ข้ามไปเนื้อหา

โซฟี เมาดาลีเนอแห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซฟี เมาดาลีเนอแห่งเดนมาร์ก
พระบรมสาทิสลักษณ์ที่วาดขึ้นก่อนพระราชพิธีอภิเษกสมรสขณะที่มีพระชนมายุ 19 พรรษาในปี ค.ศ. 1765 โดย คาร์ล กุสตาฟ ปิโล
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
สถาปนา12 กุมภาพันธ์ 1771 – 29 มีนาคม 1792
ก่อนหน้าลูอีเซอ อุลรีเคอ
ถัดไปเฟรเดอริกา
พระราชสมภพ3 กรกฎาคม ค.ศ. 1746(1746-07-03)
โคเปนเฮเกน เดนมาร์กและนอร์เวย์
สวรรคต21 สิงหาคม ค.ศ. 1813(1813-08-21) (67 ปี)
โซลลา, สต็อกโฮล์ม, สวีเดน
ฝังพระศพริดดาร์โฮล์ม, สต็อกโฮล์ม, สวีเดน
พระราชสวามีพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน
พระราชโอรส2 พระองค์
พระนามเต็ม
โซเฟีย มักดาลีนา
พระสมัญญานาม
สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาแห่งสวีเดน
ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก
ฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อป (โดยการอภิเษกสมรส)
พระราชบิดาพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาหลุยส์แห่งบริเตนใหญ่

โซฟี เมาดาลีเนอแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน (เดนมาร์ก: Sophie Magdalene; สวีเดน: Sofia Magdalena) (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1746 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 1813) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน โดยเป็นพระมเหสีในพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน พระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเดนมาร์ก และเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก

ภูมิหลังและช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก ราวปี พ.ศ. 2308 ก่อนการอภิเษกสมรสหนึ่งปี

เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์กประสูติในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2289 ณ พระราชวังคริสเตียนบอร์ก โคเปนเฮเกน เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กกับพระมเหสีพระองค์แรก สมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเดนมาร์ก ใน พ.ศ. 2294 ขณะมีพระชนมายุ 5 พรรษา เจ้าหญิงทรงถูกหมั้นหมายกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สวีเดน คือ เจ้าชายกุสตาฟ และนำมาซึ่งการขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน การอภิเษกสมรสถูกจัดแจงโดยรัฐสภาไม่ใช่พระราชวงศ์สวีเดน และเจ้าหญิงทรงเป็นที่ชิงชังจากสมเด็จพระราชินีหลุยซา อัลริคาซึ่งทรงขัดแย้งกับรัฐสภามาเป็นเวลานานและทรงต้องการให้พระราชโอรสอภิเษกสมรสกับพระนัดดาของพระนางเองคือ มาร์เกรฟวีนฟิลิปพินส์แห่งบรันเดนบวร์ก-ชเวดท์ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2309 เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายกุสตาฟโดยผ่านตัวแทนที่พระราชวังคริสเตียนบอร์กในโคเปนเฮเกน และทั้งสองพระองค์ได้อภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการที่สต็อกโฮล์ม ในวันที่ 4 พฤศจิกายน

การเข้าสู่ราชสำนักสวีเดน

[แก้]

ในราชสำนักสวีเดน เจ้าหญิงทรงได้รับการต้อนรับด้วยความเมตตาจากสมเด็จพระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริคแห่งสวีเดน พระสัสสุระแต่สมเด็จพระราชินีหลุยซา อัลริคา พระสัสสุซึ่งทรงปกครองราชสำนัก พระนางทรงชิงชังเจ้าหญิงและแม้กระทั่งเจ้าชายกุสตาฟ พระสวามีก็ไม่สนพระทัยในเจ้าหญิง สมเด็จพระราชินีหลุยซา อัลริคาทรงพยายามโน้มน้าวให้พระราชโอรสห่างเหินกับพระสุณิสา ซึ่งเจ้าชายกุสตาฟทรงรังเกียจแม้แต่จะคิดถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์กับสตรีจนไม่ประสงค์แม้แต่จะลอง คนผู้หนึ่งในสมัยนั้นได้กล่าวว่า "เจ้าชายองค์นี้ไม่เคยแสดงความจงรักภักดีต่อหน้าแท่นบูชาวีนัส"[1]: 321  ใน พ.ศ. 2312 เมื่อศิลปินชาวสวีเดนเดินทางไปเยือนราชสำนักเดนมาร์กของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก พระเจ้าคริสเตียนตรัสถามเขาถึงพระพลานามัยของพระเชษฐภคินี ศิลปินผู้นั้นทูลตอบว่า "เจ้าหญิงทรงสุขสบายดีเท่าที่สตรีผู้สมรสมาเกือบสามปีแต่ยังบริสุทธิ์ผุดผ่องพึงรู้สึกพระเจ้าค่ะ"[1]: 85  เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาทรงได้รับการบรรยายว่าเป็นเจ้าหญิงที่ทรงพระสิริโฉม เจ้าหญิงทรงนำสินสมรสจำนวนมากมายังราชสำนักสวีเดนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2223 ที่ซึ่งเจ้าหญิงอัลริคา เอเลโอนอราแห่งเดนมาร์กได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 11 แห่งสวีเดน เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาทรงได้รับการศึกษาเพื่อทำหน้าที่พระราชินีที่ดี พระนางทรงได้รับการสรรเสริญมากแต่ไม่ทรงได้รับความนิยมอันเนื่องจากการที่ทรงได้รับการอบรมดูแลอย่างเข้มงวดทำให้เป็นการยากที่จะทรงปรับตัวให้เข้ากับราชสำนักสวีเดน โดยตามธรรมชาติ พระนางมีพระบุคลิกที่เยือกเย็นและถือพระองค์ หลังจากพระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริคแห่งสวีเดนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2314 เจ้าชายกุสตาฟได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน ในปีถัดมา เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาได้รับการสวมมงกุฎสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน

สมเด็จพระราชินี

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์อย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาแห่งสวีเดน วาดโดย ลอเรนซ์ พาสช์

สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนามีพระบุคลิกที่เคร่งเครียดและเขินอาย และไม่ทรงเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มคนวงในของกษัตริย์ พระนางและพระเจ้ากุสตาฟมีพระบุคลิกที่แตกต่างกันที่ซึ่งได้สร้างความเหินห่างของทั้งสองพระองค์ พระนางทรงประกอบพระราชกรณียกิจตามพิธีการแต่ไม่ทรงชอบวิถีชีวิตในราชสำนักที่หรูหราซึ่งล้อมรอบพระสวามีที่โปรดการเข้าสังคม เมื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจในฐานะของสมเด็จพระราชินี ดัสเชสเฮดวิก เอลิซาเบธ ชาร์ล็อตแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อปพระชายาในพระอนุชาของพระสวามี ได้ทรงบรรยายถึงพระราชินีว่าทรง "ถูกบังคับให้พบปะผู้คน" พระราชินีโปรดที่จะประทับที่ที่ประทับส่วนพระองค์คือ พระราชวังอัลริคส์ดัลเมื่อใดก็ตามที่ทรงเลี่ยงได้

ภาพวาดพระราชพิธีราชาภิเษกพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 และสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนา ในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2315 โดย คาร์ล กุสตาฟ ปิโล

ในพระอนุทินสำคัญของดัสเชสเฮดวิก เอลิซาเบธ ชาร์ล็อตแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อป ทรงบรรยายถึงพระราชินีว่า ทรงพระสิริโฉม, เยือกเย็น, เงียบและทะนง ทรงสุภาพมากและเป็นทางการ ทรงสงวนท่าทีและไม่โปรดการเข้าสังคม ในโอกาสที่เป็นทางการ พระนางทรงประพฤติพระองค์อย่างดีที่สุด พระนางทรงประพฤติปฏิบัติตามมารยาทของราชสำนักอย่างงดงามและทรงได้รับการพบเห็นในฐานะที่สง่างามและน่าประทับใจ พระราชินีมีพระสหายสนิท 2 คน คือ มาเรีย ออโรรา อุกกลาและบารอนเนส เวอร์จิเนีย ชาร์ล็อตตา ดูวอล แมนเดอร์สตอร์ม พระนางโปรดการประทับเพียงลำพังด้วยการใช้เวลาในที่ที่ประทับและเสวยอาหารเพียงพระองค์เดียว พระนางทรงทำพระเกศาอย่างเป็นทางการทุก ๆ สองสัปดาห์และโปรดการละครที่ซึ่งทรงร่วมชมการแสดงบ่อยครั้ง ระหว่างที่พระเจ้ากุสตาฟเสด็จเยือนอิตาลีในปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2327 พระนางเสด็จเสวยพระกระยาหารในสาธารณะอย่างเป็นทางการทุก ๆ สองสัปดาห์ นางสนองพระโอษฐ์ของพระนางเป็นสตรีชาวสวีเดนที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ ชาริทีสทั้งสาม คือ ออกุสตา ฟอน เฟอร์เซน, อุลลา ฟอน โฮ็ปเกนและโลวีซา เมเจอร์เฟลท์ และศิลปินได้แก่ มารีอานน์ เออห์เรนสตอร์มและชาร์ล็อตตา เซเดอร์ครูทซ์

สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ยกเว้นในครั้งหนึ่ง ช่วงระหว่างสงครามรัสเซีย-สวีเดน (1788 – 1790) ในปี พ.ศ. 2331 พระนางทรงริเริ่มเจรจาสงบศึกกับเดนมาร์ก ทรงเรียกตัวเอกอัครราชทูตเดนมาร์กมาเข้าเฝ้า ตรัสกับเขาและมีพระราชเสาวนีย์ให้เขานำพระราชหัตถเลขาของพระนางไปมอบแก่พระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก พระอนุชา ในช่วงสงครามรัสเซีย-สวีเดนนี้มีการบันทึกว่าพระราชินีทรงพบปะเชลยศึกชาวรัสเซียในสวนของพระราชวังฮากาและทรงประทานเงินแก่พวกเขาคนละ 100 โครน และมีการกล่าวว่าพระราชินีโปรดฉลองพระองค์แบบอังกฤษเนื่องจากทรงเห็นว่าฉลองพระองค์แบบฝรั่งเศสนั้นดูเปิดเผยมากเกินไป

วิกฤตการสืบราชบัลลังก์

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์ พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน, สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาและมกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟในฮากาปาร์เคน วาดโดยคอร์นีเลียส โฮยเยอร์ ราว พ.ศ. 2327 - พ.ศ. 2328

สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์สวีเดนด้วยข้อครหาที่เกี่ยวกับการสมรสที่สำเร็จบริบูรณ์และปัญหาพระโอรสนอกสมรสของพระนาง การอภิเษกสมรสของพระนางตามปกติเป็นการจัดเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งพระราชินีโซเฟัย มักดาลีนาในช่วงแรกทรงได้รับการบรรยายจากพระสวามีว่าทรง "เยือกเย็นอย่างน้ำแข็ง" การอภิเษกสมรสไม่สำเร็จบริบูรณ์จนกระทั่ง พ.ศ. 2318 เวลาเก้าปีหลังจากการอภิเษกสมรส ซึ่งกลายเป็นหัวข้อนินทาและการเย้ยหยันท่ามกลางบางราชสำนักของยุโรป ที่มีข่าวลือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพวกรักร่วมเพศหรือไร้สมรรถภาพทางเพศ กิจกรรมทางเพศของพระองค์ที่ซึ่งได้สร้างผลกระทบต่อพระชนม์ชีพของสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนา ในฐานะที่เป็นการสมรสกันในราชวงศ์เพื่อการผลิตทายาท และเหตุนี้ยังเป็นประเด็นถกเถียง หลายๆเอกสารได้บันทึกไว้ว่าระหว่างพระชนม์ชีพของพระเจ้ากุสตาฟได้รับการยืนยันว่าทรงเป็นพวกรักร่วมสองเพศ ประสบการณ์ทางเพศของพระเจ้ากุสตาฟทรงถูกกล่าวหาถึงการพัฒนาการไม่สมวัยหรือทรงเป็นพวกไร้เพศ ขณะทรงอยู่ในวัยฉกรรจ์ พระเจ้ากุสตาฟทรงหลงรักมารดาของแอ็กเซล ฟอน เฟอร์เซนคือ เฮดวิก คาทารีนา เดอ ลา การ์ดีและในปี พ.ศ. 2311 พระองค์ทรงมีความผูกพันทางอารมณ์อย่างลึกซึ้งกับหญิงสูงศักดิ์คือ ชาร์ล็อต ดู รีทซ์ ถึงแม้ว่าเรื่องเหล่านี้ไม่เป็นที่รู้จักถ้าเรื่องอื้อฉาวนี้สำเร็จบริบูรณ์ จากข้อมูลที่เชื่อถือได้ได้อธิบายว่าทั้งสมเด็จพระราชินีและพระมหากษัตริย์ทรงมีปัญหาร้ายแรงทางกายวิภาคเป็นผลให้เกิดการกระทำซึ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อีริค โลนนรอท นักประวัติศาสตร์ชาวสวีเดนได้สรุปว่า ไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงในข่าวลือของพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 ซึ่งทรงถูกโน้มเอียงไปทางรักร่วมเพศหรือรักร่วมสองเพศ หรือเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟไม่ใช่พระราชโอรสนอกสมรส[2]

การดำรง สถานะเดิม ระหว่างพระเจ้ากุสตาฟที่ 3กับพระมเหสีของพระองค์ได้ถูกเอาใจใส่โดยสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งไม่ทรงต้องการแข่งขันทางบทบาทเหนืออิทธิพลของพระราชโอรส สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาซึ่งทรงได้รับการเลี้ยงดูตามศาสนาและทรงมีบุคลิกที่เก็บพระองค์ได้ทำให้พระนางทรงหลีกเลี่ยงการแสดงความร่าเริงและประพฤติตามธรรมชาติในราชสำนักของพระเจ้ากุสตาฟ ที่ซึ่งทำให้พระนางทรงได้รับความสนพระทัยน้อยในทัศนะของพระสวามีซึ่งโปรดการเข้าสังคม

ใน พ.ศ. 2317 พระเจ้ากุสตาฟทรงจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าชายชาร์ลส์ พระอนุชากับดัสเชสเฮดวิก เอลิซาเบธ ชาร์ล็อตแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อปเพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อเวลาผ่านไปเกิดปัญหาเรื่ององค์รัชทายาทในราชบัลลังก์ทันที ดัสเชสเฮดวิก เอลิซาเบธ ชาร์ล็อตทรงล้มเหลวในการทรงพระครรภ์หลายครั้งและจบลงด้วยการแท้ง ที่ซึ่งสร้างความรีบเร่งแก่พระเจ้ากุสตาฟในการทำให้การสมรสสำเร็จบริบูรณ์ด้วยการผลิตองค์รัชทายาทของพระองค์ด้วยพระมเหสีของพระองค์เอง

ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนามีพระประสูติกาลเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟในฐานะองค์รัชทายาทในราชบัลลังก์ และใน พ.ศ. 2325 พระนางมีพระประสูติกาลพระโอรสพระองค์ที่สองคือ เจ้าชายคาร์ล กุสตาฟ ดยุกแห่งสมาแลนด์ ซึ่งมีพระชนม์ชีพในช่วงหนึ่งปีก็สิ้นพระชนม์ มีการแนะนำในบางวงว่าพระราชโอรสพระองค์แรกของพระเจ้ากุสตาฟมีบิดาที่แท้จริงคือใครบางคน เมื่อองค์รัชทายาทประสูติ บิดาของพระโอรสได้ถูกเชื่อโดยสมเด็จพระพันปีหลวง ว่าเป็นเคานท์อดอล์ฟ เฟรเดอริค มังค์ อัฟ ฟุลกิลา ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าทหารม้า ข่าวลือนี้ได้ถูกเชื่อโดยสาธารณะและราชสำนัก และการยอมรับเรื่องอื้อฉาวของสมเด็จพระพันปีหลวงได้นำไปสู่หนึ่งปีของความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระพันปีหลวงกับพระราชโอรส

เรื่องอื้อฉาวของการสืบราชสันตติวงศ์

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 ไม่ทราบชื่อผู้วาด
ภาพวาดล้อเลียน (จากซ้าย):สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนา, พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 และอดอล์ฟ เฟรเดอริค มังค์

ตามความเป็นจริงมังค์ได้เข้ามาในฐานะของครูผู้สอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศ เนื่องจากพระเจ้ากุสตาฟทรงได้รับการกล่าวขานว่าไม่ทรงมีประสบการณ์ในเรื่องเพศ[3][4] พระองค์ทรงเรียกมังค์เข้ามาเพื่อเป็นคนกลางในการปรองดองกับพระมเหสี และเพื่อแนะนำให้ทั้งสองพระองค์ทราบถึงวิธีการร่วมเพศ[4][5]และแสดงการทำให้พิธีอภิเษกสมรสเสร็จสมบูรณ์อย่างแท้จริง มังค์ซึ่งเป็นขุนนางเชื้อสายฟินแลนด์ในเวลานี้เขาได้มีความมั่นคงโดยเป็นคนรักของแอนนา โซเฟีย รามส์สตอร์ม นางสนองพระโอษฐ์ประจำองค์ราชินี[6]มังค์และแอนนา โซฟี รามส์สตอร์มได้ถูกย้ายเข้ามาอยู่ใกล้กับห้องบรรทม เพื่อเตรียมพร้อมตลอดเวลาในการทำตามพระราชประสงค์ และบางครั้งมังค์ได้ถูกเรียกเข้าไปในห้องบรรทม มังค์ได้ทำการบันทึกลงในจดหมายเหตุของเขาเองที่ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติสวีเดน ที่ซึ่งบันทึกว่าการจะทำให้สำเร็จ เขาต้องทำการสัมผัสทั้งสองพระองค์ทางกายด้วยเช่นกัน[4][5][7]

เมื่อกลายเป็นว่ามังค์ได้เข้าร่วมแผนการปรองดองของทั้งสองพระองค์ จึงได้เกิดเสียงเล่าลือไปว่า เขาเป็นบิดาของพระราชโอรสพระองค์แรกของสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนา[3]

เหตุนี้ได้กลายเป็นข้อกล่าวหาจากฝ่ายการเมืองตรงข้าม ช่วงยุคหลัง พ.ศ. 2329 และ พ.ศ. 2332[8]: 132 ที่ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกร้องเรียนทั่วประเทศที่มีการรับรู้เรื่องข่าวลือว่าพระมหากษัตริย์ทรงให้มังค์ทำให้พระราชินีทรงพระครรภ์[8]: 118 แผ่นภาพต่าง ๆ ได้ถูกแปะไว้ทุกหัวมุมถนนทั่วสต็อกโฮล์ม[8]: 143 

เหตุการณ์นี้ได้ถูกวาดภาพล้อเลียนโดยคาร์ล ออกุสต์ เออเรนสวัลด์ในจดหมายส่วนตัวซึ่งต่อมาได้ถูกค้นพบในภายหลัง ภาพวาดของเขาได้รับการเผยแพร่ใน พ.ศ. 2530 ที่ซึ่งเขาได้ผ่านเรื่องราวข่าวลือและตลกล้อเลียนพระเจ้ากุสตาฟที่ 3, พระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาและมังค์ โดยปราศจากการพิสูจน์ซึ่งเขาเชื่อว่าการกระทำของทั้งสองพระองค์และมังค์เป็นเรื่องจริง[9] ได้มีข่าวลือว่า พระมหากษัตริย์และพระราชินีทรงหย่าขาดจากกันอย่างลับ ๆ และพระราชินีทรงอภิเษกสมรสกับมังค์[9]

ไม่มีการพิสูจน์ว่ามังค์เป็นบิดาขององค์มกุฎราชกุมาร ทั้งที่พระมหากษัตริย์และพระราชินีทรงเคยถูกบรรยายว่าทรงสนพระทัยทางเพศอย่างมาก ศาสตราจารย์ลึนน์รอธได้แนะนำในเรื่องของปัญหาทางกายวิภาค ที่ซึ่งรับรู้กันไม่กี่คน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การผลิตทายาทได้อย่างช้า ในขณะที่ข่าวลือก็ยังคงมีอยู่เรื่อยไป อย่าไรก็ตามเมื่อทั้งสองพระองค์พระราชทานของกำนัลแก่มังค์โดย พระมหากษัตริย์ทรงเลื่อนขั้นให้เขา และพระราชินีพระราชทานนาฬิกาซึ่งมีพระสาทิสลักษณ์ของพระนาง, เงินและแหวนเพชรแก่เขา[10] บุคคลในวงการสังคมจำนวนน้อยที่เข้าเป็นกลุ่มเดียวกับสมเด็จพระพันปีหลวงโดยการสนับสนุนและกระจายข่าวลือ เช่น แอนนา ชาร์ล็อตตา ซโรเดอร์เฮล์มและอีวา เอเลนา โลเวน[11][12]

พระอนุชาของพระเจ้ากุสตาฟ คือ ดยุคชาร์ลส์ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 13 แห่งสวีเดน ซึ่งทรงต้องการครองราชบัลลังก์ ก็เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดข่าวลือนี้[3][8][ต้องการเลขหน้า][13][14] พระมารดาของพระองค์ได้มีการพูดถึงในระหว่างพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงพระครรภ์ ได้เกิดกระแสข่าวลือท่ามกลางสาธารณะเกี่ยวกับบุตรที่ต้องเป็นบุตรนอกกฎหมาย และพระนางเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงจ้างมังค์เพื่อทำให้พระราชินีทรงพระครรภ์ และพระนางจะไม่ยอมรับราชบัลลังก์ให้มาอยู่ในมือของ "ทายาทของขุนนางธรรมดาสามัญ"[14] [15]: 103–4  สมเด็จพระพันปีหลวงทรงให้ดยุคชาร์ลส์ไปซักถามมังค์ และพูดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงตกพระทัยมาก สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงถูกทำให้ตกพระทัยโดยข้อกล่าวหา พระนางทรงสาบานว่าพระนางจะไม่ตรัสสิ่งใด ๆ กับสมเด็จพระพันปีหลวงอีกเลย และพระนางก็ไม่ตรัสใด ๆ จริง

พระมหากษัตริย์ทรงขอให้พระราชมารดาทรงแสดงการขออภัยแก่สาธารณะสำหรับข้อกล่าวหาที่ยังคงเหลือเพียงเศษเสี้ยวของพระราชวงศ์ (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากและสร้างความแตกหักระหว่างพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 กับพระราชมารดา เรื่องอื้อฉาวนี้ได้ทำลายภาพอุบัติเหตุของการเฉลิมฉลองซึ่งได้เกิดขึ้นในงานเลี้ยงพระกระยาหารสาธารณะ ประชาชนได้ถูกเชิญไปร่วมพระราชพิธีเฉลิมฉลองการประสูติขององค์รัชทายาท แต่คนจำนวนมากได้เข้าร่วมและฝูงชนที่วุ่นวายและตื่นตกใจ ประชาชนจำนวนระหว่าง 60 ถึง 100 คนได้เหยียบกันตายในพระราชพิธี

ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2318 ถึง 2326 เป็นช่วงที่สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาอาจจะทรงมีความสุขที่สุด สัมพันธภาพระหว่างพระนางกับพระสวามีเป็นไปได้ด้วยดีและพระนางทรงได้รับความเคารพหลังจากทรงประกอบพระราชกรณียกิจของพระราชวงศ์ หลังจากพระราชโอรสพระองค์เล็กคือ เจ้าชายคาร์ล กุสตาฟ ดยุกแห่งสมาแลนด์สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2326 ชีวิตสมรสจึงได้ทรุดโทรมลง การปรองดองเพียงชั่วครู่ในปี พ.ศ. 2330 ได้ถูกเข้าใจโดยดัสเชสเฮดวิก เอลิซาเบธ ชาร์ล็อตซึ่งทรงบันทึกในพระอนุทินส่วนพระองค์บางครั้ง โดยไม่ทรงหวังว่าบันทึกจะสมบูรณ์หรือคงอยู่ต่อไป[15]: 191  ซึ่งทรงบันทึกว่า พระมหากษัตริย์ไม่ทรง "อ่อนไหวต่อเสน่ห์ของสตรี" เป็นนัยว่า พระองค์ทรงเป็นพวกรักร่วมเพศ

ใน พ.ศ. 2330 สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงฝากทรัพย์สินจำนวน 50,000 ริคส์ดาเลอร์ในบัญชีทรัพย์สินของมังค์ ที่ซึ่งเป็นเรื่องอื้อฉาวไปในวงกว้างโดยถือเป็นการ "ของขวัญอำลา"[16]: 156–7  ในจุดนี้ มังค์ได้มีความสัมพันธ์อื้อฉาวกับนักบัลเล่ต์ โจวันนา บาซซี ผู้ซึ่งสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงชิงชังอย่างเห็นได้ชัด[16]: 157  พระมหากษัตริย์ทรงหวั่นพระทัยเมื่อทรงทราบเรื่องที่พระราชินีทรงฝากพระราชทรัพย์ และพระองค์ทรงพยายามป้องกันไม่ให้เรื่องนี้แพร่กระจายสู่สาธารณะ อย่างไรก็ตามทรงทำไม่สำเร็จ[16]: 157 

บุตรของโจวันนา บาซซี เชื่อว่าเป็นบุตรของมังค์ด้วย เนื่องจากมีกำลังกายที่แข็งแรงเหมือนกับองค์มกุฎราชกุมาร[17]

สมเด็จพระพันปีหลวงและบั้นปลายพระชนม์ชีพ

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์พระนางโซเฟีย มักดาลีนาขณะทรงดำรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง วาดโดย นิคคลาส ลาเฟรนเซน ผู้บุตร

ใน พ.ศ. 2335 พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ กลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดมีเจตนาที่จะให้พระนางโซเฟีย มักดาลีนาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในระหว่างที่พระราชโอรสยังทรงพระเยาว์[18]: 443  พระนางทรงถูกทำให้เกรงกลัวผู้ทำการปลงพระชนม์พระสวามี แต่ก็กลายเป็นข้อครหาว่าพระนางไม่ทรงฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ขณะทรงประทับส่วนพระองค์แต่ทรงไว้ทุกข์เฉพาะพระราชพิธีเสด็จเป็นทางการเท่านั้น[18]: 442  มันกลายเป็นสิ่งที่ดีเนื่องจากทรงสามารถปลีกพระองค์ออกจากสาธารณะ พระเทวัน (น้องเขย)ของพระนาง ดยุคชาร์ลส์ได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระนางทรงหลบเลี่ยงบทบาททางการเมือง ในขณะที่ทรงตกพุ่มหม้าย สมเด็จพระพันปีหลวงโซเฟีย มักดาลีนาทรงดำรงพระชนม์ชีพเก็บพระองค์และทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อการกุศล

ใน พ.ศ. 2340 พระนางทรงยืนกรานที่จะเลี่ยงที่จะเสด็จรับพระสุณิสา คือ เจ้าหญิงเฟรเดอริกาแห่งบาเด็นในคราวที่เจ้าหญิงเสด็จมาถึง ซึ่งพระพันปีหลวงทรงจดจำถึงคราที่พระนางทรงต้องโดดเดี่ยวเมื่อการที่ต้องมาเป็นเจ้าสาวอย่างขมขื่นพระทัย ในระหว่างรัชกาลของพระราชโอรส พระนางแทบจะไม่แสดงพระองค์ในราชสำนักยกเว้นทุกวันอาทิตย์และการทูลเชิญของราชสำนัก และพระนางโปรดที่จะประทับแต่ในพระตำหนักส่วนพระองค์

ใน พ.ศ. 2352 พระนางทรงได้เป็นพยานในการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟ พระราชโอรส หลังจากสวีเดนต้องสูญเสียฟินแลนด์ให้แก่รัสเซีย พระนางทรงสะเทือนพระทัยมากจากการที่พระราชโอรสทรงถูกรัฐประหารยึดพระราชอำนาจ พระเจ้ากุสตาฟที่ 4 และพระราชินีเฟรเดอริกาทรงถูกเนรเทศและแทนที่ด้วยสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 13 แห่งสวีเดน พระเทวันของพระนาง แต่พระนางยังคงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับที่สวีเดนต่อไปจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2353 – 2354 พระนางทรงเป็นหนึ่งในพระราชวงศ์เพียงไม่กี่พระองค์ที่ทรงเป็นมิตรกับเดซีรี แคร์รี นายพลฌอง แบ็ฟติสท์ เบอร์นาด็อตต์ได้ระมัดระวังสมเด็จพระพันปีหลวงด้วยความคลางแคลงใจ แม้ว่าพระนางจะทรงได้รับการคุ้มครองโดยไม่ทรงต้องรับโทษฑัณฑ์ซึ่งพระนางไม่ทรงตำหนิเขาว่าทั้งเขาและบุตรชายของเขาได้ทำการแทนที่ตำแหน่งของพระราชโอรสและพระราชนัดดาของพระนาง และเหตุนี้เองทำให้เบอรืนาด็อตต์เต็มใจที่จะดำรงสถานะของพระนางไว้

ได้มีการกล่าวถึงพระนางว่า

พระนางทรงเป็นหนึ่งในบุคคลที่น่าเศร้าใจที่สุดและโดดเดี่ยวที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งราชวงศ์สวีเดน

สิ้นพระชนม์

[แก้]

สมเด็จพระพันปีหลวงโซเฟีย มักดาลีนาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2356 ณ พระราชวังอัลริคส์ดัล ประเทศสวีเดน สิริพระชนมายุ 67 พรรษา พระบรมศพถูกฝังที่โบสถ์ริดดาร์โฮลเม็น ทรงดำรงพระชนม์ชีพในราชสำนักสวีเดนมาเป็นเวลาถึง 4 รัชกาลคือ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริคแห่งสวีเดน, สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน, สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟแห่งสวีเดน และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 13 แห่งสวีเดน

วัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

เรื่องอื้อฉาวของการสมบูรณ์ของการอภิเษกสมรสนี้และเรื่องอื้อฉาวของการสืบราชสันตติวงศ์ได้ถูกนำมาสร้างในเอสวีทีในฐานะละครแนวประวัติศาสตร์เรื่อง "Gustav III:s äktenskap" (การอภิเษกสมรสของพระเจ้ากุสตาฟที่ 3) ในปี พ.ศ. 2544 ที่ซึ่งผู้ที่รับบทสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาคือ อิเบน ฮเจ็จเล นักแสดงสาวชาวเดนมาร์ก

เรื่องนี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่นิยายเรื่อง Drottningens juvelsmycke (มงกุฎราชินี) ซึ่งโด่งดังมากในสวีเดน ซึ่งเล่าเรื่องราวผ่านตัวละครหลักชื่อ ทินโทมารา พี่น้องต่างมารดาของพระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟโดยมีบิดาเดียวกันคือเคานท์มังค์

พระโอรส

[แก้]

พระนางโซเฟีย มักดาลีนามีพระโอรส 2 พระองค์ดังนี้

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
พระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟแห่งสวีเดน 17781 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2321
18377 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2380
อภิเษกสมรส วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2340 กับ
เจ้าหญิงเฟรเดอริกาแห่งบาเด็น
มีพระโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่
มกุฎราชกุมารกุสตาฟ เจ้าชายแห่งวาซา
เจ้าหญิงโซฟีแห่งสวีเดน
เจ้าชายคาร์ล กุสตาฟ แกรนด์ดยุกแห่งฟินแลนด์
เจ้าหญิงอเมเลียแห่งสวีเดน
เจ้าหญิงเซซิเลียแห่งสวีเดน (1807–1844)
เจ้าชายคาร์ล กุสตาฟ ดยุกแห่งสมาแลนด์ 178225 สิงหาคม
พ.ศ. 2325
178323 มีนาคม
พ.ศ. 2326
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์

พระอิศริยยศ

[แก้]
  • 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2289 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2309 : เจ้าหญิงโซฟี มักดาเลนแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2309 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2314 : มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน
  • 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2314 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2335 : สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
  • 29 มีนาคม พ.ศ. 2335 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2356 : สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งสวีเดน

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงชาร์ล็อต อเมลีแห่งเฮสส์-คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. กุสตาฟ อดอล์ฟ ดยุคแห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงแม็กดาเลน ซิบิลแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อป
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. จอร์จ อัลแบรชท์ มาร์เกรฟแห่งบรานเดนเบิร์ก-เบย์รอท-คลัมบาร์ช
 
 
 
 
 
 
 
10. คริสเตียน ไฮน์ริช มาร์เกรฟแห่งบรานเดนเบิร์ก-เบย์รอท-คลัมบาร์ช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. มารี เอลิซาเบธแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-วอนเดนเบิร์ก-กลึกบวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงโซฟี แม็กเดเลนแห่งบรานเดนเบิร์ก-คลัมบาร์ช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. อัลแบรชท์ ฟรีดริชแห่งโวล์ฟสไตน์
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงโซฟี คริสเทียเนแห่งโวล์ฟสไตน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. โซฟี หลุยส์แห่งคาสเทล-เรมลิงเง็น
 
 
 
 
 
 
 
1. โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. เออร์เนสต์ ออกุสตุส อิเล็กเตอร์แห่งบรันสวิค-ลุนด์เบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. จอร์จ วิลเลียม ดยุคแห่งบรันสวิค-ลุนด์เบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงโซฟี โดโรเทอาแห่งเซลเลอ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เอเลโอนอร์ เดสมิแยร์ เดอ โอบรูซ
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งบริเตนใหญ่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. อัลแบรชท์ที่ 5 แห่งบรานเดนเบิร์ก-อันสบาค
 
 
 
 
 
 
 
14. โยฮันน์ ฟรีดริช ดยุคแห่งบรันเด็นเบิร์ก-อันสบาค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. โซฟี มาร์กาเร็ตเธแห่งโอเอททินเจน
 
 
 
 
 
 
 
7. มาร์เกรฟวีนแคโรไลน์แห่งอันสบาค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. จอห์จ จอร์จที่ 1 ดยุคแห่งแซ็กซ์-ไอเซนนาช
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงเอเลนอร์ เอิร์ดมุทเทอแห่งแซ็กซ-ไอเซนนาค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. โจฮันเน็ตตาแห่งไซน์-วิทเกนสไตน์
 
 
 
 
 
 

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 John Brown (September 10, 2010) [1818]. Memoirs of the Courts of Sweden and Denmark during the Reigns of Christian VII of Denmark and Gustavus III and IV of Sweden. Vol. I. Kessinger Publishing. ISBN 978-1-164-92798-3.
  2. Lönnroth, Erik (1986). Den stora rollen. p. 61. ISBN 91-1-863652-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 Lagerquist, Lars O (1976). Sverige och dess regenter under 1000 år [Sweden and its regents during 1000 years] (ภาษาสวีเดน). AB Sporrong. p. 227. ISBN 91-0-075007-7.
  4. 4.0 4.1 4.2 Carlsson, Sten; Rosén, Jerker (1979). "Gustav III: en upplyst envåldshärskare" [Gustav III: an enlightened despot]. Den svenska historien [The history of Sweden] (ภาษาสวีเดน). Vol. 10. Stockholm: Albert Bonniers Förlag. p. 91. ISBN 978-91-0042-680-4.
  5. 5.0 5.1 Sten Carlsson; Jerker Rosén; Gunvor Grenholm; Jan Cornell (1968). Den svenska historien. Gustavianska tiden 1772–1809 [History of Sweden. The Gustavian Age 1772–1809] (ภาษาสวีเดน). Stockholm: Albert Bonniers Förlag. p. 95. OCLC 872623573.
  6. Stålberg, Wilhelmina; Berg, PG (1864). Anteckningar om svenska qvinnor [Notes on Swedish women] (ภาษาสวีเดน). Stockholm: PG Berg. p. 313. OCLC 464938482.
  7. Munck, Adolf (1960) [March 22, 1779]. ""Forsoningen" med drottningen". ใน Beth Hennings (บ.ก.). Ögonvittnen om Gustav III. OCLC 247504982.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Mattson, Annie (2010). Komediant och riksförrädare. Handskriftcirkulerande smädeskrifter mot Gustav III [Comedian and traitor. Handwritten libels against Gustav III] (ภาษาสวีเดน). Edita Västra Aros. ISBN 978-91-554-7780-6.
  9. 9.0 9.1 Christiensson, Jakob (2007). Signums svenska kulturhistoria. Gustavianska tiden [Signum's Swedish Culture history. The Gustavian Age] (ภาษาสวีเดน). Lund: Bokförlaget Signum. p. 432. ISBN 978-91-87896-84-2.
  10. Charlottas, Hedvig Elisabeth (1903) [1783–1788]. af Klercker, Cecilia (บ.ก.). Dagbok [The diaries of Hedvig Elizabeth Charlotte] (ภาษาสวีเดน). Vol. II. PA Norstedt & Söners förlag. OCLC 186130620.
  11. Grimberg, Carl (28 เมษายน 2021). Svenska Folkets underbara öden VII. Gustav III:s och Gustav IV Adolfs tid 1756–1792 [The wonderous destinys of the Swedish people. The age of Gustav III and Gustav IV Adolf] (ภาษาสวีเดน) (Nyutgava ed.). Arktos Media. p. 624. ISBN 978-1914208195.
  12. Norrhem, Svante (2007). Kvinnor vid maktens sida : 1632–1772 [Women by the side of power: 1632–1772] (ภาษาสวีเดน). Nordic Academic Press. p. 90. ISBN 978-91-89116-91-7.
  13. Charlottas, Hedvig Elisabeth (1903) [1775–1782]. af Klercker, Cecilia (บ.ก.). Dagbok [The diaries of Hedvig Elizabeth Charlotte] (ภาษาสวีเดน). Vol. I. PA Norstedt & Söners förlag. OCLC 256861184.
  14. 14.0 14.1 Andersson, Ingvar; Beijer, Agne; Kjellberg, Bertil; Lindorm, Bo (1979). Oscar Wieselgren (บ.ก.). Gustavianskt, En Bokfilm [Gustavian. A Book film] (ภาษาสวีเดน). Norwich: Fletcher & Son. pp. 156–7. ISBN 91-46-13373-9.
  15. 15.0 15.1 Charlottas, Hedvig Elisabeth (1902) [1775–1782]. Carlson Bonde, Carl (บ.ก.). Dagbok [The diaries of Hedvig Elizabeth Charlotte] (ภาษาสวีเดน). Vol. I. PA Norstedt & Söners förlag. OCLC 186130614.
  16. 16.0 16.1 16.2 Charlottas, Hedvig Elisabeth (1903) [1783–1788]. Carlson Bonde, Carl (บ.ก.). Dagbok [The diaries of Hedvig Elizabeth Charlotte] (ภาษาสวีเดน). Vol. II. PA Norstedt & Söners förlag. OCLC 186130620.
  17. Österberg, Carin; Lewenhaupt, Inga; Wahlberg, Anna Greta (1990). Svenska kvinnor: föregångare, nyskapare [Swedish women: Predecessors, pioneers] (ภาษาสวีเดน). Lund: Signum. p. 31. ISBN 91-87896-03-6.
  18. 18.0 18.1 Charlottas, Hedvig Elisabeth (1907) [1789–1792]. af Klercker, Cecilia (บ.ก.). Dagbok [The diaries of Hedvig Elizabeth Charlotte] (ภาษาสวีเดน). Vol. III. Stockholm: PA Norstedt & Söners förlag. OCLC 256861538.

อ้างอิง

[แก้]


ก่อนหน้า โซฟี เมาดาลีเนอแห่งเดนมาร์ก ถัดไป
เจ้าหญิงหลุยซา อัลริคาแห่งปรัสเซีย
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
(ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อป)

(12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2314 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2335)
เจ้าหญิงเฟรเดอริกาแห่งบาเด็น