ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาดุงกาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาดุงกาน
Хуэйзў йүян Huejzw jyian
ออกเสียง[Hɤuɛjtsu jyiɑn]
ประเทศที่มีการพูดคีร์กีซสถาน, คาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน, ทาจิกิสถาน และ เติร์กเมนิสถาน
ภูมิภาคหุบเขาเฟอร์กานา, แม่น้ำชู
จำนวนผู้พูด41,400 คน (2544)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2sit
ISO 639-3dng

ภาษาดุงกาน (ดุงกาน: Хуэйзў йүян Xuejzw jyian, รัสเซีย: Дунганский Язык Dunganskij jazyk, จีนตัวย่อ: 东干语; จีนตัวเต็ม: 東干語; พินอิน: Dōnggān yǔ) เป็นภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ใช้พูดโดยชาวดุงกานหรือชาวหุยในเอเชียกลาง

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

[แก้]

ส่วนใหญ่ใช้พูดในคีร์กีซสถาน และมีกระจายอยู่ในคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และรัสเซีย ชาวดุงกานเป็นลูกหลานของชาวจีนที่อพยพเข้าสู่เอเชียกลาง เป็นภาษาที่ใช้ในโรงเรียน หนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ตีพิมพ์ด้วยภาษาดุงกาน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2475

สัทวิทยาและคำศัพท์

[แก้]

คำศัพท์พื้นฐานไม่ต่างจากภาษาจีนมากนัก มีเสียงวรรณยุกต์ มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย คำศัพท์ใกล้เคียงกับที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ชิง ภาษาดุงกานไม่ได้รับอิทธิพลจากการจัดมาตรฐานภาษาจีนกลางในพุทธศตวรรษที่ 25 แต่ได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซียแทน

ระบบการเขียน

[แก้]

เป็นภาษาในกลุ่มภาษาจีนภาษาเดียวที่ไม่ได้เขียนด้วยอักษรจีน เริ่มแรกชาวดุงกานที่เป็นมุสลิมเขียนด้วยอักษรอาหรับ รัฐบาลโซเวียตสั่งยกเลิกอักษรอาหรับใน พ.ศ. 2463 ให้ใช้อักษรละตินแทนจน พ.ศ. 2483 จึงใช้อักษรซีริลลิก แสดงเสียงวรรณยุกต์เฉพาะในพจนานุกรมเท่านั้น

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]