gran Enciclopèdia Catalana. Vol. 3. Barcelona: Edicions 62. July 1971. pp. 193–229.
  60. "11 Barcelona.indd" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 February 2012. สืบค้นเมื่อ 26 June 2010.
  61. "Barcelona Spain Tibidabo Sagrat Cor Church. Full Screen QTVR panoramic image". Panoramas.dk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2009. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
  62. Ahrens, C. Donald (2012). Meteorology Today: An Introduction to Weather, Climate, and the Environment, 10th Edition. Cengage Learning. ISBN 978-0840054999.
  63. Viers, Georges (1987). Climatología [Climatology] (ภาษาสเปน). Barcelona: Oikos-Tau. ISBN 9788428102957., pp.166-167
  64. 64.0 64.1 "Weather2Travel.com: Barcelona Climate Guide". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 June 2011.
  65. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-14.
  66. "Valores Climatológicos Normales. Barcelona / Aeropuerto". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2014. สืบค้นเมื่อ 16 June 2011.
  67. "Barcelona Can Bruixa – climate (1987–2010) Barcelona.cat, Barcelona City Hall".
บรรณานุกรม
  • "Barcelona". Gran Enciclopèdia Catalana. Barcelona: Ed. Enciclopèdia Catalana S.A. (อังกฤษ)
  • Busquets, Joan. Barcelona: The Urban Evolution of a Compact City (Harvard UP, 2006) 468 pp. (อังกฤษ)
  • McDonogh, G. W. (2011). "Review Essay: Barcelona: Forms, Images, and Conflicts: Joan Busquets (2005)". Journal of Urban History. 37 (1): 117–123. doi:10.1177/0096144210384250. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help) (อังกฤษ)
  • Marshall, Tim, ed. Transforming Barcelona (Routledge, 2004), 267 pp. (อังกฤษ)
  • Ramon Resina, Joan. Barcelona's Vocation of Modernity: Rise and Decline of an Urban Image (Stanford UP, 2008). 272 pp. (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]