สถานีย่อย:การทหาร
สถานีย่อย:การทหารแก้ไข
ยินดีต้อนรับ
การทหาร เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของรัฐ มีหน้าที่หลักเพื่อปกป้องอธิปไตยของรัฐ และอาจถูกใช้เพื่อเป้าหมายอื่นซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่รัฐ นักการทหารชาวจีนแห่งยุคโบราณ ซุนวู – เจ้าของตำราพิชัยสงครามอันลึกซึ้ง – ได้สรุปว่า "การทหาร เกี่ยวพันถึงความเป็นความตายของชาติรัฐ" มิติของการทหารนั้น ไม่อาจวัดเพียงแค่การมีกองกำลังติดอาวุธเท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวข้องถึง เศรษฐกิจ การเมือง และการทูตของรัฐอีกด้วย สงครามมักจะยุติลงเมื่อฝ่ายหนึ่งประสบความล้มเหลวทางด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธี จนต้องยอมจำนนหรือถูกยึดครอง การทหารมักเป็นเครื่องหมายของการใช้กำลังตัดสินปัญหาและเป็นจุดกำเนิดของความขัดแย้งต่าง ๆ – ภายหลังสงครามแต่ละครั้งยุติลง ผลที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แบบลูกโซ่ทั้งทางการเมือง ภูมิประเทศและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ภายหลังการยุติของสงครามโลกครั้งที่สอง บทบาทของทหารได้เปลี่ยนไป การรุกรานชาติรัฐอื่นด้วยกำลังทหารไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป ทำให้บทบาทของทหารเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วยเช่นกัน – จากการทำสงครามเพื่อรัฐ ก็กลายเป็นการปฏิบัติการเพื่อมนุษยชาติ เช่น ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในหลายพื้นที่ของโลกของกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ หรือปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสพภัยธรรมชาติในประเทศ แต่ว่าแม้บทบาทของการทหารจะเปลี่ยนไปอย่างไร กองทัพก็จะยังคงเป็นเครื่องมือของรัฐ ในการใช้แสนยานุภาพ เพื่อปกปักรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและอธิปไตยของชาติอยู่ดังเดิม ไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปสักเท่าใดก็ตาม
แก้ไข
บทความยอดเยี่ยมการบุกครองโปแลนด์ เป็นการรบที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ระหว่างโปแลนด์ กับอีกฝ่ายคือ นาซีเยอรมนี สโลวาเกียและสหภาพโซเวียต ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939-6 ตุลาคม ค.ศ. 1939 โดยการรุกรานดังกล่าวเป็นผลต่อเนื่องมาจากสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพระหว่างนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตที่ต้องการแบ่งปันอิทธิพลของตนในยุโรปตะวันออก ในการรบครั้งนี้ เยอรมนีได้ใช้ยุทธวิธีใหม่คือ บลิทซครีก และเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการนำยานเกราะมาใช้ในการทำสงคราม ผลจากการรบครั้งนี้ ทำให้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรกลับไม่มีท่าทีตอบสนองต่อการรุกรานจากสหภาพโซเวียต ...อ่านต่อ...
แก้ไข
หมวดหมู่และหัวข้อ
แก้ไข
วิกิมีเดีย
แก้ไข
คุณช่วยเราได้
แก้ไข
สถานีย่อย
|