ข้ามไปเนื้อหา

จรูญเกียรติ ปานแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จรูญเกียรติ ปานแก้ว
รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 (56 ปี)
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ศิษย์เก่า
ชื่อเล่นเต่า
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตำรวจตรี

พลตำรวจตรี จรูญเกียรติ ปานแก้ว (เกิด 26 พฤศจิกายน 2511) เป็นนายตำรวจชาวไทย รองผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจทางหลวง และอดีตผู้บังคับการกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ประวัติ

[แก้]

พลตำรวจตรี จรูญเกียรติ มีชื่อเล่นว่า เต่า เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี มีบิดารับราชการในกรมราชทัณฑ์ มารดาเป็นแม่ค้าขายลอตเตอรี่ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 29 (ตท.29) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 45[1]

รับราชการ

[แก้]

พลตำรวจตรี จรูญเกียรติเริ่มต้นรับราชการเป็นตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 144 อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นจึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจทางหลวง เเละรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่คดีที่เกี่ยวข้องกับส่วยทางหลวง สติ๊กเกอร์รถบรรทุก ไม่สามารถจัดการได้ มีข้อสงสัยจากสังคมว่าอาจจะมีส่วนในการรับเงินทุจริต มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆและสื่อมวลชนแต่ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ [2] [3][4]

ผลงาน

[แก้]

พลตํารวจตรีจรูญเกียรติมีบทบาทสำคัญในการบุกจับกุมบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายราย ดังนี้[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ประวัติ "พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว" ผู้ไม่เกรงกลัวอิทธิพล และเคยบุกค้น "ชาดา ไทยเศรษฐ์"
  2. พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว โต้คดีส่วยทางหลวงไม่คืบ
  3. เปิดประวัติ “บิ๊กเต่า” พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้ท้าชน บิ๊กโจ๊ก หมัดต่อหมัด
  4. พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รักษาราชการแทน ผบก.ทล.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๑๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๓, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๕, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓