พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า
ชื่อ งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า
วันและเวลา วันวิสาขบูชา พ.ศ. 255531 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สถานที่ ไทย ทั่วราชอาณาจักร
ผู้จัด รัฐบาลไทย คณะสงฆ์ไทย และพุทธศาสนิกชน
โอกาส การเฉลิมฉลองการครบรอบ 26 สัมพุทธศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสมเด็จพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา

พุทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (อังกฤษ: Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment) [1][2] เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555[3]

การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา[4] พม่า และประเทศไทย[5] 1

โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)

ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555 [6]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ประเทศไทย[แก้]

ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยได้เสนอรูปแบบพร้อมความหมายธงสัญลักษณ์แก่มหาเถรสมาคม และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เป็นสัญลักษณ์การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานทางราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ใช้ประดับตกแต่ง ณ สถานที่ราชการ วัดและเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่ช่วงมาฆบูชา[7] หรือช่วงเทศกาลวิสาขบูชา (วันที่ 29 พฤษภาคม 2555) เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2555[8] โดยธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี มีรูปแบบดังนี้

  1. ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีเหลือง
  2. มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี
  3. รูปธรรมจักรมีซี่ จำนวน 12 ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ 3 ในอริยสัจ 4
  4. มีชื่องานภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศหรือสถานที่ระดับสากล สามารถสลับที่ระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้ แล้วแต่กรณี

ความหมายของธงสัญลักษณ์นั้น ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า [9]

ประเทศอื่น ๆ[แก้]

การจัดงานในประเทศไทย[แก้]

รายละเอียด[แก้]

การจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ

1. พิธีหลวง พิธีที่มีความเกี่ยวข้องกับสำนักพระราชวัง หรือเป็นพิธีพุทธบูชาที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในกิจกรรมพุทธบูชาในช่วงเวลาการฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในวาระต่าง ๆ เช่น พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวงจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานยังมณฑลพิธีงานพุทธชยันตี 2600 ปี ณ ท้องสนามหลวง การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า[10] การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปสมโภชพุทธชยันตี[11] การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกฉัตรประดิษฐานเหนือพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง[12] เป็นต้น

2. รัฐพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ภาครัฐอำนวยการ รวมถึงพิธีต่าง ๆ ที่มหาเถรสมาคมดำริหรือมีมติให้เป็นกิจกรรมโดยคณะสงฆ์ไทย โดยมีการสนับสนุนและใช้งบประมาณของภาครัฐ เช่น การจัดตั้งคณะอำนวยการจัดงาน ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ การจัดกิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 ท้องถิ่น : 1 พุทธบูชา เป็นต้น[13][14][15]

3. ราษฎรพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ วัด พระสงฆ์ องค์กรภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนร่วมกันจัดขึ้นด้วยความศรัทธา ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเวียนเทียน การจัดทำบุญและถวายมหาสังฆทาน[16] กิจกรรมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ[17][18] กิจกรรมงานวัดลอยฟ้า กิจกรรมฉายภาพยนตร์สื่อธรรมะทางพระพุทธศาสนา [19] กิจกรรมตักบาตรพระ 1,000,000 รูป[20] เป็นต้น

การเตรียมงาน[แก้]

ริ้วกระบวนอิสริยยศอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวง จากพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในโอกาสพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 28/2553 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 ครบรอบ 26 ศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น และมหาเถรสมาคมได้มีมติที่ 628/2553[21] เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 เป็นพิเศษ เพราะวันวิสาขบูชา ปี 2555 ถือเป็นวันสำคัญยิ่งเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 2,600 ปี หรือครบศตวรรษที่ 26 แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประสานขอรับฟังความคิดเห็นจากกรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสงฆ์ เจ้าคณะภาค นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการจัดกิจกรรมพิเศษให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

ในปี พ.ศ. 2555 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีการประชุมหารือร่วมกับ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนกรมการศาสนา ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้แทนมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ และองค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อสรุปหาแนวทางการจัดงาน และเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้แนวทางการดำเนินงานตามที่ที่ประชุมของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดังกล่าวเสนอมา โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการจัด[22] โดยที่ประชุมมีมติร่วมกันดังนี้

  1. ใช้ชื่อว่า “งานฉลองสัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า”
  2. รัฐบาลและคณะสงฆ์ไทยโดยมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานหลัก
  3. ใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล
  4. การจัดงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และด้านกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
  5. ระยะเวลาจัดงานในช่วงสัปดาห์เทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 - วันที่ 4 มิถุนายน 2555 รวม 7 วัน
  6. ให้มีธงสัญลักษณ์ “งานฉลอง สัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” เพื่อให้ทุกวัดทั้งในและต่างประเทศใช้ประดับบริเวณวัดและสถานที่เหมาะสม

คณะกรรมการจัดงานภาครัฐ[แก้]

ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า[23][24] กรรมการประกอบด้วย

มหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ[23][24]

พิธีหลวง[แก้]

หมายกำหนดการพิธีและพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2555 ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ดังต่อไปนี้

วันที่ เวลา พระราชพิธี สถานที่
วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 07.00 น. - 10.00 น. พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง* วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 17.00 น. พระราชพิธีทรงตั้งเปรียญ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 16.00 น. - 17.00 น. พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา*[10] ลานพระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 17.30 น. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปงานวันวิสาขบูชา[25] มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 18.00 น. พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

รัฐพิธี[แก้]

ราษฏรพิธี[แก้]

การจัดงานในประเทศอื่น ๆ[แก้]

ชาวพุทธศรีลังกาฉลองสัมพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย

ในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้มีการจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ พร้อมกันในปี พ.ศ. 2555 เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยการนับพุทธศักราชที่แตกต่างกัน ทำให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ เร็วกว่าประเทศไทย 1 ปี 1

โดยในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดีย ได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วิสาขบูชา พ.ศ. 2553 ถึงพ.ศ. 2555[26] เช่นในประเทศศรีลังกาใช้ชื่องานว่า The 2600th Sambuddathwa Jayanthi โดยจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่ทั่วประเทศในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา ในปี พ.ศ. 2554 (พ.ศ. 2555 ตามการนับพุทธศักราชแบบศรีลังกา) มีการออกเหรียญที่ระลึกโดยรัฐบาล การจัดสร้างอนุสรณ์สถานพุทธชยันตี และการบูรณะพุทธเจดีย์สถานโบราณในเมืองอนุราธปุระ และกิจกรรมพุทธบูชาต่าง ๆ ถูกจัดขึ้นทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ส่งเสริมให้ประชาชนไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน โดยมีการจัดงานใหญ่ของรัฐบาลและคณะสงฆ์ศรีลังกาในพุทธสถานสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติในประเทศอินเดีย-เนปาล ตลอดทั้งปี[27][28]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ 1: ประเทศไทยจัดงานฉลอง พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งช้ากว่าประเทศอื่น ๆ 1 ปี โดยประเทศอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จัดงานฉลองนี้ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554[29] (ตามการนับพุทธศักราชแบบไทย) เนื่องจากประเทศไทยนับพุทธศักราชช้ากว่าประเทศอื่น โดยประเทศไทยนับหนึ่งปีหลังพุทธปรินิพพานเป็น พ.ศ. 1 แต่ประเทศอื่นนับตั้งแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเป็น พ.ศ. 1 (ดูเพิ่มที่ พุทธศักราช)

อ้างอิง[แก้]

  1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.icundv.com 20-3-55
  2. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2555). งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment.). [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [1] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 20-3-55
  3. เดลินิวส์ออนไลน์. (2555). พุทธชยันตี 2,600 ปีตรัสรู้. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.dailynews.co.th/article/342/15095 เข้าถึงเมื่อ 19-3-55
  4. Ministry of Buddhasasana and Religious Affairs. (2012). Sri Sambuddhatva Jayanthi Secretariat. [on-line]. เข้าถึงได้จาก [2] เก็บถาวร 2019-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 19-3-55
  5. วัดไทยลาสเวกัส. (2555). คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการจัดงานพุทธชยันตี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3] เก็บถาวร 2012-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าถึงเมื่อ 19-3-55
  6. สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 1/2555 เรื่อง การจัดงานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.mahathera.org/uploaded_pdf/c-พุทธชยันตี_1.pdf[ลิงก์เสีย]
  7. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี . (2555). ธงสัญลักษณ์ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.buddhajayanti.net/th/article_detail.php?ID=5 เก็บถาวร 2012-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี . (2555). แผนการดำเนินงานการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.buddhajayanti.net/th/activity-bangkok.php เก็บถาวร 2012-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 242/2555 เรื่อง ขอความเห็นชอบการเตรียมงานฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.mahathera.org/uploaded_pdf/พุทธชยันตี2.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. 10.0 10.1 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2555). ปฏิทินการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2555. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [4] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. ผู้จัดการออนไลน์. (2555). “ราชินี” ทรงเททองหล่อพระพุทธปฏิมา บำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพุทธชยันตี 2,600 ปี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [5] เก็บถาวร 2012-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. ผู้จัดการออนไลน์. (2555). “สมเด็จพระนางเจ้าฯ” ทรงยกฉัตรประดิษฐานเหนือพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [6] เก็บถาวร 2012-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. เดลินิวส์ออนไลน์. (2555). รัฐบาลจัดงานพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั่วประเทศ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [7]
  14. ที่ทำการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี . (2555). เรื่อง: โครงการ "หนึ่งจังหวัด หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งอำเภอ หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนึ่งพุทธบูชา. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [8] เก็บถาวร 2016-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า[ลิงก์เสีย]. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
  16. สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. (2555). งานบุญ วิสาขปุรณมี ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [9]
  17. วัดคุ้งตะเภา. (2555). กิจกรรมแห่สมโภชพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆราช 2 ประเทศ (ประเทศไทยและประเทศพม่า) . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [10] เก็บถาวร 2016-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. วัดสังฆทาน. (2555). ร่วมฉลองและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ ปีที่8 ท่าน้ำนนท์ฯ สู่วัดสังฆทาน . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [11] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[12] เก็บถาวร 2016-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  19. มติชนออนไลน์. (2555). อย่าพลาด ! "งานวัดลอยฟ้า" ณ สยามพารากอน รูปแบบใหม่ของพื้นที่เรียนรู้ธรรมะ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [13]
  20. วัดพระธรรมกาย. (2555). โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [14]
  21. สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 628/2553 เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดงานวันวิสาขบูชาปี 2555 ครบรอบ 26 ศตวรรษแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.onab.go.th/attachments/5654_5522_648-53.pdf เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 1/2555 เรื่อง การจัดงานฉลองสัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.mahathera.org/uploaded_pdf/c-พุทธชยันตี_1.pdf[ลิงก์เสีย]
  23. 23.0 23.1 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 60/2555 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. 24.0 24.1 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 83/2555 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพิ่มเติม เก็บถาวร 2012-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  25. สำนักพระราชวัง. (2555). รายงานการเสด็จพระราชดำเนิน กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [15][ลิงก์เสีย]
  26. พระวิจิตรธรรมาภรณ์. (2555). พุทธชยันตี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=5813:2012-05-10-15-59-57&catid=145:buddhajayanti&Itemid=398 เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. Sri Lanka Broadcasting Corporation. (2011). The 2600th Sambuddathwa Jayanthi and Vesak week to be officially declared on next week. . [on-line]. Available : http://www.slbc.lk/index.php/component/content/article/1-latest-news/6503-the-2600th-sambuddathwa-jayanthi-and-vesa[ลิงก์เสีย]
  28. Asian Tribune is published. (2011). The 2600th Sambuddathwa Jayanthi Vesak Celebrated In Myanmar. [on-line]. Available : http://www.asiantribune.com/news/2011/05/31/2600th-sambuddathwa-jayanthi-vesak-celebrated-myanmar เก็บถาวร 2011-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. UN Secretary General (Ban Ki Moon). (2011). Secretary-General, at Event Marking 2,600 Years since Buddha’s Enlightenment, Urges Remembrance of His Message: Tolerance, Respect for All Religions. [on-line]. Available : http://www.un.org/News/Press/docs/2011/sgsm13573.doc.htm

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]