สีลัพพตปรามาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธุในศาสนพิธีที่เมืองหริทวาร ประเทศอินเดีย

สีลัพพตปรามาส (บาลี: สีลพฺพตปรามาส) มาจากการสมาสคำว่า สีล (แปลว่า ศีล) + วต (แปลว่า พรต) + ปรามาส (อ่านว่า ปะ-รา-มาด, แปลว่า การจับต้อง, การลูบคลำ[1] (ใช้ในความหมายว่ายึดมั่น)

สีลัพพตปรามาส คือการยึดมั่นในข้อห้ามและข้อปฏิบัติ หรือมีความเห็นว่าเราเป็นผู้ครอบครองศีล วัตร หรือความบริสุทธิ์ จัดเป็นความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง[2] จัดเข้าในกลุ่มสังโยชน์ขั้นต้นที่พระอริยบุคคลระดับโสดาบันละได้[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 26-8-52
  3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ ติกะ. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 26-8-52