มูควัตร
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
มูควัตร แปลว่า การปฏิบัติอย่างเป็นใบ้ กล่าวคือ การงดเปล่งวาจา[1] ซึ่งพุทธศาสนาถือว่าเป็น "เดียรถียสมาทาน" หรือข้อวัตรสำหรับนักบวชนอกพุทธศาสนา[2]
ในพุทธศาสนา โคตมพุทธะตรัสว่า มูควัตรเป็นการกระทำของโมฆบุรุษผู้ประมาท และเป็นการอยู่อย่างสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีการพูดจากัน ทรงห้ามการสมาทานมูควัตร ภิกษุผู้ล่วงบัญญัตินี้จะถูกปรับอาบัติทุกกฎ[3]
ปัจจุบัน สามารถพบมูควัตรได้ในศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาบางลัทธิโดยในพุทธศาสานาบางลัทธิเช่นว่านี้แนะนำว่าเป็นการฝึกความอดทน ไม่ให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้พูดจาในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นการบำเพ็ญขันติ[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๖[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ทรงติเตียนมูควัตร