สุรเชชษฐ์ หักพาล
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
สุรเชชษฐ์ หักพาล | |
---|---|
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (1 ปี 319 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สราวุฒิ การพานิช ธนา ชูวงศ์ (พ.ศ. 2566–2567) รอย อิงคไพโรจน์ กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ (พ.ศ. 2565-2567) ชินภัทร สารสิน ต่อศักดิ์ สุขวิมล (พ.ศ. 2565–2566) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สุรเชษฐ์ หักพาล 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
คู่สมรส | ศิรินัดดา หักพาล |
บุพการี |
|
การศึกษา | มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[1] |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ประจำการ | พ.ศ. 2537 – 2562 พ.ศ. 2564 – 2567 |
ยศ | พลตํารวจเอก |
พลตํารวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล (ชื่อเกิด: สุรเชษฐ์ หักพาล; เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513) ชื่อเล่น โจ๊ก เป็นตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ด้านความมั่นคง) เคยช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี[2]
ประวัติ
[แก้]พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายดาบตำรวจ ไสว และนางสุมิตรา หักพาล สำเร็จการศึกษาในชั้นอนุบาล โรงเรียนกลับเพชรศึกษาซึ่งมารดาเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนนี้ สำเร็จการศึกษาในชั้นประถม โรงเรียนวิเชียรชม สำเร็จการศึกษาในชั้น มัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ และโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 31 ระดับชั้นปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 47 เป็นหัวหน้านักเรียนของนรต.รุ่น47 ระดับปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยสามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนได้เป็นอันดับ 1 และระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และระดับ ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล [1][3] ปัจจุบันกำลังศึกษา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคค่ำ (นอกเวลาราชการ) หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน นอกจากนี้
พล.ต.อ สุรเชชษฐ์ หักพาล ยังจบหลักสูตร และ รับมอบประกาศเกียรติบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 21 (ปปร.21) จาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี
ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 เขาได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสถาบันพระปกเกล้า จากชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาไทยในขณะนั้น ปัจจุบันสำเร็จการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร ว.ป.อ.ปีการศึกษา 2565
การทำงาน
[แก้]เริ่มต้นรับราชการตำรวจ
[แก้]ร.ต.ต. สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น เริ่มรับราชการตำรวจในตำแหน่งรองสารวัตร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จนได้รับการแต่งตั้งเลื่อนขั้นเป็นสารวัตรในกองวินัย ต่อมาเป็นสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 4 กองกำกับการ 5 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 2 กองกำกับการ 3 จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 จนได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[4] และเป็นผู้ช่วยนายเวรตำรวจราชสำนักประจำให้กับ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[5][6]
ระดับผู้กำกับการ
[แก้]หลังจากได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพันตำรวจเอก พันตำรวจเอก สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น ได้รับตำแหน่งผู้กำกับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่อำนวยการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[6] จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 จึงได้เป็นผู้กำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ได้เป็นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 10 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 ถูกส่งไปเป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา[6] และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการณ์ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาส่วนหน้า รับผิดชอบพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาที่เป็น 'พื้นที่สีแดง' เสี่ยงต่อภัยความไม่สงบบริเวณชายแดนภาคใต้[7]
ระดับผู้บังคับการและผู้บัญชาการ
[แก้]ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พันตำรวจเอก สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจตรี ในตำแหน่งผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[8][9]ทำหน้าที่ประสานงานกับนายกรัฐมนตรี รายงานต่อ พล.อ. ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสำนักงานตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น หลังจากนั้นทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557[6][7] จนในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว[10]จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ[11]จนกระทั่งวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 เข้ามาทำหน้าที่รักษาการรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว จนได้เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยวในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[12]จนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พลตำรวจตรี สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจโท และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง[13][14]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำสั่งย้าย
[แก้]ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมาย จนวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ขาดจากตำแหน่งหน้าที่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อโอนไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทนักบริหารระดับสูง ในตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี[5][6] และให้ถูกเพิ่มรายชื่อในบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558 เพื่อได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องด้วยมีมูลกรณี เมื่อถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ทำให้เสียหายแก่ทางราชการหรือทำให้ประชาชนเดือดร้อน[15]
ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563 รถยนต์ส่วนตัวของ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ถูกยิง ณ บริเวณถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กทม. โดยในขณะนั้น พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไม่ได้อยู่ภายในรถ[16] โดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ รวมถึงสื่อหลายแห่งได้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์นี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับกรณีที่ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับความผิดปกติในโครงการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจสอบและพิสูจน์อัตลักษณ์และโครงการจัดซื้อจัดจ้างรถตรวจการณ์ไฟฟ้าของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยกล่าวหาว่าบริษัทผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนด แต่ สตช. ตรวจรับงานไว้ก่อน ทำให้ผู้รับจ้างไม่ต้องเสียค่าปรับ[17][18][19] ในขณะอีกส่วนหนึ่งก็ตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเป็นการจัดฉากโดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์เอง[20]
ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้มีคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าคำสั่งนี้ออกมาเนื่องจากมีการร้องเรียน จึงต้องเตือนไว้ก่อน[21]
ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นหนังสือลากิจเพื่อขอบวชที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 9 วัน[22] และกลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2563[23]
ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เรื่องคำสั่งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม กรณีถูกย้ายจาก ผบช.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำสั่งในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีออก เนื่องจาก พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ขอให้พิจารณามีคำสั่งกลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการดังเดิม แต่ยังไม่พ้นกำหนด 90 วันนับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับหนังสือ จึงถือว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยังไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนตามที่ได้ยื่นฟ้องศาลไว้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี[24][25]
การกลับมาเป็นข้าราชการตำรวจ
[แก้]เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ หักพาล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจมีมติเห็นชอบให้รับโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา (สบ.9) เทียบเท่าผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564[26][27] เมื่อวันที่ 10 ก.ย.พ.ศ. 2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ จำนวน 273 ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ยกเว้นลำดับที่ 169 ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป โดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ หักพาล เลื่อนจาก ที่ปรึกษา (สบ 9) สตช. ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ขณะดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติใน วันที่ 6 ตุลาคม 2565 เขาลงพื้นที่พร้อมกับ พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ พลตำรวจโท สำราญ นวลมา เพื่อตรวจสอบเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565
คดีกำนันนก
[แก้]ช่วงปี พ.ศ. 2566 พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้ทำการสอบสวนคดี "กำนันนก" หรือ นายประวีณ จันทร์คล้าย ซึ่งเกิดเหตุเมื่อวันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ 2566 ที่ตำบลตาก้อง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม หลังจากที่ นายธนัญชัย หมั่นมาก หรือ หน่อง ท่าผา อายุ 45 ปี ผู้ก่อเหตุที่ทำการยิง พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว จำนวน 7 นัด ในขณะร่วมงานเลี้ยงที่บ้านของกำนันนก โดยช่วงแรก พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ อยู่ในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวน ก่อนที่ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ในขณะนั้น) ได้สั่งการให้โอนคดีความไปยังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนการ [28]
กรณีเว็บพนันออนไลน์และคำสั่งย้ายเข้าช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
[แก้]พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ได้เกิดความขัดแย้งกับ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สืบเนื่องจากเหตุที่ถูกเปิดโปงในกรณีที่ตำรวจชั้นผู้น้อยซึ่งเป็นกำลังพลของตน ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีเว็บพนันทางออนไลน์ ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 และยังมีการโยงมาถึง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีเว็บพนันออนไลน์ในเวลาต่อมา จึงทำให้กองกำลังตำรวจของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) เข้าบุกค้นที่พักอาศัยของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566 และเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ออกมาพูดถึงกรณีคดีเว็บพนันนออนไลน์อีกครั้งและเป็นการออกมาพูดเพื่อยืนยันถึงเส้นทางการเงินของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดีเว็บพนันออนไลน์จริง โดยเป็นฐานความผิดร่วมกันฟอกเงิน จนทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่าง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ และ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ในเวลาต่อมา พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ได้เข้ามาขอยุติความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย แต่เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2567 ทีมทนายความประจำตัวของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวออกมาเปิดโปงเกี่ยวกับการดำเนินคดีเว็บพนันออนไลน์ และได้มีการโยงไปถึง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ด้วย จนเกิดเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันระหว่าง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กับ ทีมทนายความของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จึงเป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีคำสั่งให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เข้าพบที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อพูดคุยปัญหาปมขัดแย้ง และรายงานข้อมูลคดีเว็บพนันทางออนไลน์ที่ทั้งคู่กำลังเป็นประเด็น โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที[29] แต่ในเมื่อพูดคุยสอบถามแล้วยังไม่เป็นผล นายกรัฐมนตรีจึงลงนามในคำสั่งด่วนที่สุด ให้ทั้งคู่มาปฏิบัติงานช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 60 วัน (2 เดือน) เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเพื่อเป็นการสอบสวนหาข้อเท็จจริงในคราวเดียวกัน จากนั้น นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้ง พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ 2 ขึ้นมาดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน แต่ก็ยังคงให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล มีตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อไปได้ เพียงแต่ไม่มีสิทธิ์ในการบริหารงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่นเดียวกับกรณีของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ยังมีตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามเดิม โดยที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า "ถ้ามีการสอบสวนแล้วไม่มีมูลความผิด ก็จะให้ทั้งคู่กลับมาในสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามปกติ" [30] และในช่วงเที่ยงของวันเดียวกันนี้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวขอยุติความขัดแย้งกับคดีนี้ และจะทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานช่วยราชการ ฯ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีต่อไป [31]
การถูกออกหมายจับ
[แก้]เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567 พนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล เดินทางมายื่นคำร้องขอต่อศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เพื่ออนุมัติออกหมายจับ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ในความผิดฐาน "สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุผลที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 5, 9, 10 สืบเนื่องจากคดีเว็บพนันออนไลน์ BNK Master"[32] จากนั้น พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้มีการเดินทางไปมอบตัวตามกำหนด เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน เขตบางซื่อ และได้รับการประกันตัว โดยให้เหตุผลในการขอประกันตัวว่า ขอต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม [33] ต่อมาในวันที่ 18 เมษายน 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน[34][35][36] พร้อมกับนายตำรวจอีก 4 คน[37]โดยมี พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ทำหน้าที่เซ็นคำสั่ง ในฐานะ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจ[38] โดยสาเหตุเนื่องจากถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางวินัยเกี่ยวกับพนันออนไลน์ จนถูกออกหมายจับ จึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ที่ให้ออกราชการไว้ก่อนเพื่อรอผลสอบสวน[39] โดยพล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ยังสามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ โดยอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ [40]
กระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลตำรวจเอกสุรเชชษฐ์พ้นจากตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567[41]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ สมรสกับ ดร.ศิรินัดดา หักพาล กรรมการบริษัท ระโนดเดินรถ จำกัด ซึ่งเป็นกิจการรถโดยสาร และไม่มีบุตรด้วยกัน [42]
พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ รู้จักกับภรรยาตั้งแต่สมัยกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยบิ๊กโจ๊กศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และ ดร.ศิรินัดดา หักพาล ศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลาเช่นเดียวกัน[43]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[44]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[45]
- พ.ศ. 2558 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[46]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[47]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อjakdow
- ↑ "นายกฯสั่ง บิ๊กต่อ-บิ๊กโจ๊ก เข้ามาช่วยงานที่สำนักนายกฯ มอบบิ๊กต่าย นั่งรักษาการ". www.thairath.co.th. 2024-03-20.
- ↑ ชะตาชีวิต "นายพล" คนดัง "สุรเชษฐ์ หักพาล" ในเส้นทางสีกากีก่อนถูกสั่งย้ายด่วนเข้ากรุ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก (หน้า ๕)[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 5.2 ย้อนอ่าน เส้นทาง ‘พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล’ ฉายา ‘โจ๊ก หวานเจี๊ยบ’ ก่อนเป็น ขรก.พลเรือน
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 เส้นทางชีวิต “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmatichon1
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๐)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๐)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๙)
- ↑ หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งเด้ง "บิ๊กโจ๊ก" พ้น สตช. ไปเป็น ขรก. พลเรือน
- ↑ ระทึก ! บุกยิงรถ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล[ลิงก์เสีย]
- ↑ “บิ๊กโจ๊ก” หักพาล ออกจากกรุทำเนียบ ท้ารบ “บิ๊กแป๊ะ”
- ↑ ไขปม บิ๊กแป๊ะ VS บิ๊กโจ๊ก เอาใจ 'นายยี้ห้อย' ปูทางการเมือง
- ↑ ยังไม่รู้มือยิงรถ ‘พล.ต.ท.สุรเชษฐ์’-ชุดสืบสอบบอก ‘บิ๊กโจ๊ก’ ไม่ห่วงรถเท่าไหร่ โยงแต่ไบโอแมตริกซ์
- ↑ เบื้องลึก เบื้องหลัง ยิงรถ “บิ๊กโจ๊ก”[ลิงก์เสีย]
- ↑ บิ๊กช้างย่องเงียบ ดอดรายงานตัว หึ่ง‘โจ๊ก’งานเข้า
- ↑ "อาชญากรรม | หนีร้อนไปพึ่งเย็น "บิ๊กโจ๊ก" ลาบวช ศึก "สีกากี" นี้วุ่นวายหนอ?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
- ↑ 'บิ๊กโจ๊ก' กลับจากบวชแล้ว รับงานใหม่ที่สำนักนายกฯ เรื่องข้อเสนอร้องทุกข์
- ↑ ศาลไม่รับฟ้องคดี"บิ๊กโจ๊ก"ฟ้องนายกฯ-ปลัด สปน.สั่งย้ายมิชอบ
- ↑ ศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้อง “บิ๊กโจ๊ก” ยื่นฟ้อง “บิ๊กตู่” กรณีคำสั่งย้าย
- ↑ "สุรเชษฐ์ หักพาล" เริ่มงานพรุ่งนี้ ย้อนประวัติสำนักปทุมวัน บิ๊กตร. ย้ายไป ย้ายกลับมาใหญ่กว่าเก่า ไม่ใช่คนแรก!
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ "เปิดฉายา "แมวเก้าชีวิต" พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ผ่านมรสุมมาแล้วนับไม่ถ้วน". Springnews. 23 April 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-25. สืบค้นเมื่อ 2024-04-23.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ https://www.pptvhd36.com (2024-03-21). "สรุปไทม์ไลน์ เด้งแพ็กคู่ "บิ๊กต่อ-บิ๊กโจ๊ก" เข้ากรุ สำนักนายกรัฐมนตรี". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ Thosapol (2024-03-20). "นายกฯ เศรษฐา สั่งแต่งตั้ง "บิ๊กต่าย" ดำรงตำแหน่ง รักษาการ ผบ.ตร". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ หวานเจี๊ยบ! "บิ๊กต่อ" จับมือ "บิ๊กโจ๊ก" ส่งคดีเว็บพนันทั้งหมดให้ ป.ป.ช. ถอนฟ้องสัญญาลูกผู้ชาย
- ↑ Aindravudh (2024-04-02). "ด่วนที่สุด ศาลอนุมัติ หมายจับ "บิ๊กโจ๊ก" คดีฟอกเงิน". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ บิ๊กโจ๊ก ไม่กังวลการเป็นผู้ต้องหา ปัดตอบรายละเอียดในสำนวน
- ↑ https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4531926 สะพัดหลัง ‘บิ๊กต่าย’ เข้าพบนายกฯ เสนอให้ ‘บิ๊กโจ๊ก’ ออกจากราชการไว้ก่อน...
- ↑ "สะพัดหนักมาก 'นายกฯ' ลงนามให้ 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการไว้ก่อน". komchadluek. 2024-04-18.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2024-04-18). "เจาะกระแสร้อน "บิ๊กโจ๊ก" เทียบความต่าง ปลดออก ให้ออก ไล่ออก จากราชการ". thansettakij.
- ↑ "ไปเป็นแพ็ค"บิ๊กต่าย"ให้"บิ๊กโจ๊ก"พร้อม 4 ลูกน้องตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน". thansettakij. 2024-04-18.
- ↑ "'บิ๊กต่าย'ยันเซ็นต์คำสั่งให้ 'บิ๊กโจ๊ก' พ่วง 4 นายตำรวจ ออกราชการไว้ก่อน". bangkokbiznews. 2024-04-18.
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2024-04-18). "ออกจากราชการ! ปิดฉาก "บิ๊กโจ๊ก" หวานเจี๊ยบ แมว 9 ชีวิต ?". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4532167 นายกฯ ส่งตัว ‘บิ๊กโจ๊ก’ กลับตร. ‘บิ๊กต่าย’ เซ็นให้พ้นราชการทันที...
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ให้ "บิ๊กโจ๊ก-สุรเชชษฐ์ หักพาล" พ้นจากรอง ผบ.ตร. แล้ว". ไทยรัฐ.
- ↑ รู้จัก ดร.ศิรินัดดา หักพาล ลูกสาวเศรษฐีปักษ์ใต้ ผู้กุมหัวใจ "บิ๊กโจ๊ก" ในฐานะภรรยา
- ↑ S, Danita (2023-09-27). "ประวัติ 'ดร.ศิรินัดดา หักพาล' ภรรยาบิ๊กโจ๊ก ย้อนเส้นทางรักแรก รักเดียวสมัยเรียน". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๗๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๒๓, ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๓, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐