พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ไต้หวัน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า
民主進步黨
Mínzhǔ Jìnbù Dǎng
ชื่อย่อ民進黨
ประธานCho Jung-tai
เลขาธิการLuo Wen-jia
ก่อตั้ง28 กันยายน 1986; 37 ปีก่อน (1986-09-28)
ที่ทำการสาธารณรัฐจีน ไทเป, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
สถาบันนโยบายNew Frontier Foundation
จำนวนสมาชิก  (ปี 2014)เพิ่มขึ้น 335,643
อุดมการณ์
จุดยืนCentre[3] to centre-left[4]
กลุ่มระดับชาติพันธมิตรฟั่นลวี่ (แนวร่วมสีเขียว)
กลุ่มระดับสากลLiberal International
สี  เขียว
Legislative Yuan
51 / 113
Municipal Mayoralties
2 / 6
City Mayoralties and County Magistracies
3 / 16
Local Councillors
267 / 910
Township Chiefs
35 / 204
เว็บไซต์
dpp.org.tw
ธงประจำพรรค
การเมืองไต้หวัน
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (อังกฤษ: Democrat Progressive Party ย่อ: DPP จีนตัวเต็ม: 民主進步黨; จีนตัวย่อ: 民主进步党) เป็นพรรคการเมืองเสรีนิยมของสาธารณรัฐจีน ซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าถือว่าเป็นพรรคฝ่ายค้าน ที่มีบทบาททางการเมือง ที่ไม่ใช่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเหมือนพรรคก๊กมินตั๋ง จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2559 พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าได้รับเสียงข้างมากในสภาส่งผลให้ไช่ อิงเหวิน กลายเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวัน [5] ทั้ง 2 พรรคมีนโยบายต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องของเอกราชของไต้หวัน

ประวัติ[แก้]

ไช่ อิงเหวิน อดีตประธานาธิบดีสองสมัยของไต้หวัน

ในอดีต บทบาททางการเมืองของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มักจะถูกครอบงำโดยพรรคก๊กมินตั๋ง เนื่องจากพรรคก๊กมินตั๋งมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษาในเกาะไต้หวัน ทำให้ชนะการเลือกตั้งแทบทุกครั้ง พรรคฝ่ายค้านในไต้หวันแทบไม่มีบทบาทใดๆ จนถึงการเลือกตั้งในปี 2529 ประเด็นในเรื่องของอัตลักษณ์ไต้หวันและทวงความเป็นธรรมในเหตุการณ์ 228 ทำให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ที่มีนโยบายเสรีนิยมชูการแยกตัวเป็นอิสระได้มีการสนับสนุนอย่างเป็นวงกว้าง กลายเป็นฝ่ายค้านที่มีบทบาททางการเมืองสามารถแย่งชิงอำนาจกับพรรคก๊กมินตั๋งได้ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันในปี 2000 ผู้สมัครของพรรคเฉิน ฉุ่ยเปี่ยนได้คะแนนเสียงข้างมากเอาชนะพรรคก๊กมินตั๋งกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากฝ่ายค้าน [6] ในยุคของประธานาธิบดีเฉิน ไต้หวันดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาและดำเนินการจัดซื้ออาวุธจากสหรัฐอเมริกา และดำเนินนโยบายที่สนับสนุนเอกราชของไต้หวัน เช่น สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติโดยใช้ชื่อ "ประเทศไต้หวัน" หลีกเลี่ยงใช้คำว่า "สาธารณรัฐจีน"ตามแบบพรรคก๊กมินตั๋ง [7]

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี[แก้]

การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คู่สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2539 เผิง มิงก์-มิน แฟรงก์ เชย์ 2,274,586 21.13% พ่ายแพ้
2543 เฉิน ฉุ่ยเปี่ยน แอนเน็ต ลู 4,977,737 39.30% ได้รับเลือกตั้ง
2547 6,446,900 50.11% ได้รับเลือกตั้ง
2551 แฟรงก์ เชย์ ซู เจิง-ชาง 5,445,239 41.55% พ่ายแพ้
2555 ไช่ อิงเหวิน ซู เจีย-เฉวียน 6,093,578 45.63% พ่ายแพ้
2559 เฉิน เชียง-เจ็น
( นักการเมืองอิสระ)
6,894,744 56.12% ได้รับเลือกตั้ง
2563 ไล่ ชิงเต๋อ 8,170,231 57.13% ได้รับเลือกตั้ง
2567 ไล่ ชิงเต๋อ เซียว เหม่ย์ฉิน 5,585,097 40.05% ได้รับเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติสาธารณรัฐจีน[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผู้นำเลือกตั้ง สถานภาพพรรค
2532
21 / 130
หวง ซิ่น-เจี้ย เสียงส่วนน้อย
2535
51 / 161
2,944,195 31.0% เพิ่มขึ้น 30 ที่นั่ง ซู ชิน-เหลียง เสียงส่วนน้อย
2538
54 / 164
3,132,156 33.2% เพิ่มขึ้น 3 ที่นั่ง ชิห์ มิงก์-เทห์ เสียงส่วนน้อย
2541
70 / 225
2,966,834 29.6% เพิ่มขึ้น 16 ที่นั่ง หลิน ยี่-สวง เสียงส่วนน้อย
2544
87 / 225
3,447,740 36.6% เพิ่มขึ้น 21 ที่นั่ง เฉิน ฉุ่ยเปี่ยน เสียงส่วนน้อย
2547
89 / 225
3,471,429 37.9% เพิ่มขึ้น 2 ที่นั่ง เสียงส่วนน้อย
2551
27 / 113
3,775,352 38.2% ลดลง 62 ที่นั่ง เสียงส่วนน้อย
2555
40 / 113
4,556,526 34.6% เพิ่มขึ้น 13 ที่นั่ง ไช่ อิงเหวิน เสียงส่วนน้อย
2559
68 / 113
5,370,953 44.1% เพิ่มขึ้น 28 ที่นั่ง เสียงส่วนมาก
2563
61 / 113
4,811,241 33.98% ลดลง 7 ที่นั่ง โช จุง-ไท เสียงส่วนมาก
2567
51 / 113
ลดลง 10 ที่นั่ง เสียงส่วนน้อย

อ้างอิง[แก้]

  1. van der Horst, Linda (6 January 2016). "The Rise of Taiwan's 'Third Force'". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Casey, Michael (12 June 2016). "Time to Start Worrying about Taiwan". The National Interest. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
  3. Fell, D. & Wu, C. East Asia (2006) 23: 3. https://doi.org/10.1007/s12140-006-0001-6
  4. "Hurry up: Taiwan's president has upset both business and workers". The Economist. 26 May 2018. สืบค้นเมื่อ 25 June 2018.
  5. http://www.tnamcot.com/content/382123
  6. http://myfirstbrain.com/student_view.aspx?id=89916
  7. http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000110932[ลิงก์เสีย]