ก๊กมินตั๋ง
พรรคก๊กมินตั๋งแห่งประเทศจีน 中國國民黨 | |
---|---|
ประธาน | Wu Den-yih |
เลขาธิการ | Tseng Yung-chuan |
ก่อตั้ง | 10 ตุลาคม 1919 |
ก่อนหน้า | สมาคมซิงจงฮุ่ย (สมาคมฟื้นฟูประเทศจีน) (1894) ถงเหมิงฮุ่ย (1905) พรรคจีนปฏิวัติ (1914) |
ที่ทำการ | ถนนหมายเลข 232~234, Sec. 2, ถนนป้าเต๋อ, เขตจงชาน, กรุงไทเป, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)[1] |
หนังสือพิมพ์ | Central Daily News Kuomintang News Network |
สถาบันนโยบาย | National Policy Foundation |
ฝ่ายเยาวชน | สมาคมยุวชนก๊กมินตั๋ง |
ฝ่ายทหาร | กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ (ค.ศ. 1924-1947) |
สมาชิกภาพ (ปี 2017) | 1,090,000[2] |
อุดมการณ์ | |
จุดยืน | พรรคฝ่ายค้านขวากลาง (กลางเอียงขวา) |
กลุ่มระดับชาติ | พันธมิตรฟั่นหลัน (แนวร่วมสีคราม) |
กลุ่มระดับสากล | กลุ่มประชาธิปไตยสายกลางสากล สหภาพประชาธิปไตยสากล |
สี | น้ำเงิน |
สภานิติบัญญัติหยวน | 51 / 113 |
Municipal Mayoralties | 4 / 6 |
City Mayoralties and County Magistracies | 10 / 16 |
สมาชิกสภาท้องถิ่น | 367 / 910 |
หัวหน้าเขตการปกครอง | 75 / 204 |
เว็บไซต์ | |
www.kmt.org.tw | |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองสาธารณรัฐจีน รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคก๊กมินตั๋ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"ก๊กมินตั๋ง (Guómíndǎng)" ในอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และ อักษรจีนตัวย่อ (ล่าง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國國民黨 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中国国民党 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | พรรคแห่งชาติจีน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อย่อ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 國民黨 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 国民党 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | พรรคแห่งชาติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรทิเบต | ཀྲུང་གོའི་གོ་མིན་ཏང | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจ้วง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจ้วง | Cunghgoz Gozminzdangj | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษามองโกเลีย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรซิริลลิกมองโกเลีย | Дундадын (Хятадын) Гоминдан (Хувьсгалт Нам) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรมองโกเลีย | ᠳᠤᠮᠳᠠᠳᠤ ᠶᠢᠨ (ᠬᠢᠲᠠᠳ ᠤᠨ) ᠭᠣᠮᠢᠨᠳᠠᠩ (ᠬᠤᠪᠢᠰᠬᠠᠯᠲᠤ ᠨᠠᠮ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาอุยกูร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาอุยกูร์ | جۇڭگو گومىنداڭ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาแมนจู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรแมนจู | ᠵᡠᠩᡬᠣ ᡳ ᡬᠣᠮᡳᠨᡩᠠᠩ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรโรมัน | Jungg'o-i G'omindang |
พรรคชาตินิยมจีน (จีนตัวย่อ: Chûng-fà Mìn-koet Koet-mìn-tóng; จีนตัวเต็ม: 中國國民黨; พินอิน: Zhōngguó Guómíndǎng; อังกฤษ: Chinese Nationalist Party) หรือมักเรียกว่า ก๊กมินตั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กั๋วหมินต่าง ตามสำเนียงกลาง (Kuomintang; ย่อว่า KMT) เป็นพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมของสาธารณรัฐจีนซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน ปัจจุบันพรรคก๊กมินตั๋งเป็นพรรคการเมืองในสภานิติบัญญัติของไต้หวัน
พรรคก๊กมินตั๋งโดยเริ่มแรกนั้นเป็น "พันธมิตรปฏิวัติประชาธิปไตยจีน" หรือ (ถงเหมิงฮุ่ย) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยหลักในการโค่นล้มราชวงศ์ชิงเริ่มมีบทบาทในการลุกฮือที่อู่ชางในปี ค.ศ. 1911 และประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐจีนบนแผ่นดินใหญ่
พรรคก๊กมินตั๋งได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยซ่ง เจี่ยวเหรินและ ดร.ซุน ยัตเซ็น หลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ ในปี ค.ศ. 1911 ดร.ซุนได้ชนะผลการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีนคนแรก แต่ต่อมาเขาก็ยกตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่ยฺเหวียน ชื่อไข่ทำให้ประเทศจีนแตกแยกเป็นขุนศึกประจำแคว้นต่างๆ หรือที่เรียกว่าสมัยขุนศึก ต่อมาพรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของเจียง ไคเชกได้ประกาศเจตนารมณ์รวมแผ่นดินจีนอีกครั้ง ทางพรรคได้จัดตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนซึ่งประสบความสำเร็จในการกรีธาทัพขึ้นไปทางเหนือเพื่อปราบเหล่าขุนศึกและรวมประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1928 ยุติความโกลาหลของยุคขุนศึก
เมื่อรวบรวมแผ่นดินจีนสำเร็จพรรคก๊กมินตั๋งได้กลายมาเป็นพรรคการเมืองหลักที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคก๊กมินตั๋งได้พ่ายแพ้สงครามกลางเมืองจีนให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรคคู่แข่ง ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งได้ลี้ภัยหนีไปเกาะไต้หวันและตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนขึ้นใหม่ปกครองในฐานะรัฐเผด็จการพรรคเดียว ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ที่ยึดแผ่นดินใหญ่ได้ตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ส่วนสาธารณรัฐจีนที่ไต้หวันภายใต้พรรคก๊กมินตั๋งยังคงมีที่นั่งในองค์การสหประชาชาติในฐานะรัฐบาลตัวแทนของประเทศจีนที่ถูกต้อง (พร้อมด้วยการสนับสนุนจากตะวันตก) จนถึงปี ค.ศ. 1971
ไต้หวันได้ตัดสินใจยุติสถานะเป็นรัฐภายใต้พรรคการเมืองเดียวในปี ค.ศ. 1986 และเริ่มการปฏิรูปประชาธิปไตยทางการเมืองที่เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1990 ได้มีการคลายอิทธิพลอำนาจของพรรคก๊กมินตั๋ง อย่างไรก็ตามพรรคก๊กมินตั๋งยังคงเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองหลักของไต้หวันโดยมี หม่า อิงจิ่ว ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2008 และได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี ค.ศ. 2012 โดยเป็นสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งคนที่เจ็ดที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ในการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. 2016 พรรคก๊กมินตั๋งได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าได้รับการควบคุมทั้งสภานิติบัญญัติหยวนและ ไช่ อิงเหวิน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้งพรรคและดร.ซุนยัตเซ็น
[แก้]ในเริ่มแรกนั้นพรรคก๊กมินตั๋งได้สืบทอดอุดมการณ์และรากฐานขององค์กรต่อจากภาระกิจของดร.ซุนยัตเซ็น นักปฏิวัติประชาธิปไตยจีน ผู้ก่อตั้งสมาคมซิงจงฮุ่ยซึ่งเป็นสมาคมเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูจีนและต่อต้านราชวงศ์ชิงขึ้นที่กรุงโฮโนลูลูเมืองหลวงของเกาะฮาวายในวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894[9] สมาคมซิงจงฮุ่ยได้ทำการรวบรวมอาสาสมัครและลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิงครั้งแรกที่กวางโจวแต่ประสบความล้มเหลว ในปี ค.ศ. 1905 ดร.ซุนได้เข้าร่วมกับสมาคมเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านระบอบศักดินา-ราชาธิปไตยของราชสำนักชิงกลุ่มอื่นๆที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และตั้งเป็นสมาคมถงเหมิงฮุ่ย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1905 เป็นสมาคมที่มุ่งมั่นที่จะโค่นล้มราชวงศ์ชิงโดยเฉพาะและต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศเป็นสาธารณรัฐ
สมาคมถงเหมิงฮุ่ยได้วางแผนและสนับสนุนการปฏิวัติซินไฮ่ ในปี ค.ศ. 1911 และการก่อตั้งสาธารณรัฐจีนเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินใหญ่จีน เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 อย่างไรก็ตามดร.ซุนไม่ได้มีอำนาจทางทหารอย่างเต็มที่และเขาได้ยกตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐให้แก่ยฺเหวียน ชื่อไข่ โดยการยื่นข้อเสนอกับการบังคับให้จักรพรรดิผู่อี๋ (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง) สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์
พรรคก๊กมินตั๋งรบกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อชิงอำนาจปกครองประเทศ ก่อนจะพ่ายแพ้และถอยหนีไปไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 และตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่นั่น ก๊กมินตั๋งบริหารประเทศโดยเป็นรัฐบาลพรรคเดียวจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างปลายทศวรรษปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2533 ก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง ในสมัยแรก ๆ ที่พรรคก๊กมินตั๋งเข้าปกครองไต้หวัน และชื่อก๊กมินตั๋งใช้เรียกราวกับมีความหมายเหมือนกันหมายถึงจีนชาตินิยม ปีพ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) พรรคจีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน ทำให้ประเทศต่าง ๆ พากันตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน หันมารับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน (รวมถึงประเทศไทย) ส่งผลให้ไต้หวันถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก ซึ่งทางพรรคได้บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน เช่น การสร้างประเทศด้วยระบอบตลาดเสรีแบบทุนนิยม หันมาเน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจของไต้หวันมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย อาจจะกล่าวได้ว่าทางพรรคได้มีบทบาทในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ แต่การเมืองของไต้หวันก็ถูกมองว่ากึ่งเผด็จการเนื่องจาก ปกครองโดยพรรคการเมืองเดียว พ.ศ. 2549 ก๊กมินตั๋งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีที่นั่งในสภามากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นพรรคการเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ด้วยทรัพย์สินประเมินอยู่ราว 2,600-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทรัพย์สินของพรรคค่อย ๆ ขายออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543[10]
นโยบาย
[แก้]ภายหลังจากที่พรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันในปี 2543 พรรคมีนโยบายที่จะผูกมิตรกับทางแผ่นดินใหญ่ และในปี พ.ศ. 2551 พรรคก๊กมินตั๋งชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง นายหม่า อิงจิ่วได้ดำเนินนโยบายร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลปักกิ่ง เปิดเที่ยวบินตรงระหว่าง 2 จีน ประนีประนอมและสนับสนุนการค้ากับแผ่นดินใหญ่ จากนโยบายดังกล่าวทำให้ถูกพรรคฝ่ายค้านโจมตีว่านำอธิปไตยของไต้หวันไปผูกไว้กับแผ่นดินใหญ่[11] และก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 นายหม่า อิงจิ่วได้บินไปพบกับนายสี จิ้นผิงที่สิงคโปร์[12]เพื่อชูนโยบายสนับสนุนความร่วมมือกับแผ่นดินใหญ่ นับว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้นำจากจีนยอมมาพบกับผู้นำไต้หวันเพื่อพูดคุยถึงประเด็น 2 จีนเป็นครั้งแรก ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็เลือกที่จะนิยามจีนในรูปแบบของตนเอง โดยนายหม่า ปฏิเสธว่าไม่ได้เล่นเกมการเมืองเพื่อคะแนนเสียงแต่อย่างใด [13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kuomintang Official Website". Kuomintang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 13 September 2011.
- ↑ Hsu, Stacy (16 January 2017). "Hung urges for scrutiny of KMT leader elections". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
- ↑ "政策綱領". Kmt.org.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-06-19.
- ↑ The Editors of Encyclopædia Britannica. "Three Principles of the People". Encyclopædia Britannica.
{{cite encyclopedia}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Mary C. Wright (1955). From Revolution to Restoration: The Transformation of Kuomintang Ideology. Association for Asian Studies. pp. 515–532.
- ↑ Jonathan Fenby (2005). Chiang Kai Shek: China's Generalissimo and the Nation He Lost. Carroll & Graf Publishers. p. 504. ISBN 978-0-7867-1484-1. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
- ↑ Hans Kohn, Nationalism: Its Meaning and History (1955) p. 87.
- ↑ "Party Charter". Kmt.org.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-06. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
- ↑ See (Chinese) "Major Events in KMT" History Official Site of the KMT เก็บถาวร 2009-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน last accessed Aug. 30, 2009
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-29. สืบค้นเมื่อ 2006-01-09.
- ↑ http://www.thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=126:art17&catid=28&Itemid=106&lang=th[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000124154[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/636051