ข้ามไปเนื้อหา

กว่างตงพินอินฟางอ้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กว่างตงพินอินฟางอ้าน (จีนตัวย่อ: 广东拼音方案; จีนตัวเต็ม: 廣東拼音方案; พินอิน: guǎng dōng pīn yīn fāng àn) เป็นชื่อเรียกรวมของแผนการถอดเสียงภาษาจีนถิ่นต่าง ๆ ภายในมณฑลกวางตุ้งเป็นอักษรโรมันซึ่งจัดทำโดยกรมการศึกษาของรัฐบาลประชาชนมณฑลกวางตุ้งในปี 1960 โดยได้ทำทั้งหมด ๔ ภาษา ได้แก่ ภาษากวางตุ้ง ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาฮากกา และ ภาษาไหหลำ โดยระบบที่ใช้กับทั้ง ๔ ภาษานี้ใช้วิธีการสะกดคำที่คล้ายกัน แต่มีความแตกต่างบางประการขึ้นอยู่กับรูปแบบเสียงของแต่ละภาษา

โดยรวมแล้วรูปแบบการเขียนมีความคล้ายคลึงกับพินอินของภาษาจีนกลางมาตรฐาน มีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรเพื่อแสดงสระบางตัว แต่วรรณยุกต์จะแสดงด้วยตัวเลขตัวยก แทนที่จะใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรวางบนพยัญชนะเหมือนอย่างพินอินของภาษาจีนกลาง

ภาษากวางตุ้ง

[แก้]

เป็นระบบถอดเสียงภาษากวางตุ้งมาตรฐาน แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าระบบอื่นเช่น ยฺหวิดเพ็งที่ถูกเสนอโดยทางฮ่องกง ปัจจุบันยังเหลือการใช้แค่ในวงจำกัดสำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับภาษากวางตุ้งในจีนแผ่นดินใหญ่

ภาษาฮากกา

[แก้]

เป็นระบบการถอดเสียงของภาษาฮากกาโดยยึดตามสำเนียงเหมย์เซี่ยนเป็นมาตรฐาน

ภาษาแต้จิ๋ว

[แก้]

เป็นระบบการถอดเสียงภาษาแต้จิ๋วซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด ปัจจุบันนิยมใช้ในการสอนภาษาแต้จิ๋วโดยทั่วไป

ภาษาไหหลำ

[แก้]

เป็นระบบถอดเสียงภาษาไหหลำโดยยึดสำเนียงเหวินชางเป็นมาตรฐาน

อ้างอิง

[แก้]
  • 劉新中。海南閩語的語音研究。北京:中國社會科學出版社,2006年4月。ISBN 7500455615
  • Yang, Mingxin (杨明新) (1999). A Concise Cantonese-English Dictionary (简明粤英词典). Guangdong Higher Education Publishing House (广东高等教育出版社). ISBN 7-5361-2350-7.