ผู้ใช้:Larazhivago/อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(ร่าง) อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย[แก้]

ดาราวรรณ-2542 [1]

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยเป็นหนึ่งในภาคส่วนอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง [2] มีคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ส่งเสริมอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งครอบคลุมธุรกิจสาขาต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ การผลิตและแพร่ภาพกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์ เกมและแอนิเมชั่น การโฆษณา ดนตรี สาระบันเทิงสําหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น การเตรียมการถ่ายทํา งานหลังการถ่ายทํา และสถานที่ถ่ายทําภาพยนตร์

REF Aliosha !!![3]


มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ (และวีดิทัศน์) ในปี 2552 (ไม่รวมรายได้จากธุรกิจเกี่ยวเนื่อง) จํานวน 56.2 หมื่นล้านบาท ปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 77.5 หมื่นล้านบาท และในปี 2557 57.7 หมื่นล้านบาท และประมาณ 4 แสนล้านบาท (รวมเกมออนไลน์ ธุรกิจเพลง ภาพยนตร์ออนไลน์ บริการที่เกี่ยวข้อง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และแอปพลิเคชั่น)[4]

ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยมีปัญหาหลัก 3 ด้าน [2] ได้แก่ การขาดหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร การไม่บูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการละเมิดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการขาดเนื้อหา (เรื่อง) และบทภาพยนตร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และขาดงานวิจัยด้านภาพยนตร์เพื่อการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรม [5][4]


ภาพยนตร์ไทย[แก้]

ยุคของภาพยนตร์ไทย สามารถแบ่งวิวัฒนาการของภาพยนตร์ไทยตามบริบททางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เป็น 6 ยุค ดังนี้[6]

  1. 1. ยุคเริ่มต้นของภาพยนตร์ไทย (พ.ศ.2540-2559)
  2. 2. ยุคบุกเบิกของภาพยนตร์ไทย (พ.ศ.2460-2499)
  3. 3. ยุคดารายอดนิยม (พ.ศ.2500-2512)
  4. 4. ยุคภาพยนตร์สะท้อนสังคม (พ.ศ.2513-2525)
  5. 5. ยุคภาพยนตร์วัยรุ่นและแนวตลาด (พ.ศ.2520-2539)
  6. 6. ยุคภาพยนตร์คลื่นลูกใหม่ (พ.ศ.2540-ปัจจุบัน)

การสร้างภาพยนตร์ไทยด้วยคนไทยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 หลังจากชาวต่างประเทศนำภาพยนตร์เข้ามาฉายในประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 [7]

การสร้างภาพยนตร์ได้ปรับเปลี่ยนไปตามรสนิยมของการดูภาพยนตร์ของคนไทย ยุคใหม่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 กลุ่มเป้าหมายเริ่มเน้นที่วัยรุ่น ในช่วงปี พ.ศ. 2531-2540 การทำรายได้ต่อเรื่องอยู่ระดับ 20-70 ล้านบาทต่อเรื่อง หลังจากนั้นก็สามารถทำรายได้สูงขึ้นในระดับ 70-500 ล้านบาทต่อเรื่อง

พ.ศ. 2440 - 2459 : ยุคเริ่มต้น[แก้]

ภาพยนตร์ นางสาวสุวรรณ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาส ณ สิงคโปร์ และชวา ในปี พ.ศ. 2439 ด้วยกล้องคิเนโตสโคปของเอดิสัน ซึ่งมีผู้นํามาถวาย ณ ตําหนักที่ประทับในสิงคโปร์ จากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2440 เอส.จี. มาร์คอฟสกี (S. G. Markovsky) ชาวฝรั่งเศสได้นําภาพยนตร์เรื่องแรก Parisian Cinematograph เข้ามาฉายในประเทศไทย ที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ และได้เริ่มถ่ายทําภาพยนตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 5 ในลักษณะ เร่ฉาย [1]: 54 [6] เก็บค่าดูเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเรียกกันว่า หนังฝรั่ง [8][9] ใน ปี พ.ศ. 2446 คณะภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นนำภาพยนตร์เข้ามาดำเนินกิจการโรงภาพยนตร์ จัดตั้งโรงฉายถาวรโรงแรก บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง จกระทั่งในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2453 ได้รับชื่อพระราชทาน "โรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นหลวง" (Royal Japanese Cinematography) จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 [1]: 55–57 

พ.ศ. 2460 - 2499 : ยุคบุกเบิก[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ภาพยนตร์ได้ถูกใช้ในการเผยแพร่กิจการกรมรถไฟและการท่องเที่ยวในรูปแบบของภาพยนตร์ข่าวสารและสารคดี โดยกองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าวในกรมรถไฟหลวง ภายใต้การบัญชาการของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ในรัชกาลที่ 6

ภาพยนตร์เงียบ นางสาวสุวรรณ เป็นภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงที่ถ่ายทําในประเทศไทยเป็นเรื่องแรก คนไทยแสดงทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2466 โดยคณะจากบริษัทยูนิเวอร์แซล (ปัจจุบัน ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์) เฮนรี เอ แมคเร (Henry A. MacRae) ชาวแคนาดาเป็นผู้กํากับการแสดงและเขียนบท ใช้เวลา 1 ปี 3 เดือนในการถ่ายทำ บริษัทสยามภาพยนตร์ไดนำภาพยนตร์ออกฉายให้ประชาชนเป็นครั้งแรก นำรายได้บำรุงสภากาชาดสยาม [6][1]: 62 [10]

อีกสองปีต่อมา ก็มีคณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดเดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ช้าง และคนไทยได้รับชมในราวกลางปี พ.ศ. 2571 [1]: 68–69 

ในปี พ.ศ. 2470 ประเทศไทยมีภาพยนตร์ไทยที่ผลิตโดยคนไทยเป็นเรื่องแรก เรื่อง โชคสองชั้น ถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) ซึ่งเป็นหัวหน้าถ่ายทําภาพยนตร์ กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟหลวง และกำกับการแสดงโดยหลวงอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) [6][1]: 65  โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์เงียบ และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกเพื่อการค้า ออกฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร CITE!!!

 หลังจากนั้นก็มีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่เกิดขึ้นในยุคเริ่มต้นของภาพยนตร์เสียงในฟิล์มของฮอลลีวูด (พ.ศ. 2471) เริ่มมีการนำเข้าอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม CITE!!! [9] ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทยเพื่อการค้าของไทยเป็นภาพยนตร์ หลงทาง (พ.ศ. 2475) และรัฐบาลใช้ในการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 [1]: 58  ในช่วงปี พ.ศ. 2473-76 ได้มีการสร้างโรงภาพยนตร์แห่งแรกของไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานชื่อว่า  "ศาลาเฉลิมกรุง" และเปิดฉายภาพยนตร์รอบปฐมฤกษ์เรื่อง มหาภัยใต้ทะเล ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 [1]: 69 

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ภาพยนตร์ไทยได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ของรัฐบาล การโน้มน้าวเพื่อปลูกฝังความคิด ส่งเสริมความรักชาติ ส่งเสริมการรู้หนังสือ การเกษตรกรรม และการเผยแพร่ประวัติศาสตร์แก่ชาวต่างชาติ [6][1]{{rp|แม่แบบ:71-72

ในยุคนี้ได้เกิดบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์และอาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริษัทเสียงศรีกรุง CITE!!! บริษัทไทยฟิล์ม อาชีพพากษ์เสียงไทยให้กับภาพยนตร์นำเข้า เช่น เรื่องแรกที่พากย์ไทยในภาพยนตร์อินเดีย อาบูหะซัน [11] ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย เช่น บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์ เริ่มเห็นว่า การสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลงทุนมาก คือ ใช้วิธีถ่ายทำโดยไม่บันทึกเสียง หลังจากนั้นจึงจ้างการพากย์เสียงในภายหลัง CITE!!! CHECK!!!

ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2483 การสร้างภาพยนตร์จำเป็นต้องใช้ฟิล์ม 16 มม. เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขาดแคลนฟิล์มขนาด 35 มม. การสร้างต้องหยุดชะงักในช่วงปลายสงคราม [1]: 70  แต่ก็มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่นเข้าสู่วงการมากขึ้น [1]: 65–71 

พ.ศ. 2500 - 2512 : ยุคดารายอดนิยม[แก้]

ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ปี พ.ศ. 2502-2506) ทําให้การผลิตภาพยนตร์มุ่งเน้นการเติบโตของระบบธุรกิจและผลกําไรจากคนดู โดยเฉพาะคนดูในต่างจังหวัด [6]

ภาพยนตร์ เขาชื่อกานต์ (2516)


CHECK!!! ช่วง 15 ปีนี้เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ดาราผู้แสดงนำและนักพากย์เป็นปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์ในยุคนี้ [12] CHECK!!!

พ.ศ. 2513 - 2525 : ยุคภาพยนตร์สะท้อนสังคม[แก้]

ในช่วงปี พ.ศ. 2513 - 2525 ภาพยนตร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการนําเสนอประเด็นทางสังคมมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณืและบริบทของสังคม 3 ประการ (อัญชลี ชัยวรพร) [6] คือ สังคมในยุคสงครามเวียดนามที่เน้นแนวคิดเรื่องเสรีภาพนิยม ยุคของการต่อสู้และต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารของนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 และการมีผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาด้านภาพยนตร์ทั้งจากในและต่างประเทศ เช่น หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เปี๊ยก โปสเตอร์ และยุทธนา มุกดาสนิท เป็นต้น


จนถึงราวปี พ.ศ. 2529 เป็นช่วงที่ภาพยนตร์สะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด [13] การสร้างเปลี่ยนจากภาพยนตร์ 16 มม. พากย์สด ไปเป็นขนาด 35 มม. เสียงในฟิล์ม ผลจากเงื่อนไขของการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของรัฐบาล[9] ในสมัยรัฐบาลธานินทร์ มีมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ ส่งผลให้การนำเข้าต้องชะลอชั่วคราว มีการผลิตภาพยนตร์ไทยเพิ่มถึงปีละ 160 เรื่อง

ภาพยนตร์ที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ โทน, เขาชื่อกานต์, ตลาดพรหมจารี [13], เทพธิดาโรงแรม, เทวดาเดินดิน [13], ครูบ้านนอก เทพธิดาบาร์ 21 น้ำค้างหยดเดียว เมืองขอทาน เป็นต้น

พ.ศ. 2520 - 2539 : ยุคภาพยนตร์วัยรุ่นและแนวตลาด[แก้]

ยุคนี้เริ่มต้นของเศรษฐกิจทุนนิยมที่วงการภาพยนตร์ไทยต้องรับมืออย่างหนักการพัฒนาการของโทรทัศน์และการเข้ามาของภาพยนตร์ฮอลลีวูด ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของภาพยนตร์ไทย การนําเสนอภาพยนตร์ไทยจึงมุ่งเน้นเนื้อหาวัยรุ่นและแนวตลาด โดยได้มีบริษัทผลิตภาพยนตร์ไทยที่ผลิตภาพยนตร์วัยรุ่นเกิดขึ้นอย่างบริษัท ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในปี พ.ศ.2528 ประสบความสำเร็จกับภาพยนตร์ กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ [6]

และได้มีการผลิตภาพยนตร์โดยบริษัทเพลงอย่างบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์  (จักรยานสีแดง (2540)) และอาร์เอส โปรโมชั่น (โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (2538)) นอกจากนี้ภาพยนตร์แนว 'หนังตลาด' ได้เกิดขึ้น ได้แก่ แนวบู๊ ตลก ชีวิต และผี บ้านผีปอบ 

พ.ศ. 2530 - 2556 : ยุคใหม่และการแข่งขัน[แก้]

การสร้างภาพยนตร์ไทยได้ปรับปรุงทางคุณภาพดีขึ้น จนสามารถเทียบได้กับมาตรฐานของฮ่องกง แต่จำนวนการสร้างก็ลดลงจากมากกว่า 100 เรื่องในปี พ.ศ. 2533 เหลือเพียงราว 30 เรื่องในปี พ.ศ. 2539 แต่รายได้ต่อเรื่องสูงขึ้นจากระดับ 20-30 ล้านบาทในปี 2531-2534 เป็น 50-70 ล้านบาทต่อเรื่องในปี 2537-2540

พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน : ยุคภาพยนตร์คลื่นลูกใหม่[แก้]

ประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ส่งผลให้การผลิตภาพยนตร์ไทยตกตํ่าลงจากปีละ 18 เรื่องในปี 2540 เป็น 10 เรื่องในปี 2542 อย่างไรก็ตามวิกฤตก็ได้ส่งผลต่อการผลิตภาพยนตร์ไทยในยุคคลื่นลูกใหม่นี้ โดยมีความแตกต่าง สร้างสรรค์ พิถีพิถันและมีการพัฒนาไปอย่างมากทั้งในด้านเนื้อหาการนําเสนอ เทคนิค และบุคลากรที่เข้ามาในวงการภาพยนตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางและมาจากวงการโฆษณาที่มีใจรักในการทําภาพยนตร์ไทย เช่น นนทรีย์ นิมิบุตร (2499 อันธพาลครองเมือง ปี 2540), นางนาก ปี 2542), เป็นเอก รัตนเรือง (ฝัน บ้า คาราโอเกะ ปี 2540), วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง (ฟ้าทะลายโจร ปี 2543), ธนิตย์ จิตนุกูล (บางระจัน ปี 2543), ยงยุทธ ทองกองทุน (สตรีเหล็ก ปี 2544), และ ยุทธเลิศ สิปปภาค (มือปืน/โลก/พระ/จัน ปี 2544)

ภาพยนตร์ในยุคนี้ยังได้เข้าประกวดและส่งออกไปจัดจําหน่ายยังตลาดภาพยนตร์ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และได้รับความนิยมและคําวิจารณ์ในด้านบวก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด (Tropical Malady) ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ ได้รับรางวัล Jury Prize เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)

ภาพยนตร์ไทยทำรายได้สูงขึ้น ภาพยนตร์ที่ทำรายได้ในช่วง 70-500 ล้านบาท ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2548 ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในต่างประเทศ ได้แก่ เรื่อง ต้มยำกุ้ง (2548), Goal Club เกมล้มโต๊ะ (2544), สุริโยไท (ปี 2544), จัน ดารา, บางระจัน (2543), ขวัญเรียม, 14 ตุลา สงครามประชาชน (2544) และ บางกอกแดนเจอรัส (ปี 2543), เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล (ปี 2546) และ เพื่อน...กูรักมึงว่ะ (ปี 2550) [14], พี่มาก..พระโขนง (ปี 2556)

การถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย[แก้]

ฮอลลีวู้ดมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่สร้างในประเทศไทย คือ นางสาวสุวรรณ (พ.ศ. 2466) กำกับโดยเฮนรี แม็กเร (Henry MacRae) เป็นผลงานการผลิตจากฮอลลีวูดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ให้ใช้ทรัพย์สินส่วนพระองค์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการผลิตภาพยนตร์ ได้แก่ รถยนต์ 52 คัน ม้า 600 ตัว และอนุญาตให้ใช้สถานที่ของกองทัพเรือไทย พระบรมมหาราชวัง ทางรถไฟ โรงสีข้าว ทุ่งนา สวนมะพร้าว คลอง และช้างจำนวนหนึ่ง [15]

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ช้าง (อังกฤษ: Chang: A Drama of the Wilderness) (พ.ศ. 2470)[16] โดยผู้กำกับเมเรียน ซี. คูเปอร์ และเอิร์นเนส บี. สโคดแซ็ก (Merian C. Cooper and Ernest B. Schoedsack) ก็มีการถ่ายทำในประเทศไทย [15] ภาพยนตร์ ช้าง ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล อะแคเดมีอะวอร์ด สาขาภาพยนตร์ศิลปะที่ไม่แตกต่าง (Unique and Artistic Production) ในปี พ.ศ. 2472 [17]

ในช่วงไม่กี่ปีนี้ ก็มีบอลลีวู๊ดจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดียได้เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำ

ในปี พ.ศ. 2548 สำนักงานภาพยนตร์ไทยได้รายงานว่ามีภาพยนตร์ต่างประเทศจำนวน 497 เรื่องถ่ายทำในประเทศไทย และมีรายได้ 1.14 พันล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นภาพยนตร์ประเภทสารคดี 248 เรื่อง, โฆษณา 188 เรื่อง, ภาพยนตร์เรื่องยาว 21 เรื่อง, โทรทัศน์ซีรีส์ 13 เรื่อง, และมิวสิควิดีโอ 27 เรื่อง โดยภาพยนตร์ต่างประทศที่ถ่ายทำในไทยมากที่สุดคือ คือ ญี่ปุ่น (161 เรื่อง) ยุโรป (105 เรื่อง) สหรัฐ (23 เรื่อง) และออสเตรเลีย (20 เรื่อง) [18]

บุคคลและเหตุการณ์สำคัญในอุตสาหกรรม[แก้]

  • พ.ศ. 2443: เอส.จี. มาร์คอฟสกี ชาวฝรั่งเศสได้นําภาพยนตร์เรื่องแรก Parisian Cinematograph เข้ามาฉายในประเทศไทย ที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ และได้เริ่มถ่ายทําภาพยนตร์ในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2474: พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2474 ในสมัยรัชกาลที่ 6 [1]: 75 
  • พ.ศ. 2475: ภาพยนตร์ หลงทาง เป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทยเพื่อการค้า และใช้ในการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
  • พ.ศ. 2481: รัตน์ เปสตันยี ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพยนตร์ต่างประเทศ จากภาพยนตร์สั้น แตง โดยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งเมืองกลาสโกล์ว (Scottish Amateur Film Festival) ประเทศสก๊อตแลนด์
  • พ.ศ. 2496: ภาพยนตร์สันติ-วีณา กำกับโดยมารุต อำนวยการสร้างโดยรัตน์ เปสตันยี ได้รับ 3 รางวัลจากการประกวดนานาชาติแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ที่ประเทศญี่ปุ่น คือ รางวัลด้านถ่ายภาพ กำกับศิลป์ และการเผยแพร่วัฒนธรรมประจำชาติ [1]: 72 
  • พ.ศ. 2510: เริ่มก่อตั้งสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย [1]: 73 

ความเคลื่อนไหวและโครงการ[แก้]

  • 2560 : กระทรวงพาณิชย์ ผลักดันไทยเป็นฮับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และให้สิทธิประโยชน์ 15-20% กับภาพยนตร์และสื่อโทรทัศน์ที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย และให้มีผลปี พ.ศ. 2560 [20]

การวิพากย์ภาพยนตร์[แก้]

วันทนีย์ REF [21]

อัญชลี REF [22]

สถิติการรับชมภาพยนตร์ในประเทศ[แก้]

ความนิยมของการรับชมภาพยนตร์ของคนไทยโดยจำแนกตามตระกูลภาพยนตร์ (Film genre) อาจพิจารณาที่สถิติการทำรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศใน 25 อันดับแรก [23] พบว่าเป็นภาพยนตร์ประเภทซูเปอร์ฮีโรทำรายได้มากที่สุด รองลงมาคือ แฟนตาซี ผจญภัย โรแมนติก สยองขวัญ และ/หรือตลก ตามลำดับ เป็นภาพยนตร์จากสหรัฐ 21 เรื่อง (84%) ไทย 3 เรื่อง (12%) และสหราชอาณาจักร 1 เรื่อง (4%)

รายชื่อภาพยนตร์ต่อไปนี้ หากไม่ระบุอย่างอิ่นเป็นภาพยนตร์จาก แม่แบบ:Country data ๊USA
ลำดับ เรื่อง ปี ค.ศ. ประเทศ หมายเหตุ
1. Avengers: Infinity War 2561 superhero film US 585 ล้านบาท
2. The Fate of the Furious 2560 action film 305 ล้านบาท
3. Jurassic World: Fallen Kingdom 2561 science fiction adventure film US
4. Black Panther 2561 superhero film US
5. Fast & Furious 7 (หรือ Furious 7) 2558 action film US 430 ล้านบาท
6. Avengers: Age of Ultron 2558 superhero film US
7. Transformers: Age of Extinction 2557 science fiction action film US 313 ล้านบาท
8. Jurassic World 2558 science fiction adventure film US
9. Captain America: Civil War 2559 superhero film US 390 ล้านบาท
10. Transformers: Dark of the Moon 2554 3D science fiction action film US 317 ล้านบาท
11. Fast & Furious 6 2556 action film US
12. พี่มาก..พระโขนง 2556 590 ล้านบาท
13. Iron Man 3 2556 superhero film US
14. Deadpool 2 2561 superhero film US
15. The Twilight Saga: Breaking Dawn – Part 2 2555 romantic drama fantasy film US
16. Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 2554 fantasy film UK
17. I Fine..Thank You..Love You 2557 Thai romantic comedy film ไทย 328 ล้านบาท
18. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 5 ยุทธหัตถี 2557 History film 205 ล้านบาท
19. Spider-Man: Homecoming 2560 superhero film US
20. 2012 วันสิ้นโลก 2552 epic science fiction disaster film US
21. Transformers: The Last Knight 2560 science fiction action film US
22. Thor: Ragnarok 2560 superhero film US
23. X-Men: Apocalypse 2559 superhero film US ต่ำสุด 103 ล้านบาท
24. The Amazing Spider-Man 2 2558 superhero film US
25. Guardians of the Galaxy Vol. 2 2559 superhero film US


องค์การที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ภาครัฐและในกำกับ[แก้]

กรมการท่องเที่ยว
- กองกิจการภาพยนตร์
หอภาพยนตร์
กรมประชาสัมพันธ์

สมาคม ชมรม[แก้]

สมาคมหรือชมรมในอดีต

เทศกาลภาพยนตร์[แก้]


สถาบันการศึกษาทางภาพยนตร์[แก้]

สถาบัน คณะ / วิทยาลัย ปริญญา สาขาวิชาเอก สาขาวิชารอง หมายเหตุ
สจล. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศป.บ. ภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย กลุ่มวิชาศิลปกรรม
มศป. คณะนิเทศศาสตร์ นศ.บ. ภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
มศป. คณะนิเทศศาสตร์ นศ.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ Cinema and Digital Media Production
มศว. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ศศ.บ การแสดงและกำกับการแสดงผ่านสื่อ Acting and Directing for Cinema [29]
มศว. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ศศ.บ การผลิตงานภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล Cinema and Digital Media Production [29]
มศว. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ศศ.บ การออกแบบเพื่องานภาพยนตร์ Production Design for Cinema and Digital Media [29]

สื่อและสิ่งพิมพ์[แก้]


วารสารวิชาการ
วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม ISSN 1906-6988 1
วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ ISSN] 1906-6988 2


เขิงอรรถ[แก้]

1.^ วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ – สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ รายครึ่งปี ตั้งแต่ปี 2555 (ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI) ISSN: 1906-6988 (พิมพ์), 2586-9078 (ออนไลน์) เว็บไซต์
2.^ วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต – เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2539. ISSN: 0858-6160 (พิมพ์), 2408-2023 (ออนไลน์) เว็บไซต์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 บำรุงธรรม, ดาราวรรณ (2542). ความคิดเห็นและความพอใจของคนกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  2. 2.0 2.1 แก้วมณี, เรวดี. "อุตสาหกรรมสื่อบันเทิง..The Star ในกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์" (PDF). กองนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. Herrera, Aliosha (2015). "Thai 16mm Cinema: The Rise of a Popular Cinematic Culture in Thailand from 1945 to 1970" (PDF). Rian Thai Journal. 8: 27–62.
  4. 4.0 4.1 "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๖o-๒๕๖๔)" (PDF). สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. 2559. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)" (PDF). สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. 2554. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 หลุยยะพงศ์, กำจร; หินวิมาน, สมสุข (2551). ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2547): กรณีศึกษาตระกูลหนังผี หนังรัก และหนังยุคหลังสมัยใหม่. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. p. 24-32.
  7. สมบุญเกิด, จันทิรา (2552). แนวโน้มภาพยนตร์์ไทยเพื่อการส่งออกสู่ต่างประเทศ กรณีศึกษาเทศกาลภาพยนตร์์นานาชาติปูซาน (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  8. [https://books.google.com/books?id=8DNaDwAAQBAJ&pg=PAPT19 บันทึกเรื่องเก่าเล่าอดีต ], p. PT19, ที่ Google Books
  9. 9.0 9.1 9.2 สุขวงศ์, โดม. "หนึ่งศตวรรษภาพยนตร์ในประเทศไทย". thaifilm.com. มูลนิธิหนังไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2559.
  10. Miss Suwanna of Siam (1923) ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
  11. ประวัติของ พรานบูรพ์ (2) โดย คีตา พญาไท 22 มีนาคม 2547 18:39 น.
  12. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2513
  13. 13.0 13.1 13.2 อัญชลี ชัยวรพร, หนังไทยกับการสะท้อนภาพสังคม (2516 - 2529)
  14. “พจน์ อานนท์”เป็นปลื้ม“เพื่อน...กูรักมึงว่ะ”คว้ารางวัล“หนังยอดเยี่ยม”ที่เบลเยี่ยม
  15. 15.0 15.1 "สำนักงานภาพยนตร์แห่งประเทศไทย - ประวัติ". Thailandfilmoffice.org. กรมการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. Chang: A Drama of the Wilderness ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส}
  17. "The 1st Academy Awards". Oscars.org. The Academy of Motion Picture Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018. {{cite web}}: ข้อความ "1929" ถูกละเว้น (help)
  18. Corben, Ron. "Thai Empire Strikes Back" เก็บถาวร 2006-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Asia Image (retrieved July 17, 2006).
  19. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๔๑ ก, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๒, 22 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561.
  20. "วาง 7 ยุทธศาสตร์ดันไทยเป็นฮับอุตสาหกรรมภาพยนตร์". www.moneychannel.co.th. Money Channel. 16 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561. นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า กำลังเร่งบูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานผลักดันธุรกิจบริการด้านภาพยนตร์เพื่อสร้างรากฐานแห่งการเป็นศูนย์กลางสำหรับ Production และ Post-Production ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากปีที่ผ่านมามีจำนวนภาพยนตร์ที่ใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำเพิ่มขึ้นถึง 15% {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร (2557). การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเทอร์เน็ต เล่ม 3 (รายงานผลการวิจัย) (PDF) (Report) (สาขาทัศนศิลป์ ed.). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. p. 172. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. อัญชลี ชัยวรพรม; สุทธิพงศ์ นุกูลเอื้ออำรุง (2557). การวิจารณ์ภาพยนตร์: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเทอร์เน็ต. เล่ม 5 ภาพยนตร์ (PDF) (Report). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. p. 232. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. "THAILAND - All Time Openings". Boxofficemojo.com. บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "มูลนิธิหนังไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2018.
  25. "ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย - มูลนิธิหนังไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2018.
  26. BGLFF โดยนิตยสาร Attitude
  27. [https://www.facebook.com/ThaiShortFilmVideoFestival/ เทศกาลภาพยนตร์สั้น บนเฟสบุ๊ก]
  28. เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ บนเฟสบุ๊ก
  29. 29.0 29.1 29.2 "หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555)". มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


[[หมวดหมู่:อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย]] [[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไทย]]