กัมนอว์
ชื่อเต็ม | กัมนอว์ |
---|---|
ที่ตั้ง | บาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน |
เจ้าของ | สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา |
ที่นั่งพิเศษ | 23 ที่นั่ง[7] |
ความจุ | 99,354 ที่นั่ง[6] |
สถิติผู้ชม | 120,000 คน (บาร์เซโลนา ปะทะ ยูแวนตุส), ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบสี่ทีมสุดท้าย ค.ศ. 1986[8] |
ขนาดสนาม | 105 โดย 68 เมตร (115 โดย 74 หลา)[1] |
พื้นผิว | หญ้าผสมกราสมาสเตอร์[5] (เส้นใยสังเคราะห์ 5%, หญ้าธรรมชาติ 95%) |
ป้ายแสดงคะแนน | โซนี่ |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | ค.ศ. 1954–1957 |
เปิดใช้สนาม | 24 กันยายน 1957[1] |
ปรับปรุง | คาดการณ์ว่า ค.ศ. 2026[2] |
ต่อเติม | ค.ศ. 1982, 1994,[3] คาดการณ์ว่า ค.ศ. 2026[4] |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 1.73 พันล้านยูโร |
สถาปนิก | ฟรันแซ็สก์ มิดจันส์ และฌูแซ็ป โซเตรัส |
การใช้งาน | |
สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (ค.ศ. 1957–ปัจจุบัน) ฟุตบอลทีมชาติกาตาลุญญา (บางนัด) |
กัมนอว์ (กาตาลา: Camp Nou; "สนามใหม่")[9][10] เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ตั้งอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1954 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1957 มีความจุทั้งสิ้น 99,354 ที่นั่ง[11] ถือเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในสเปน และทวีปยุโรป และเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
กัมนอว์ เป็นสนามจัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสองครั้ง ในปี ค.ศ. 1989 และ 1999 ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพสองครั้ง อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพสี่ครั้ง ยูฟ่าซูเปอร์คัพสี่ครั้ง โกปาเดลเรย์สี่ครั้ง โกปาเดลาลิกาสองครั้ง และซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา 21 ครั้ง นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1964 จำนวนสองจากที่สี่นัด รวมถึงฟุตบอลโลก 1982 5 นัด (รวมถึงนัดเปิดการแข่งขัน) รวมทั้ง 2 จาก 4 นัดของ และรอบชิงชนะเลิศของกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1992
ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2022 มีการประกาศว่าสปอติฟาย บริการสตรีมเพลง ผ่านข้อตกลงที่จะรับสิทธิ์ในการตั้งชื่อในสนามกีฬากับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ด้วยเงินมากถึง 310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังสภาผู้แทนพิเศษของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอนุมัติข้อตกลงการเป็นสปอนเซอร์กับสปอติฟายในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2022 จึงมีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น สปอติฟายกัมนอว์ อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2022[12]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 มีการประกาศบูรณะซ่อมแซมสนามกีฬาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 หลังจบฤดูกาล[13]
ฟุตบอลโลก 1982
[แก้]สนามกีฬานี้ถือเป็นหนึ่งใน 17 สนามในฟุตบอลโลก 1982 และจัดการแข่งขันดังนี้:
วันที่ | ทีม 1 | ผล | ทีม 2 | รอบ | ผู้เข้าชม |
---|---|---|---|---|---|
13 มิถุนายน 1982 | อาร์เจนตินา | 0–1 | เบลเยียม | กลุ่ม 3 (รอบแรก) | 95,000 |
28 มิถุนายน 1982 | โปแลนด์ | 3–0 | เบลเยียม | กลุ่มเอ (รอบ 2) | 65,000 |
1 กรกฎาคม 1982 | เบลเยียม | 0–1 | สหภาพโซเวียต | 45,000 | |
4 กรกฎาคม 1982 | สหภาพโซเวียต | 0–0 | โปแลนด์ | 65,000 | |
8 กรกฎาคม 1982 | โปแลนด์ | 0–2 | อิตาลี | รอบรองชนะเลิศ | 50,000 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Information". FC Barcelona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2012. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010.
- ↑ "FC Barcelona presents the improvements to the future Camp Nou project at the College of Architects of Catalonia". FC Barcelona. 23 June 2022. สืบค้นเมื่อ 17 July 2022.
- ↑ "Camp Nou History". FC Barcelona. สืบค้นเมื่อ 17 July 2022.
- ↑ "FC Barcelona presents the improvements to the future Camp Nou project at the College of Architects of Catalonia". FC Barcelona. 23 June 2022. สืบค้นเมื่อ 17 July 2022.
- ↑ "New pitch to be laid at Spotify Camp Nou". FC Barcelona. 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 17 July 2022.
- ↑ Association, Press (2013-12-10). camp-nou-105000 "Barcelona to build new stadium unless Camp Nou gets 105,000 capacity". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-03.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ [1] เก็บถาวร 5 เมษายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. www.fcbarcelona.com. Retrieved on 4 April 2018.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Keith Jackson (22 October 2012). "Nou Camp visit isn't to admire Barca players..it's strictly business, says Celtic winger James Forrest – Daily Record". dailyrecord. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 24 September 2015.
- ↑ Percy, John (19 December 2012). "Barcelona coach Tito Vilanova steps down from Nou Camp role following relapse of tumour on saliva glands". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2018. สืบค้นเมื่อ 13 April 2018.
- ↑ [2] เก็บถาวร 9 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.fcbarcelona.com. Retrieved on 22 August 2012
- ↑ "FC Barcelona partnership agreement with Spotify ratified". www.fcbarcelona.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
- ↑ "Agreement on the transformation of Espai Barça and work on new Camp Nou to begin in June". fcbarcelona.com. 28 April 2022. สืบค้นเมื่อ 28 April 2022.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ball, Phill (2003). Morbo: The Story of Spanish Football. WSC Books Limited. ISBN 0-9540134-6-8.
- Eaude, Michael (2008). Catalonia: a cultural history. Oxford University Press. ISBN 0-19-532797-7.
- Farred, Grant (2008). Long distance love: a passion for football. Temple University Press. ISBN 1-59213-374-6.
- Murray, Bill; Murray, William J. (1998). The world's game: a history of soccer. University of Illinois Press. ISBN 0-252-06718-5.
- Snyder, John (2001). Soccer's most wanted: the top 10 book of clumsy keepers, clever crosses, and outlandish oddities. Brassey's. ISBN 1-57488-365-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official website
- Profile at Estadios de España (ในภาษาอังกฤษ)