สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี | ||
---|---|---|---|
ฉายา | ช้างป่าห้วยขาแข้ง | ||
ชื่อย่อ | UTFC | ||
ก่อตั้ง | 2010 2019 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี | , ในชื่ออุทัยธานี ฟอเรสท์ เอฟซี ||
สนาม | สนามกีฬากลางจังหวัดอุทัยธานี | ||
ความจุ | 4,477 | ||
เจ้าของ | บริษัท ฟุตบอลอุทัยธานีฟอเรสท์ จำกัด | ||
ประธาน | ชาดา ไทยเศรษฐ์ | ||
ผู้จัดการ | วรากรณ์ บีโอนดี | ||
ผู้ฝึกสอน | มีลอช ยอกซิช | ||
ลีก | ไทยลีก | ||
2566–67 | อันดับที่ 7 | ||
|
สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี โดยได้มีการเปลี่ยนชื่อมาจากแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ใน พ.ศ. 2562 ตามการตัดสินใจของเจ้าของสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซยูไนเต็ดในการเปลี่ยนชื่อสโมสรและย้ายไปอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี[1][2] ปัจจุบันลงเล่นในไทยลีก
ประวัติสโมสร
[แก้]อุทัยธานี เอฟซี
[แก้]สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี ฟอเรสท์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2010 โดยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ นักการเมืองชื่อดังของ จังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานสโมสร และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โซนภาคเหนือ ในฤดูกาล 2553 จนถึงฤดูกาล 2557 ก็ไม่ได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในฤดูกาล 2558 และกลับมาแข่งขันอีกครั้งในฤดูกาล 2559 พร้อมกับย้ายมาอยู่โซนกรุงเทพและปริมณฑลแต่แข่งขันได้ฤดูกาลเดียวก็ประกาศพักทีมซึ่งเทียบเท่ากับเป็นการยุบทีมไปโดยปริยาย
สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี
[แก้]เมื่อจบฤดูกาล 2562 ทาง สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ได้ขายสิทธิ์การทำทีมให้กับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี พร้อมกับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ของสโมสรเป็น ช้างป่าห้วยขาแข้ง และย้ายสนามเหย้ามาอยู่ที่ สนามกีฬากลางจังหวัดอุทัยธานี
เกียรติประวัติ
[แก้]ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | ประตู | |||
2563–64 | ไทยลีก 2 | 34 | 5 | 10 | 19 | 34 | 53 | 25 | อันดับที่ 17 | รอบคัดเลือก | งดจัดการแข่งขัน | ภัทรพล จันทร์สุวรรณ | 6 |
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ |
22 | 18 | 2 | 2 | 63 | 11 | 56 | อันดับที่ 1 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รีการ์ดู ซังตุส | 30 |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน | 5 | 4 | 0 | 1 | 14 | 6 | 12 | อันดับที่ 1 | |||||
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 16 | 11 | 7 | 70 | 36 | 59 | อันดับที่ 3 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รีการ์ดู ซังตุส | 30 |
2566–67 | ไทยลีก | 30 | 9 | 8 | 13 | 39 | 55 | 35 | อันดับที่ 7 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รีการ์ดู ซังตุส | 16 |
2567–68 | ไทยลีก |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
สถิติของสโมสร
[แก้]- ชนะในลีกมากที่สุด — 8 ประตู
- วัดโบสถ์ ซิตี้ 0–8 อุทัยธานี (ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65)[3]
- แพ้ในลีกมากที่สุด — 4 ประตู
- อุทัยธานี 0–4 เชียงใหม่ ยูไนเต็ด (ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64)[4]
- อุทัยธานี 1–5 การท่าเรือ (ไทยลีก ฤดูกาล 2566–67)
- บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 4–0 อุทัยธานี (ไทยลีก ฤดูกาล 2566–67)
- ชนะในฟุตบอลถ้วยมากที่สุด — เชียงราย ล้านนา 0–10 อุทัยธานี (รีโว่ ลีกคัพ 2564–65 รอบคัดเลือก)
ทีมงานสตาฟ
[แก้]ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธาน | ชาดา ไทยเศรษฐ์ |
ประธานสโมสร | ธนเสฏฐ์ อมรสินกิตติโชติ |
ผู้จัดการสโมสร | ธนาชัย ปั้นงาม |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มีลอช ยอกซิช |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | มาตู คอนเด |
โค้ชผู้รักษประตู | อูลริช มูนซ์ |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | ไคเก้ มุลเลอร์ |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนฟิตเนส | ฉัตรวิทย์ รุนตรัย |
ผู้ฝึกสอนนักกายภาพ | วีรยุทธ สุกุณี |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนักกายภาพ | กฤษดา กมุทเสน |
ผู้ประสานงาน | พงษ์อนันต์ บุญนาน |
ผู้จัดการทีม | วรากรณ์ บีโอนดี |
ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน
[แก้]ชื่อและสัญชาติ | ช่วงปี | เกียรติประวัติ |
---|---|---|
ธนเสฏฐ์ อมรสินกิตติโชติ | พ.ศ. 2562 – 2563 | |
เทิดศักดิ์ ใจมั่น | พ.ศ. 2563 | |
มาซายูกิ มิอูระ | พ.ศ. 2563 – 2564 | |
วรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ | พ.ศ. 2564 | |
เทิดศักดิ์ ใจมั่น | พ.ศ. 2564 – 2565 | ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – โซนภาคเหนือ ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – โซนบน ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – รอบระดับประเทศ |
สมชาย มากมูล | พ.ศ. 2565 | |
ภัทรพล นาประเสริฐ | พ.ศ. 2565 – 2566 | อันดับที่ 3 ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565–66 (เลื่อนชั้น) |
จักรพันธ์ ปั่นปี | พ.ศ. 2566 | |
มิคาเอล สตาห์เร | พ.ศ. 2566 – 2567 | |
จักรพันธ์ ปั่นปี | พ.ศ. 2567 – สิงหาคม 2567 | |
มีลอช ยอกซิช | สิงหาคม 2567 – |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปิดตำนาน "แอร์ฟอร์ซ" เปลี่ยนชื่อเป็น "อุทัยธานี เอฟซี"". mgronline.com. 25 December 2019.
- ↑ "ปิดตำนานแอร์ฟอร์ซฯ สิ้นสุด 73 ปีบนวงการลูกหนัง". tnnthailand.com. October 2019.
- ↑ ' สนุกสุดๆ' สิงห์เจ้าท่าบุกเจ๊าเขี้ยวสมุทร - ช้างป่าอุทัยแทงวัดโบสถ์ 8-0
- ↑ "สรุปผลไทยลีก 2 เชียงใหม่ ยู-หนองบัว แรงไม่หยุด รั้งจ่าฝูงร่วม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-18. สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.