โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์
Triamudomsuksanomklao Uttaradit School
ข้อมูล
ชื่ออื่นต.อ.น.อ./ TUNU[1]
ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหวิทยา สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ กระทรวงศึกษาธิการ
คำขวัญบาลี: โย จ ธมฺเมน จรติ ปริปูเรติ ปารมี
(พึงสร้างความดีให้ถูกทาง การสร้างความดี เป็นการสร้างวาสนาบารมีแก่ตน)
สถาปนาพ.ศ. 2522; 45 ปีที่แล้ว (2522)
(โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา)
14 มีนาคม พ.ศ. 2551; 16 ปีก่อน (2551-03-14)
(โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์)
สีฟ้า - ชมพู
เพลงมาร์ชโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
ต้นไม้ชงโค - เฟื้องฟ้าชมพู
เว็บไซต์www.tunu.ac.th

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์ (เดิมชื่อ โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหวิทยา สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บนพื้นที่ราชพัสดุ

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์ เป็นโรงเรียนในเครือข่ายเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า แห่งที่ 7 เดิมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์ มีชื่อว่า โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา (ก่อตั้ง พ.ศ. 2522) [2] โดยคณะกรรมการบริหารโรงเรียน, คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า รวมทั้งคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ได้เห็นชอบให้โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์" เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 [3]

ปัจจุบัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์ อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 (ม.1 - 6) จำนวน 32 ห้องเรียน แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ภาษาและสังคมศาสตร์, เทคโนโลยีอุตสาหกรรม, การจัดการธุรกิจและพานิชกรรม จำนวนนักเรียน 1,175 คน และครูอาจารย์ 66 คน

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา[แก้]

โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 ตามประกาศของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้สร้างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ของนิคมลำน้ำน่านอุตรดิตถ์ กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งแต่เดิมใช้เป็นที่เพื่อการเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้านตำบลผาจุก สภาตำบลผาจุก และกรมประชาสงเคราะห์ ได้มอบที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน ครั้งแรก จำนวน 133 ไร่ และได้จัดสรรเพิ่มเติมจนในปัจจุบันมีแนื้อที่ทั้งหมด 154 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ตั้งอยู่ริมถนนสาย อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์ โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ประมาณ 16 กิโลเมตร ทำการเปิดสอนในระดับช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4 - ม.6) เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา[4]

โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรก ได้อาศัยสถานที่ของโรงเรียนวัดวังยาง ในปีการศึกษา 2522 โดยนายปลาย สอดจันทร์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดวังยาง ได้มอบอาคารเรียน 1 หลัง สำหรับจัดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยาคือ นายสมเด็จ โภชนจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งจากกรมสามัญศึกษาให้มาดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2522 อันเป็นปีแรกของการเปิดทำการเรียนการสอน

สัญลักษณ์โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา[แก้]

ตราสัญญลักษณ์โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา มีลักษณะเป็น รูปหลวงพ่อเพชร ประทับในพระแท่นศิลาอาสน์ ภายในแถบประดับมีคติพจน์โรงเรียนว่า สิกเขน ชายเต ปญฺญ แปลว่า ปัญญาเกิดเพราะการศึกษา

ความหมายของตราโรงเรียน เนื่องจากหลวงพ่อเพชร และพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นปูชนียวัตถุและปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นศูนยรวมน้ำใจและพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ผู้ประดิษฐ์ตราฯ จึงอัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน เพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนใจให้นักเรียนตระหนักถึงความรัก ความสามัคคี และผดุงเกียรติคุณงามความดี ของโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์[แก้]

นปี พ.ศ. 2551 โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา ได้เข้าร่วมเครือข่าย "โรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์" เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551[5]

หัวหน้าสถานศึกษา[แก้]

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. สมเด็จ โภชนจันทร์ พ.ศ. 2522 – 2535
2. สวรรค์ ทองศรีจันทร์ พ.ศ. 2535 – 2538
3. สูงศักดิ์ นาคหอม พ.ศ. 2539 – 2547
4. มนต์ชัย ปาณธูป พ.ศ. 2547 – 2554
5. ประมุข ธนวัฒน์ พ.ศ. 2555 – 2560
6. อรสา ทรงศรี พ.ศ. 2561 – 2563
7. วีระพันธุ์ ดอนท้วม พ.ศ. 2563 – 2565

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือราชการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ที่ ศธ ๐๔๐๑๕.๓๒/๐๑๘[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา เป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์" ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑[ลิงก์เสีย]
  3. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์.โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์ (7 มี.ค. 51)
  4. "ประวัติโรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2014-10-13.
  5. หนังสือราชการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ที่ ศธ ๐๔๐๑๕.๓๒/๐๑๘[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]