สี่เสือแห่งเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ของสี่เสือแห่งเอเชีย

สี่เสือแห่งเอเชีย (อังกฤษ: Four Asian Tigers) หรือมังกรเอเชียเป็นคำที่ใช้อ้างถึงเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้และไต้หวัน ประเทศหรือบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง (มากกว่า 7% ต่อปี)และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วระหว่าง พ.ศ. 2503 – 2533 ในศตวรรษที่ 21 ทั้งหมดได้พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและมีรายได้สูง โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ฮ่องกงและสิงคโปร์เป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการเงินระดับนานาชาติในขณะที่เกาหลีใต้และไต้หวันเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เป็นแบบจำลองสำหรับประเทศกำลังพัฒนา[1][2][3]

ประสบการณ์ของประเทศในกลุ่มเสือนี้ขึ้นกับนโยบายทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งสนับสนุนการส่งออกและการเป็นชาติอุตสาหกรรม ธนาคารโลกได้ยอมรับนโยบายเสรีนิยมใหม่ด้วยความรับผิดชอบต่อการขยายตัว รวมทั้งการรักษาระบบการค้าทางด้านการส่งออกโดยยอมรับข้อดีของนโยบายการควบคุมทางการเงิน เช่นการกำหนดการลงทุนในตลาดล่างโดยรัฐสำหรับการให้กู้ต่ออุตสาหกรรมส่งออกเฉพาะอย่าง มีการวิเคราะห์จากหลากหลายสถาบันว่านโยบายของรัฐทำให้การเจริญเติบโตเกิดขึ้นได้ดีแต่ไม่ได้เหมาะกับลัทธิเสรีนิยมใหม่[4] แต่ก็ทำให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนมามากกว่าทศวรรษ ลักษณะทั่วไปของประเทศในกลุ่มเสือคือรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนทางด้านการศึกษา ระบบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและเน้นเครือญาติในการพัฒนาช่วงแรก เป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นของสหรัฐอเมริกา[5]

ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มเสือเกิดขึ้นในวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 สิงคโปร์และไต้หวันไม่ได้รับอันตราย เกาหลีใต้ประสบปัญหาหนี้เสียจำนวนมาก ส่วนฮ่องกงประสบปัญหาเกี่ยวกับการโจมตีตลาดหุ้นและสกุลเงิน แต่ไม่กี่ปีต่อมา ประเทศในกลุ่มเสือเหล่านี้ก็กลับมามีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจดังเดิม รวมทั้งเกาหลีใต้ที่มีสถานการณ์ย่ำแย่ที่สุด

ข้อมูลเขตการปกครอง[แก้]

ท้องฟ้าในย่านศูนย์กลางธุรกิจของฮ่องกง มองจากวิกตอเรียพีก
ท้องฟ้าในย่านธุรกิจของ สิงคโปร์

ประชากร[แก้]

ประเทศ
เขตการปกครอง
พื้นที่ km² ประชากร ความหนาแน่น
per km²
การพัฒนามนุษย์
(2011)
เมืองหลวง
 ฮ่องกง 1,104 7,108,100 6,349 0.898 (13th) ฮ่องกง
 สิงคโปร์ 710 5,076,700 7,148 0.866 (26th) สิงคโปร์
 เกาหลีใต้ 100,210 48,875,000 487 0.897 (15th) โซล
 ไต้หวัน 36,191[6] 23,197,947 639 0.868 (25th)[7] ไทเป

เศรษฐกิจ[แก้]

ประเทศ หรือ
เขตการปกครอง
GDP ราคาตลาด
ล้านดอลลาร์สหรัฐ(2011)
GDP PPP
ล้านดอลลาร์สหรัฐ(2011)
GDP nominal per capita
USD (2011)
GDP PPP per capita
USD (2011)
การค้า
ล้านดอลลาร์สหรัฐ(2011)
ส่งออก
ล้านดอลลาร์สหรัฐ(2011)
นำเข้า
ล้านดอลลาร์สหรัฐ(2011)
 ฮ่องกง 246,941 354,272 34,393 49,342 944,800 451,600 493,200
 สิงคโปร์ 266,498 314,963 50,714 59,936 818,800 432,100 386,700
 เกาหลีใต้ 1,163,847 1,556,102 23,749 31,753 1,084,000 558,800 525,200
 ไต้หวัน 504,612 886,489 21,591 37,931 623,700 325,100 298,600

การเมือง[แก้]

ประเทศ หรือ
เขตการปกครอง
ดัชนีประชาธิปไตย
(2011)
ดัชนีสิทธิการถือครองทรัพย์สิน
(2008)
ดัชนีเสรีภาพของสื่อ
(2011-2012)
ดัชนีการฉ้อราษฎร์บังหลวง
(2011)
สถานะทางการเมือง
 ฮ่องกง 5.92 7.7 17.00 8.4 เขตบริหารพิเศษ
ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
 สิงคโปร์ 5.89 7.9 61.00 9.2 สาธารณรัฐแบบรัฐสภา
 เกาหลีใต้ 8.06 6.2 12.67 5.4 สาธารณรัฐแบบมีประธานาธิบดี
 ไต้หวัน 7.46 6.5 13.00 6.1 กึ่งสาธารณรัฐ

องค์กรและกลุ่ม[แก้]

ประเทศ หรือ
เขตการปกครอง
G20 OECD APEC EAS อาเซียน
 ฮ่องกง × × × ×
 สิงคโปร์ × ×
 เกาหลีใต้ ○ (APT)
 ไต้หวัน × × × ×

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Can Africa really learn from Korea?". Afrol News. 24 November 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  2. "Korea role model for Latin America: Envoy". Korean Culture and Information Service. 1 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  3. Leea, Jinyong; LaPlacab, Peter; Rassekh, Farhad (2 September 2008). "Korean economic growth and marketing practice progress: A role model for economic growth of developing countries". Industrial Marketing Management. Elsevier B.V. (subscription required). doi:10.1016/j.indmarman.2008.09.002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  4. Derek Gregory; Ron Johnston; Geraldine Pratt; Michael J. Watts; Sarah Whatmore, บ.ก. (2009). "Asian Miracle/tigers". The Dictionary of Human Geography (5th ed.). Malden, MA: Blackwell. p. 38. ISBN 978-1-4051-3287-9.
  5. "East Asian Tigers- Definition". WordIQ.com. 1 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  6. Monthly Bulletin of Interior Statistics 2011.4 เก็บถาวร 2014-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Department of Statistics, Ministry of the Interior, Taiwan/R.O.C.
  7. http://www.dgbas.gov.tw/public/Attachment/11715383471.doc

บรรณานุกรม[แก้]

  • Ezra F. Vogel, The Four Little Dragons: The Spread of Industrialization in East Asia (Cambridge, MA: Harvard University Press, 1991).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]