โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันโลกและอวกาศโอลิมปิก (อังกฤษ: International Earth Science Olympiad; ตัวย่อ: IESO) เป็นสาขาหนึ่งในสิบสองสาขาของโอลิมปิกวิชาการ เป็นการแข่งขันประจำปีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เพื่อทดสอบความสามารถในสาขาวิชาธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และดาราศาสตร์ เริ่มมีการจัดการแข่งขันครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองแดกู ประเทศเกาหลีใต้

ประวัติ[แก้]

การแข่งขันได้แนวคิดมาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2546 สมาคมวิทยาศาสตร์กายภาพของเกาหลีใต้ (KESS) จึงได้เริ่มจัดการแข่งขันโลกและอวกาศโอลิมปิกระดับชาติของประเทศเกาหลีเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นจึงเกิดการแข่งขันระดับนานาชาติขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2547 ที่โซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ ได้มีตัวแทนประเทศจาก 10 ประเทศมาช่วยกันร่างหลักสูตรของการแข่งขัน และจัดตั้งคณะกรรมการโดยได้เลือกประธาน คือ นายแช มู ซอง มาดำรงตำแหน่งเป็นประธาน หลังจากนั้นก็ได้เริ่มการแข่งขันระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ที่เมืองแดกู ประเทศเกาหลีใต้

การแข่งขัน[แก้]

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยสำหรับภาคทฤษฎี จะเป็นข้อสอบแบบอัตนัย ซึ่งจะมีคำถามเกี่ยวกับธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และดาราศาสตร์ ซึ่งมีเวลาในการทำข้อสอบทั้งหมดรวมไม่เกิน 6 ชั่วโมง สำหรับในภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะเป็นการทดลอง หรือการเก็บผลการทดลองภาคสนาม ซึ่งต้องทำให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด ผู้เข้าแข่งขันสามารถนำเครื่องคิดเลขที่ไม่สามารถเขียนโปรแกรม ไปใช้ในเวลาแข่งขันได้ โดยจะแข่งขันเป็นรายบุคคลทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการ

การเข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกของประเทศไทย[แก้]

ประเทศไทยได้เริ่มส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 4 คน เข้าร่วมการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 ณ ประเทศไต้หวัน ซึ่งนับเป็นการจัดการแข่งขันครั้งที่ 3 โดยมีอาจารย์คุมทีม คือ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย นาคะผดุงรัตน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าทีม และรองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมโชค จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นรองหัวหน้าทีม นักเรียนไทยได้รับรางวัล 3 คน คือ 1 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง หลังจากนั้น ประเทศไทยได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน[1]

โครงการวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกในประเทศไทย[แก้]

การจัดการแข่งขันเพื่อหาตัวแทนประเทศไทยเพื่อแข่งขันในระดับนานาชาติ มีชื่อเรียกว่า "การจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Earth Science Olympiad : TESO)"

รับผิดชอบโดยหน่วยงานหลัก 2 หน่วยงานดังนี้

สถานที่จัดการแข่งขัน[แก้]

ครั้งที่ เมืองที่จัดการแข่งขัน ประเทศเจ้าภาพ วันที่จัดการแข่งขัน
1 แดกู (Daegu) เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (South Korea) 7-15 ตุลาคม 2550
2 มะนิลา (Manila) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (Philippines) 31 สิงหาคม-8 กันยายน 2551
3 ไทเป (Taipei) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน (Taiwan) 14-22 กันยายน 2552
4 ยอคจาการ์ตา (Yogyakarta) อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (Indonesia) 19-27 กันยายน 2553
5 โมเดอนา (Modena) อิตาลี อิตาลี (Italy) 5-14 กันยายน 2554
6 โอลาวาร์เรีย (Olavarria) อาร์เจนตินา อาร์เจนตินา (Argentina) 8-12 ตุลาคม 2555
7 มายซอร์ (Mysore) อินเดีย อินเดีย (India) 11-19 กันยายน 2556
8 ซานทานแดร์ (Santander) สเปน สเปน (Spain) 22-29 กันยายน 2557
9 โปรคอส เดอร์ คาลตัส (Poços de Caldas) บราซิล บราซิล (Brazil) 13-20 กันยายน 2558
10 - ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (Japan) 2559
15 อาออสตา (Valle d’Aosta) [ในรูปแบบออนไลน์] อิตาลี อิตาลี (Italy) 25-31 สิงหาคม 2565

ผลการแข่งขันของผู้แทนประเทศไทย[แก้]

ครั้งที่ ประเทศเจ้าภาพ อันดับที่ เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง เกียรติคุณประกาศ รางวัลพิเศษ
1 ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ - - - - -
2 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ - - - - -
3 ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน - 0 1 2 1
4 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย - 0 3 1 0
5 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี - 1 3 0 0 คะแนนสูงสุดดาราศาสตร์
6 ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา - 0 2 2 0
7 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย - 1 3 0 0 คะแนนรวมสูงสุด
8 ธงของประเทศสเปน สเปน 2 2 2 0 0 คะแนนสูงสุด Paper 1
9 ธงของประเทศบราซิล บราซิล - 1 0 3 0 คะแนนสูงสุดภาคทฤษฎี
14 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 1 2 1 0
15 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี - 0 1 2 0
รวม TOTAL - 6 17 11 1

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. https://www.posn.or.th/projects/ess