ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอหนองขาหย่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอหนองขาหย่าง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nong Khayang
คำขวัญ: 
ยุคทวารวดีบ้านคูเมือง ผ้าทอฟูเฟื่องบ้านห้วยรอบ
เพลงพื้นบ้านชื่นชอบบ้านท่าโพ
สัญลักษณ์อักโขกะโซ้หนองขาหย่าง
แผนที่จังหวัดอุทัยธานี เน้นอำเภอหนองขาหย่าง
แผนที่จังหวัดอุทัยธานี เน้นอำเภอหนองขาหย่าง
พิกัด: 15°21′51″N 99°55′45″E / 15.36417°N 99.92917°E / 15.36417; 99.92917
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุทัยธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด221.958 ตร.กม. (85.698 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด15,849 คน
 • ความหนาแน่น71.40 คน/ตร.กม. (184.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 61130
รหัสภูมิศาสตร์6105
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหนองขาหย่าง เลขที่ 25 หมู่ที่ 2 ถนนอุทัยธานี-หนองฉาง ตำบลหนองขาหย่าง อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 61130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองขาหย่าง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานี

ประวัติ

[แก้]

อำเภอหนองขาหย่าง เป็นเขตปกครองท้องที่ในปีพุทธศักราช 2440 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า แขวงหนองพลวง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของที่ตั้งอำเภอปัจจุบันประมาณ 1 กิโลเมตร มีหลวงทิพย์โพธิ์ เป็นนายอำเภอคนแรกปี 2462 พระยาสัจจาภิรมย์ภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัด และรองอำมาตย์เอกหลวงธัญผลพิทักษ์ นายอำเภอคนที่ 3 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาไว้ที่ตั้งปัจจุบัน เพราะที่เดิมเป็นที่ลุ่มและมีบริเวณคับแคบ ห่างไกลชุมชน การก่อสร้างที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่เสร็จสิ้นลงในเดีอนมกราคม 2460 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 1 เดีอนเศษ โดยอาศัยแรงงานจากประชาชนและเปลี่ยนชี่อใหม่ว่าอำเภอหนองขาหย่าง

คำว่า "หนองขาหย่าง" มาจากในพื้นที่มีหนองน้ำมาก ประชาชนได้ตั้งเครื่องมือใช้สำหรับวิดน้ำ คือ "ขาหยั่ง" เป็นไม้ 3 ขาผูกติดกัน มีตัวกระโซ้สานด้วยไม้ไผ่ผูกติดกับไม้เป็นด้ามมีเชือกผูกติดไม้สามขา ห้อยลงมาอยู่ระหว่างไม้สามขาใช้ในการวิดน้ำ เมื่อเลิกใช้จะเก็บกระโซ้ไว้ เหลือแต่ไม้สามขาทิ้งไว้ตามหนองน้ำทั่วไป จึงเรียกชื่อว่า "หนองขาหยั่ง" และต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "หนองขาหย่าง" ในปัจจุบัน[1]

  • วันที่ 24 กันยายน 2442 ตั้งนายอำเภอคนแรก ประจำอำเภอหนองพลวง[2] แขวงเมืองอุทัยธานี มณฑลนครสวรรค์
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2448 ย้ายนายอำเภอหนองกระดี่ (อำเภอทัพทัน) ให้มาเป็นนายอำเภอหนองพลวง[3] ที่ตำแหน่งยังว่างอยู่
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอหนองพลวง จังหวัดอุทัยธานี เป็น อำเภอหนองขาหย่าง[4]
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2464 มีฐานะเป็นอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี มณฑลนครสวรรค์ มีทั้งหมด 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองขาหย่าง ตำบลหนองไผ่ ตำบลห้วยรอบ ตำบลดอนกลอย ตำบลทุ่งพึ่ง ตำบลท่าโพ ตำบลดงขวาง ตำบลหลุมเข้า และตำบลหมกแถว[5]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2483 ยุบตำบลห้วยรอบ รวมกับท้องที่ตำบลดอนกลอย และยุบตำบลหมกแถว รวมกับท้องที่ตำบลท่าโพ
  • วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลห้วยรอบ แยกออกจากตำบลดอนกลอย และตั้งตำบลหมกแถว แยกออกจากตำบลท่าโพ[6]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองขาหย่าง ในท้องที่บางส่วนของหมู่ที่ 5 ตำบลหนองขาหย่าง[7]
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2511 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์หนองขาหย่าง[8] อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลหนองขาหย่าง เป็นเทศบาลตำบลหนองขาหย่าง[9] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลหมกแถว รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ และยุบสภาตำบลดอนกลอย รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาหย่าง[10]
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลตำบลทุ่งพึ่ง และสภาตำบลห้วยรอบ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาหย่าง[11]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอหนองขาหย่างมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอหนองขาหย่างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 53 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[12]
1. หนองขาหย่าง Nong Khayang
8
2,600
2. หนองไผ่ Nong Phai
9
2,430
3. ดอนกลอย Don Kloi
6
1,173
4. ห้วยรอบ Huai Rop
3
435
5. ทุ่งพึ่ง Thung Phueng
7
1,439
6. ท่าโพ Tha Pho
4
2,250
7. หมกแถว Mok Thaeo
3
799
8. หลุมเข้า Lum Khao
7
2,501
9. ดงขวาง Dong Khwang
6
2,222

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอหนองขาหย่างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลหนองขาหย่าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองขาหย่าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาหย่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนกลอย ตำบลห้วยรอบ และตำบลทุ่งพึ่งทั้งตำบล รวมทั้งตำบลหนองขาหย่าง (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองขาหย่าง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าโพและตำบลหมกแถวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมเข้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลุมเข้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงขวางทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1] เก็บถาวร 2020-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติความเป็นมาอำเภอหนองขาหย่าง
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ประกาศการตั้งนายอำเภอตำบลหนองพลวง แขวงเมืองอุไทยธานีที่ว่างอยู่]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (26): 382–383. September 24, 1899.
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ย้ายขุนบำรุงอุไทยสถานนายอำเภอหนองกระดี่ เป็นนายอำเภอหนองพลวง ให้หลวงศรีราชยศพธำมรง เมืองอุทัยธานี เป็นนายอำเภอหนองกระดี่]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (11): 219. June 11, 1905.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-26.
  5. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. February 26, 1921.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. September 30, 1947.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองขาหย่าง อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 98-99. November 28, 1956.
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขปากเกร็ด, หนองขาหย่าง, กมลาไสย, และขนอม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (74 ง): 2590. August 11, 1968.
  9. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-26.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). July 1, 2004: 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). September 24, 2004: 1–2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  12. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.