ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนอินทร์บุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนอินทร์บุรี
In-Buri School
ที่ตั้ง
แผนที่
109 ซอยหอพระ ถนนเทพสุทธิโมลี หมู่ 1 ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ไทย ประเทศไทย 16110
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.บ./I.B.
ประเภทรัฐบาล -โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญมั่นคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา รู้หน้าที่ มีน้ำใจ
สุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดี คือ ผู้เจริญ)
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระเทพสุทธิโมลี
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1006170601 (ใหม่)
06170601 (เก่า)
ผู้อำนวยการนายวิทยา สีหบุตร
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย แบบสหศึกษา
จำนวนนักเรียน1,768 คน
สี  เขียว
 เหลือง
เว็บไซต์[1]
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ราชพฤษ์

โรงเรียนอินทร์บุรี (In-Buri School) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 เป็นโรงเรียนประจำอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2495 ภายใน วัดโบสถ์ (พระอารามหลวง) ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ก่อนที่จะย้ายมาตั้งอยู่ ฝั่งตรงข้าม ณ บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 1 ถนนเทพสุทธิโมลี ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในปัจจุบัน

โรงเรียนอินทร์บุรี เป็นโรงเรียนสหศึกษา เป็นสถานศึกษาประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีนักเรียนประมาณ 1,768 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาประมาณ 80 คน

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนอินทร์บุรี ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2495 โดย พระเทพสุทธิโมลี (ผึ่ง บัวสรวง) เจ้าคณะจังหวัด สิงห์บุรี-อุทัยธานี (ธรรมยุต) ในปีแรกอาคารเรียนยังไม่มี ต้องขออาศัยโรงเรียนวัดโบสถ์ เป็นสถานที่เรียนและทำงานของครู โดยเปิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 36 คน เป็นชาย 31 คน เป็นหญิง 5 คน ครู 2 คน คือ นายยงยุทธ โคตมะ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และ นายอิสระ ธรรมานุกูล

วันที่ 26 มิถุนายน 2508 ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการมา เป็นประธาน ในการเปิดและให้ชื่ออาคารว่า "ตึกสิงหบุรจารย์อนุสรณ์" เป็นอาคารทรงไทยประยุคก์ ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและขออนุญาตใช้เป็นที่ทำการของสาขา หอสมุดแห่งชาติ อินทร์บุรี เพราะ โรงเรียนเลิกใช้ เนื่องจากสภาพทรุดโทรมมาก ส่วนอาคารหลังที่ 2 ชื่ออาคารว่า "สงวน-ต่อจรัส" เป็นส่วนหนึ่งของอาคารเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดโบสถ์

พ.ศ. 2529 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 (ม.1) จำนวน 10 ห้อง ชั้นมัธยมปีที่ 4 (ม.4) จำนวน 8 ห้อง แบ่งแผนชั้นเรียนเป็น 10-10-10/8-8-8 มีนักเรียน 2,357 คน ครู 114 คน

พ.ศ. 2538 กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้โรงเรียนเปิดสอนวิชาชีพ หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีครู-อาจารย์ จำนวน 101 คน เปิดสอนในระดับชั้น ม.1-ม.6 แบ่งแผนชั้นเรียนเป็น 10-10-10/8-8-8 รวม 54 ห้อง นักเรียน 2,377 คน เป็นนักเรียนชาย 1,077 คน นักเรียนหญิง 1,300 คน นักการภารโรง 14 คน ยาม 2 คน

พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภท โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่

ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 109 หมู่ 1 ถนนเทพสุทธิโมลี ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี บนที่ดินของวัดโบส์ถ (พระอารามหลวง) จำนวน 45 ไร่ 2 งาน โรงเรียนมีครู-อาจารย์ จำนวน 83 คน เปิดสอนในระดับชั้น ม.1-ม.6 แบ่งแผนชั้นเรียนเป็น 7-7-7/7-6-5 รวม 39 ห้อง นักเรียน 1,768 คน เป็นนักเรียนชาย 807 คน นักเรียนหญิง 961 คน นักการภารโรง 11 คน ยาม 2 คน

สัญลักษณ์ของโรงเรียน

[แก้]
รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ปรัชญาโรงเรียน

[แก้]

มั่นคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา รู้หน้าที่ มีน้ำใจ

คติพจน์โรงเรียน

[แก้]

สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดี คือ ผู้เจริญ

อาคารสถานที่

[แก้]

โรงเรียนอินทร์บุรี มีอาคารเรียนหลัก 4 หลัง และอาคารประกอบอื่น ๆ อีก 10 หลัง คือ

  • อาคารเทพสุทธิโมลี 1 เป็นอาคาร 3 ชั้น 18 ห้องเรียน
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • อาคารเทพสุทธิโมลี 2 เป็นอาคาร 3 ชั้น 24 ห้องเรียน
    • ห้องผู้อำนวยการ
    • ฝ่ายอำนวยการ
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
    • คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์
  • อาคารเทพสุทธิโมลี 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น 24 ห้องเรียน
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    • ห้องฟิสิกส์
    • ห้องเคมี
    • ห้องชีววิทยา
    • ห้องวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ
    • ห้องวิทยาศาสตร์ ม.1/2-ม.1/7
    • ห้องวิทยาศาสตร์ ม.2/2-ม.2/7
    • ห้องวิทยาศาสตร์ ม.3/2-ม.3/7
    • ห้องธรณีวิทยา
    • ห้องโสตทัศนศึกษา
    • ห้องดนตรีโยธวาธิต
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคาร 2 ชั้น
    • ชั้น 1 เป็นห้องเรียนงานห้องสมุด และหอสมุดกลาง
    • ชั้น 2 หอสมุดกลาง
  • อาคารอุตสาหกรรม-ศิลป์ เป็นอาคาร 2 ชั้น 6 ห้องเรียน
    • ห้องเขียนแบบ 511,512,513
    • ห้องเรียนสายอุตสาหกรรม 521,522,523
  • อาคารเนกประสงค์ ขนาดความจุ 1,500 คน
  • อาคารเรียนชั่วคราว 1 ขนาด 12 ห้องเรียน
    • กลุ่มศาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • อาคารเรียนชั่วคราว 2 ขนาด 12 ห้องเรียน
  • อาคารเทเบิลเทนนิส
  • โรงฝึกงานเกษตรกรรม
  • โรงฝึกงานคหกรรม
  • โรงฝึกงานเครื่องปั้นดินเผา
  • โรงอาหาร ขนาดความจุ 1,800 คน

ดูเพิ่ม

[แก้]