ข้ามไปเนื้อหา

มหาปวารณา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนา ตรงกับวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำการปวารณา คือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน หมายถึงยอมมอบตนให้สงฆ์กล่าวตักเตือน ในข้อบกพร่องที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นได้ยิน หรือมีข้อสงสัย ด้วยจิตเมตตา เพื่อจักได้สำรวมระวังปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อความเจริญของพระธรรมวินัยและความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน

วันที่พระสงฆ์ทำมหาปวารณานี้ เรียก "ตามที่เข้าใจกันทั่วไป" ว่า วันออกพรรษา

ความเป็นมาของวันมหาปวารณา

[แก้]

ครั้งหนึ่ง มีภิกษุที่จำพรรษาในแคว้นโกศล ตั้งกติกาว่า จะไม่พูดกัน แต่ใช้วิธีบอกใบ้ หรือใช้มือแทนคำพูด เมื่อออกพรรษาแล้วไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสถาม ทรงติเตียน และทรงอนุญาตการปวารณา คือ การอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ภิกษุจำพรรษาแล้ว ย่อมปวารณากันด้วยเหตุ 3 ประการคือ

  1. โดยได้เห็น
  2. โดยได้ยิน ได้ฟัง
  3. โดยสงสัย

วิธีปวารณา

[แก้]

ภิกษุเถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา 3 ครั้งณาสูตร พระพุทธเจ้าทรงปวารณาแก่หมู่สงฆ์

คราวหนึ่งในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับภิกษุสงฆ์ 500 รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำเพื่อจะทรงทำปวารณา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เหล่าภิกษุนั้นว่า จะติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจาของพระองค์บ้างหรือไม่ พระสารีบุตรตอบปฏิเสธเพราะพระองค์ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น จากนั้นพระสารีบุตรก็กล่าวปวารณาให้พระพุทธเจ้าติเตียนท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวปฏิเสธ เพราะพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก พระสารีบุตรทูลถามอีกว่า พระองค์จะไม่กล่าวติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจา ของเหล่าภิกษุบ้างหรือ พระองค์กล่าวปฏิเสธ เพราะเหล่าภิกษุได้บรรลุวิชชา 3 อภิญญา 6 ได้อุภโตภาควิมุตติ และได้ปัญญาวิมุติเป็นพระอรหันต์

เหตุที่ทำให้เป็นคนว่ายากและว่าง่าย

[แก้]
  1. เป็นผู้มักโกรธ มีความโกรธครอบงำแล้ว
  2. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ
  3. เป็นผู้มักโกรธ มักระแวง
  4. เป็นผู้มักโกรธ เปอนุมานสูตร ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก 16 ประการ
    1. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
    2. เป็น ล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
  5. เมื่อก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ
  6. เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์
  7. ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ
  8. ภิกษุเป็นผู้ริษยา ตระหนี่
  9. ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เจ้ามายา
  10. ภิกษุเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
  11. ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้นถอนได้ยาก

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]