ข้ามไปเนื้อหา

ราชบัลลังก์กัสติยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชบัลลังก์กัสติยา

Corona de Castilla
ค.ศ. 1230–ค.ศ. 1716
ธงชาติกัสติยา
ธง
ตราแผ่นดินของกัสติยา
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของกัสติยา
สถานะสหอาณาจักร
เมืองหลวงบูร์โกส, โตเลโด, บายาโดลิด และสุดท้ายมาดริด¹
ภาษาทั่วไปสเปน (กัสติยา), บาสก์, กาลิเซีย, เลออน[1] และอาหรับ (ฮิสปาเนีย
ศาสนา
คริสต์ศาสนา (โรมันคาทอลิก), อิสลาม และยูดาย
การปกครองราชาธิปไตย
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1230
ค.ศ. 1716 ค.ศ. 1716
พื้นที่
20,000,000 ตารางกิโลเมตร (7,700,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
Castile ราชอาณาจักรกัสติยา
Leon ราชอาณาจักรเลออน
Emirate of Granada อาณาจักรอะมีรแห่งกรานาดา
สเปน
ยิบรอลตาร์
¹ ย้ายจนกระทั่งเฟลิเปที่ 2 มาตั้งเป็นการถาวรที่มาดริด
² รวมทั้งภาษานาวัตล์และเกชัวนอกคาบสมุทรไอบีเรีย

ราชบัลลังก์กัสติยา (สเปน: Corona de Castilla) เป็นสหอาณาจักรที่มักจะกล่าวกันว่าเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1230 โดยการรวมตัวระหว่าง ราชอาณาจักรเลออนกับราชอาณาจักรกัสติยา หรือมารวมตัวอย่างเป็นทางการโดยรัฐสภาของทั้งสองราชอาณาจักรอีกหลายสิบปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1230 พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกัสติยา (ที่รวมอดีตราชอาณาจักรโตเลโด) และเลออน (ที่รวมราชอาณาจักรกาลิเชีย)

กษัตริย์แห่งราชบัลลังก์กัสติยา

[แก้]

ราชวงศ์บูร์กอญ

[แก้]

เมื่อพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1252 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 ผู้เป็นพระโอรส พระเจ้าอัลฟอนโซได้อภิเษกสมรสกับโยลันดาแห่งอารากอนในปี ค.ศ. 1249 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสิบเอ็ดคน เมื่อพระเจ้าอัลฟอนโซสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1284 เฟร์นันโด เด ลา การ์ดาผู้เป็นพระโอรสคนโตสิ้นพระชนม์ก่อนพระองค์โดยมีพระโอรสน้อยทิ้งไว้สองคน สิทธิ์ของเด็กชายทั้งสองถูกแย่งชิงไปโดยพระเจ้าซันโชที่ 4 แห่งกัสติยาซึ่งเป็นพระโอรสคนที่สองของพระเจ้าอัลฟอนโซ พระองค์ได้แต่งงานกับมาริอา เด โมลินาในปี ค.ศ. 1282 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาที่มีชีวิตรอดห้าคน พระเจ้าซันโชสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1295 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 4 พระโอรสวัย 9 พรรษา ภายใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของพระมารดา

พระเจ้าเฟร์นันโดอภิเษกสมรสกับกงสเติงซาแห่งโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1302 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาที่มีชีวิตรอดสองคน พระเจ้าเฟร์นันโดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1312 ด้วยพระชนมายุเพียง 26 พรรษา ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อคือพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11 พระโอรสวัย 1 พรรษา กงสเติงซาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1313 การสำเร็จราชการแผ่นดินจึงตกเป็นของมาริอา เด โมลินา พระอัยกี พระเจ้าอัลฟอนโซอภิเษกสมรสครั้งแรกกับกอนสตันซา มานูเอลในปี ค.ศ. 1325 แต่การแต่งงานถูกประกาศให้เป็นโมฆะ ในปี ค.ศ. 1328 พระองค์อภิเษกสมรสกับมาเรียแห่งโปรตุเกส ทั้งคู่มีพระโอรสที่มีชีวิตรอดหนึ่งคน พระองค์ยังมีบุตรธิดาอีกสิบคนกับเลโอนอร์ เด กูซมันผู้เป็นภรรยาลับ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1350 ผู้สืบทอดตำแหน่งจากพระองค์คือพระเจ้าเปโดรแห่งกัสติยา พระเจ้าเปโดรอภิเษกสมรสกับบล็องช์แห่งบูร์บงในปี ค.ศ. 1353 ขณะเดียวกันก็มีอนุภรรยาคือมาริอา เด ปาดียา พระองค์มีพระธิดาที่รอดชีวิตสองคนกับมาริอาและทอดทิ้งบล็องช์หลังแต่งงานได้สามวัน มาริอากับบล็องช์ต่างก็เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1361 โดยบล็องช์ถูกฆาตกรรม

พระเจ้าเปโดรถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยเอ็นริเก พระอนุชาต่างมารดา ในปี ค.ศ. 1366 ในช่วงสงครามกลางเมืองของกัสติยา พระองค์กอบกู้ตำแหน่งกลับคืนมาได้ในระยะสั้นๆ แต่เอ็นริเกได้สังหารพระองค์ในปี ค.ศ. 1369

พระนาม ฉายานาม ความสัมพันธ์ เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ผู้เป็นนักบุญ พระโอรสของพระราชินีเบเรงเกลา 30 สิงหาคม ค.ศ. 1217 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1252 เป็นกษัตริย์แห่งเลออนตั้งแต่ ค.ศ. 1230

เริ่มต้นราชบัลลังก์กัสติยา

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 ผู้ทรงปัญญา พระโอรสของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1252 4 เมษายน ค.ศ. 1284 ถูกซันโช พระโอรสปลดออกจากการบริหารปกครอง[2][3]

เกิดสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1282–1284)

พระเจ้าซันโชที่ 4 ผู้กล้าหาญ พระโอรสของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 4 เมษายน ค.ศ. 1284 25 เมษายน ค.ศ. 1295 อัลฟอนโซ เด ลา เซร์ดาแสดงสิทธิ์ในบัลลังก์

ได้รับการประกาศเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาในฆากา ปี ค.ศ. 1288 ด้วยการสนับสนุนของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 แห่งอารากอน[4][5]

พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 4 ผู้ถูกอัญเชิญมา พระโอรสของพระเจ้าซันโชที่ 4 25 เมษายน ค.ศ. 1295 7 กันยายน ค.ศ. 1312 มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือ
  1. มารีอา เด โมลินา (ค.ศ. 1295)
  2. เอ็นริเก เด กัสติยา[6] (ค.ศ. 1295–1301)
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11 ผู้เที่ยงธรรม พระโอรสของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 4 7 กันยายน ค.ศ. 1312 26 มีนาคม ค.ศ. 1350 มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือ
  1. ฆวน เด กัสติยา (ค.ศ. 1313–1319)[7]
  2. มารีอา เด โมลินา (ค.ศ. 1319–1321)[8]
  3. เฟลิเป เด กัสติยา (ค.ศ. 1321–1325)[9][10]
พระเจ้าเปโดร ผู้โหดร้าย พระโอรสของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 11 26 มีนาคม ค.ศ. 1350 23 มีนาคม ค.ศ. 1369 ถูกสังหารโดยพระเจ้าเอ็นริเกที่ 2


วิกฤตการสืบทอดบัลลังก์

[แก้]

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเปโดรเกิดวิกฤตการสืบทอดบัลลังก์ขึ้นระหว่างเอ็นริเกแห่งตรัสตามารา พระอนุชาต่างมารดา กับจอห์นแห่งกอนต์ชาวอังกฤษ พระโอรสของพระปนัดดาของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ที่อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งกษัตริย์แห่งกัสติยาและเลออนจากการแต่งงานกับกอนสตันซา พระธิดาของพระเจ้าเปโดร เอ็นริเกใช้กำลังยึดบัลลังก์และเผชิญหน้ากับการเคลื่อนไหวทางทหารมากมายหลายครั้งของจอห์นแห่งกอนต์ที่ผนึกสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าฌูเอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส ทว่าการสู่รบของจอห์นไม่ประสบความสำเร็จ เอ็นริเกได้สถาปนาราชวงศ์ตรัสตามาราขึ้นมาเป็นราชวงศ์ใหม่ที่ปกครองกัสติยา

ราชวงศ์ตรัสตามารา

[แก้]
ตราประจำพระองค์ของกษัตริย์ในราชบัลลังก์กัสติยาในยุคของพระเจ้าฆวนที่ 2

เอ็นริเก เคานต์แห่งตรัสตามารากลายเป็นผู้ปกครองคนแรกของราชวงศ์ตรัสตามาราในชื่อพระเจ้าเอ็นริเกที่ 2 แห่งกัสติยา

วันที่ 27 กรฎาคม ค.ศ. 1350 เอ็นริเกได้แต่งงานกับฆวนนา มานูเอล ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาที่มีชีวิตรอดสองคน พระองค์ยังมีบุตรนอกสมรสอีกหลายคน เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1379 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าฆวนที่ 1 แห่งกัสติยาผู้เป็นพระโอรส วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1375 พระองค์ได้แต่งงานกับเลโอนอร์แห่งอารากอน ทั้งคู่มีพระโอรสที่มีชีวิตรอดสองคน เลโอนอร์สิ้นพระชนม์ในการคลอดบุตรในปี ค.ศ. 1282 พระเจ้าฆวนบุกโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1383 เพื่ออ้างสิทธิ์เป็นกษัตริย์ตามสิทธิ์ของพระมเหสีคนใหม่ เบียตริซแห่งโปรตุเกส แต่ทรงพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1390 ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน เมื่อพระเจ้าฆวนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1390 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อคือพระเจ้าเอ็นริเกที่ 3 แห่งกัสติยาผู้เป็นพระโอรสคนโต เฟร์นันโด พระโอรสคนที่สองได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งอารากอนในปี ค.ศ. 1412

พระเจ้าเอ็นริเกที่ 3 ได้ยุติข้อพิพาทที่ดำเนินมาอย่างยาวนานด้วยการอภิเษกสมรสกับแคทเธอรีนแห่งแลงคาสเตอร์ในปี ค.ศ. 1388 แคทเธอรีนเป็นบุตรสาวของกอนสตันซาแห่งกัสติยา พระธิดาคนโตของพระเจ้าเปโดรแห่งกัสติยากับมาริอา เด ปาตียา ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสามคน พระเจ้าเอ็นริเกสิ้นพระชนม์ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1406 ด้วยพระชนมายุเพียง 27 พรรษา ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อคือพระเจ้าฆวนที่ 2 พระโอรสเพียงคนเดียวที่มีพระชนมายุเพียง 1 พรรษา ในปี ค.ศ. 1418 พระเจ้าฆวนอภิเษกสมรสครั้งแรกกับมาริอาแห่งอารากอน ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่หนึ่ง ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสี่คน แต่มีเพียงอนาคตพระเจ้าเอ็นริเกที่ 4 เพียงคนเดียวที่มีชีวิตรอด มาริอาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1445 พระเจ้าฆวนอภิเษกสมรสใหม่กับอิซาเบลแห่งโปรตุเกส ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสองคน รัชสมัยของพระเจ้าฆวนเป็นรัชสมัยที่ยาวนาน และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1454 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าเอ็นริเกที่ 4 ผู้เป็นพระโอรสคนโต

พระเจ้าเอ็นริเกที่ 4 ได้แต่งงานกับบลังกาแห่งนาวาร์ในปี ค.ศ. 1440 แต่การแต่งงานยังคงไม่สมบูรณ์และถูกประกาศให้เป็นโมฆะในปี ค.ศ. 1453 พระองค์อภิเษกสมรสใหม่กับฌวนนาแห่งโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1455 ในปี ค.ศ. 1462 ฌวนนาให้กำเนิดพระธิดา ฆวนนา ลา เบลตราเนฆา แต่มีคนส่วนหนึ่งไม่มั่นใจว่าฆวนนาเป็นพระธิดาของพระเจ้าเอ็นริเก พระองค์มีพี่น้องต่างมารดาคืออัลฟอนโซกับอิซาเบล การทะเลาะวิวาทเรื่องฌวนนาก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองที่สุดท้ายอัลฟอนโซก็ถูกประกาศให้เป็นทายาทในบัลลังก์ แต่กลับสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1468 อิซาเบลจึงสวมต่อตำแหน่งของพระองค์ เมื่อพระเจ้าเอ็นริเกสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1474 ฆวนนามีโปรตุเกสหนุนหลัง (พระองค์อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอาฟงซูที่ 5 พระมาตุลาในปี ค.ศ. 1475) ส่วนอิซาเบลมีอารากอนหนุนหลัง อิซาเบลได้บัลลังก์และกลายเป็นพระราชินีอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา พระองค์ได้แต่งงานกับอนาคตพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนในปี ค.ศ. 1469 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาที่มีชีวิตรอดห้าคน การแต่งงานเป็นจุดเริ่มต้นของการแต่งงานกันระหว่างราชบัลลังก์กัสติยากับราชบัลลังก์อารากอน ในปี ค.ศ. 1492 ทั้งคู่พิชิตกรานาดา รัฐสุดท้ายของชาวมัวร์ได้ เป็นการยุติการปกครองของชาวมุสลิมในไอบีเรีย

หลังพระราชินีอิซาเบลสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1504 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือฆวนนา พระธิดาคนที่สอง เนื่องจากพระโอรสคนเดียวของพระราชินีอิซาเบลสิ้นพระชนม์ตอนพระชนมายุ 19 พรรษา ส่วนพระธิดาคนโตสิ้นพระชนม์ในการคลอดบุตรตอนพระชนมายุ 27 พรรษา

พระนาม ฉายานาม ความสัมพันธ์ เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
พระเจ้าเอ็นริเกที่ 2 ผู้เป็นบุตรนอกสมรส พระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11

พระอนุชาต่างมารดาของพระเจ้าเปโดร

23 มีนาคม ค.ศ. 1369 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1379 ทำสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1367–1369) กับพระเจ้าเปโดร
พระเจ้าฆวนที่ 1 พระโอรสของพระเจ้าเอ็นริเกที่ 2 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1379 9 ตุลาคม ค.ศ. 1390
พระเจ้าเอ็นริเกที่ 3 ผู้รวดร้าว พระโอรสของพระเจ้าฆวนที่ 1 9 ตุลาคม ค.ศ. 1390 25 ธันวาคม ค.ศ. 1406
พระเจ้าฆวนที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าเอ็นริเกที่ 3 25 ธันวาคม ค.ศ. 1406 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1454 มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือ
  1. แคทเธอรันแห่งแลงคาสเตอร์ (ค.ศ. 1406–1418)
  2. เฟร์นันโดแห่งอันเตเกรา (ค.ศ. 1406–1416)
พระเจ้าเอ็นริเกที่ 4 ผู้ไร้อำนาจ พระโอรสของพระเจ้าฆวนที่ 2 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1454 11 ธันวาคม ค.ศ. 1474 ทำสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1465–1468 อัลฟอนโซแห่งกัสติยา
พระราชินีอิซาเบลที่ 1 ผู้เป็นชาวคาทอลิก พระธิดาของพระเจ้าฆวนที่ 2

พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าเอ็นริเกที่ 4

11 ธันวาคม ค.ศ. 1474 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 หลังปกครองด้วยตนเองเป็นเวลาหนึ่งเดือน พระราชินีอิซาเบลปกครองร่วมกับเฟร์นันโด พระสวามีที่ปกครองกัสติยาตามสิทธิ์ของภรรยาในชื่อ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 ผู้เป็นชาวคาทอลิก พระสวามีของพระราชินีอิซาเบลที่ 1 15 มกราคม ค.ศ. 1475 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 เป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาตามสิทธิ์ของภรรยา

เป็นกษัตริย์แห่งอารากอน (ค.ศ. 1479–1516)

เป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1514–1516)

พระราชินีฆวนนา ผู้สติไม่ดี พระธิดาของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 กับพระราชินีอิซาเบลที่ 1 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 12 เมษายน ค.ศ. 1555 ปกครองในนามร่วมกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 พระสวามี (ค.ศ. 1504–1506)

เป็นพระราชินีแห่งอารากอน (ค.ศ. 1516–1555)

เป็นพระราชินีแห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1515–1555)

ทรงถูกกักขังโดย

  1. ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน อาร์ชบิชอปซิสเนรอส (ค.ศ. 1506-1508)
  2. พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 พระบิดา (ค.ศ. 1508-1516)
  3. พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระโอรส (ค.ศ. 1516–1555)

ราชวงศ์ฮับสบวร์ก

[แก้]
ตราประจำพระองค์ของพระเจ้าเฟลิเปที่ 1

ฆวนนาเป็นราชินีเพียงในนาม ฟิลิป พระสวามีของพระองค์ครองอำนาจเป็นพระเจ้าเฟลิเป (ฟิลิป) ที่ 1 แห่งกัสติยา เมื่อพระเจ้าเฟลิเปสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1506 พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระบิดาของพระองค์ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชินีฆวนนากับพระเจ้าเฟลิเปมีพระโอรสธิดาด้วยกันหกคน เมื่อพระเจ้าเฟร์นันโดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1516 การ์โลส พระโอรสของทั้งคู่ถูกประกาศให้เป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาและอารากอนโดยมีอำนาจร่วมกับพระมารดา พระองค์ยังสืบทอดฮับสเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ต่อจากพระบิดา และทรงได้รับเลือกเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1519 ในชื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 5

จักรพรรดิคาร์ลอภิเษกสมรสกับอิซาเบลแห่งโปรตุเกส ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1526 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาที่มีชีวิตรอดสามคน อิซาเบลสิ้นพระชนม์ในการคลอดบุตรในปี ค.ศ. 1539 คาร์ลสละตำแหน่งผู้ปกครองดินแดนของชาวสเปนในเดือนมกราคม ค.ศ. 1556 ให้พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 พระโอรสคนเดียวของพระองค์ เดือนกันยายน ค.ศ. 1556 พระองค์สละตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ให้แฟร์ดินันด์ผู้เป็นพระอนุชา พระเจ้าเฟลิเปภิเษกสมรสสี่ครั้ง พระองค์แต่งงานครั้งแรกกับมาเรีย มานูเอลา เจ้าหญิงแห่งโปรตุเกสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องลำดับที่หนึ่ง มาเรียสิ้นพระชนม์หลังให้กำเนิดพระโอรสชื่อการ์โลสได้สี่วัน จากนั้นพระองค์อภิเษกสมรสกับพระราชินีแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ แต่ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน พระราชินีแมรีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1558 ในปี ค.ศ. 1559 พระองค์อภิเษกสมรสกับอลิซาเบธแห่งวาลัวส์ ทั้งคู่มีพระธิดาที่มีชีวิตรอดสองคน อลิซาเบธสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1568 ไม่นานหลังแท้งบุตร ในปี ค.ศ. 1570 พระองค์อภิเษกสมรสกับอานน์แห่งออสเตรีย พระธิดาของพระขนิษฐา ทั้งคู่มีพระโอรสที่มีชีวิตรอดหนึ่งคน คือ อนาคตพระเจ้าเฟลิเปที่ 3 แห่งสเปน พระเจ้าฟิลิปที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1598 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าฟิลิปที่ 3 พระโอรสเพียงคนเดียวที่มีชีวิตรอดซึ่งอภิเษกสมรสกับมาร์เกอริตแห่งออสเตรีย ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่หนึ่งที่ห่างกันหนึ่งขั้น ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันแปดคน แต่มีเพียงสี่คนที่มีชีวิตรอดจนถึงวัยผู้ใหญ่ มาร์เกอริตสิ้นพระชนม์ตอนพระชนมายุ 26 พรรษา ไม่นานหลังให้กำเนิดพระโอรส

พระเจ้าเฟลิเปที่ 3 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1621 ผู้สืบทอดตำแห่งต่อคือพระเจ้าเฟลิเปที่ 4 ผู้เป็นพระโอรส ในปี ค.ศ. 1615 พระองค์ได้แต่งงานกับอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาเจ็ดคน แต่มีเพียงพระธิดาคนเดียวที่มีชีวิตรอดจนถึงวัยผู้ใหญ่ อลิซาเบธสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1644 และในปี ค.ศ. 1649 พระเจ้าเฟลิเปอภิเษกสมรสใหม่กับมาเรียนาแห่งออสเตรีย พระธิดาของพระขนิษฐา ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันห้าคน แต่มีเพียงสองคนที่มีชีวิตรอดจนถึงวัยผู้ใหญ่ พระเจ้าการ์โลสที่ 2 พระโอรสเพียงคนเดียวของพระองค์คือผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระบิดาที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1661 พระเจ้าการ์โลสมีความบกพร่องทั้งทางจิตและทางร่างกายเนื่องจากมีการแต่งงานกันในสายเลือดเดียวกันมาหลายรุ่น พระองค์อภิเษกสมรสสองครั้ง ครั้งแรกกับมารี หลุยส์แห่งเออร์ลีย็องส์ที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1689 และครั้งที่สองกับมาเรีย อันนาแห่งนอยบวร์ก พระองค์ไม่มีพระโอรสธิดากับพระมเหสีทั้งสองคน

เมื่อพระเจ้าการ์ลอสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1700 สงครามสืบราชบัลลังก์สเปนก็อุบัติขึ้น เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ดินแดนถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นประเทศเดียวภายใต้ราชบัลลังก์สเปน โดยมีผู้ปกครองคือพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน พระปนัดดาของพระเจ้าเฟลิเปที่ 4 ผ่านทางพระธิดาจากการแต่งงานครั้งแรก

พระนาม ฉายานาม ความสัมพันธ์ เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 ผู้หล่อเหลา พระสวามีของพระราชินีฆวนนาที่ 1 26 พฤศจิกยน ค.ศ. 1504 25 กันยายน ค.ศ. 1506 เป็นกษัตริย์ตามสิทธิ์ของภรรยา ปกครองในนามของพระราชินีฆวนนาที่ 1 พระมเหสี
พระเจ้าการ์โลสที่ 1 ผู้เป็นจักรพรรดิ พระโอรสของพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 กับพระราชินีฆวนนาที่ 1 13 มีนาคม ค.ศ. 1516 16 มกราคม ค.ศ. 1556 ปกครองร่วมกับพระราชินีฆวนนา พระมารดาที่ถูกกักขังจนถึงปี ค.ศ. 1555

เป็นกษัตริย์แห่งอารากอน (ค.ศ. 1516–1555)

สละราชบัลลังให้พระโอรสในปี ค.ศ. 1556

สิ้นพระชนม์ 21 กันยายน ค.ศ. 1558

พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 ผู้สุขุม พระโอรสของพระเจ้าการ์ลอสที่ 1 16 มกราคม ค.ศ. 1556 13 กันยายน ค.ศ. 1598 กษัตริย์คนแรกที่ถูกขนานนามในตำแหน่ง กษัตริย์แห่งสเปน เป็นหลัก
พระเจ้าเฟลิเปที่ 3 ผู้ศรัทธา พระโอรสของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 13 กันยายน ค.ศ. 1598 31 มีนาคม ค.ศ. 1621
พระเจ้าเฟลิเปที่ 4 มหาราช พระโอรสของพระเจ้าเฟลิเปที่ 3 31 มีนาคม ค.ศ. 1621 17 กันยายน ค.ศ. 1665
พระเจ้าการ์โลสที่ 2 ผู้ต้องสาป พระโอรสของพระเจ้าเฟลิเปที่ 4 17 กันยายน ค.ศ. 1665 1 พฤศจิกายน ค.ศ.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "El Dialecto Leonés" (Menéndez Pidal, 1906)
  2. Muñoz Machado, Santiago (2002). The great processes of the history of Spain . Editorial Critica. p.40. ISBN 9788484323471 .
  3. by Francisco Olmos, José María; Novoa Portela, Feliciano (2008). History and evolution of the lead seal . Royal Matritense Academy of Heraldry and Genealogy. p.86. ISBN 9788488833044 .
  4. DAS (1797). Historical compendium of the Kings of Aragon from its first monarch until its union with Castile . Volume I. Madrid: Real Printing. OCLC 837784443, p. 238.
  5. Ortiz and Sanz, Joseph (1797). Chronological Compendium of the History of Spain: From the Most Remote Times, to Our Days . 4. Real Printing, p.221.
  6. VV.AA. (1862). General history of Spain and its Indies: from ancient times until today ... . 3. Spanish bookstore. p.629.).
  7. Manrique, Cayetano (1862). History of the legislation and recitations of the civil law of Spain . 3. National Printing. p.170.
  8. Cortés Martínez, Inmaculada (2006). Ibn Khaldun The Mediterranean in the fourteenth century: rise and decline of the empires. The Iberian Peninsula. The Mediterranean environment . The Andalusian legacy Foundation. p.83. ISBN 9788496395237 .
  9. Cortés Martínez, Inmaculada (2006). Ibn Khaldun The Mediterranean in the fourteenth century: rise and decline of the empires. The Iberian Peninsula. The Mediterranean environment . The Andalusian legacy Foundation. p.83. ISBN 9788496395237 .
  10. Fulgosio, Fernando (1869). Chronicle of the province of Valladolid . Blond. p.30.

ดูเพิ่ม

[แก้]