ข้ามไปเนื้อหา

นางชฎา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางชฎา
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยบริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
เขียนโดยภาคินัย กสิรักษ์
กำกับโดยนิว ชนัญญาภัค
แสดงนำกันต์ กันตถาวร
ดาวิกา โฮร์เน่
อัทธนียา เอี่ยมวสันต์
พีรกร โพธิ์ประเสริฐ
ปรียาดา สิทธาไชย
ประชากร ปิยะสกุลแก้ว
ทองภูมิ สิริพิพัฒน์
จักรพันธ์ วงศ์คณิต
ศุภากร ประทีปถิ่นทอง
ญาณิกา ทองประยูร
รวิช ไรวินท์
ธัญญา รัตนมาลากุล
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องห้องเสียงประเสริฐ
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดคิดถึง - ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา
ดนตรีแก่นเรื่องปิดคิดถึง - บอย พีชเมคเกอร์
ภาษาต้นฉบับประเทศไทยภาษาไทย
จำนวนตอน17 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างอรพรรณ วัชรพล
สถานที่ถ่ายทำประเทศไทย ประเทศไทย
ความยาวตอน130 นาที/ตอน พ.ศ.2558

120 นาที/ตอน (รีรัน) พ.ศ.2559

125 นาที/ตอน (รีรัน) พ.ศ.2564 ต้นปี

60 นาที/ตอน (รีรัน) พ.ศ.2564 ปลายปี

50 นาที/ตอน (รีรัน) พ.ศ.2567
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD , สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ออกอากาศ25 มีนาคม พ.ศ. 2558 - 20 พฤษภาคมพ.ศ. 2558 ตอนจบ

24 มีนาคม พ.ศ. 2559 (รีรัน) - 22 เมษายน พ.ศ. 2559 ตอนจบ

13 มกราคม พ.ศ. 2564 (รีรัน) - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ตอนจบ

15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (รีรัน) - 16 มกราคม พ.ศ.2565 ตอนจบ

8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (รีรัน) - 17 ตุลาคม 2567

นางชฎา เป็นละครโทรทัศน์ไทยที่สร้างขึ้นจากบทประพันธ์ของ ภาคินัย (ภาคินัย กสิรักษ์) ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์โดย สวิตตา นำแสดงโดย กันต์ กันตถาวร,ดาวิกา โฮร์เน่,อัทธนียา เอี่ยมวสันต์,ประชากร ปิยะสกุลแก้ว,ทองภูมิ สิริพิพัฒน์,ปรียาดา สิทธาไชย,ญาณิกา ทองประยูร,จักรพันธ์ วงศ์คณิต และนักแสดงมากฝีมืออีกมากมาย กำกับการแสดงโดย นิว ชนัญญาภัค และได้ กฤษฎา เตชะนิโลบล มาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง (เนื่องจากมีปัญหาทางสุขภาพจึงทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้กำกับแทน) สร้างโดย บริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด อำนวยการผลิตโดย อรพรรณ วัชรพล ลงเสียงประกอบโดย ห้องเสียงประเสริฐ เริ่มตอนแรกวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558 และจบวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ออกอากาศทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.20 น. - 22.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ภายหลังได้มีการนำละครเรื่องนี้มาออกอากาศซ้ำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2559 โดยออกอากาศในเวลา 14.00 - 16.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เริ่มตอนแรกตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น ก็นำมารีรันอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2564 ช่วงต้นปี เวลา 09.30 - 11.25 น. ตั้งแต่ วันที่ 13 มกราคม และจบ 4 กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นไม่นาน ช่วงปลายปี พ.ศ.2564 ได้มีการนำมารีรันในเวลา 18.45 - 19.45 น. ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2564 ถึง 16 มกราคม พ.ศ.2565 หลังจากนั้นได้นำมารีรันอีกครั้ง ในเวลา 21.40 - 22.30 น. ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2567 เป็นต้นไป

นางชฎา เป็นละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในปี 2558[1] มีเรตติ้งเฉลี่ยทุกตอน ที่ 11.465 ถือเป็นละครที่มีเรตติ้งสูงสุดอันดับ 3 รองจาก บุพเพสันนิวาส และ นาคีนับตั้งแต่มีทีวีดิจิทัล[2][3]

นักแสดง

[แก้]
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558
ตัวละคร นักแสดงหลัก
ออกอากาศทาง ช่อง 7HD
ผลิต โดย โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทเมนต์จำกัด
บทประพันธ์ ภาคินัย
บทโทรทัศน์ สวิตตา
กำกับการแสดง นิว ชนัญญาภัค
ตัวละคร นักแสดง
ริลณี รักถิ่น (ริน) ดาวิกา โฮร์เน่
ชมพูนุช ทวีสินธุ์ (ชมพู) อัทธนียา เอี่ยมวสันต์
เตชิน พงศ์ดิลก กันต์ กันตถาวร
ปริมลดา ปิ่นแก้ว (ดา) ปรียาดา สิทธาไชย
เอกราช ดิศดำรงกุล ประชากร ปิยะสกุลแก้ว
ตุลเทพ เศวตาชัย ทองภูมิ สิริพิพัฒน์
ประวิทย์ จิตติพัทธ์ จักรพันธ์ วงศ์คณิต
เอทีเอ็ม รักถิ่น พีรกร โพธิ์ประเสริฐ
ช่อดอกเฟื่องฟ้า รักถิ่น (เฟื่องฟ้า) ธัญญา รัตนมาลากุล
ชัชวาล แซ่อึ้ง (ชัช) รวิช ไรวินท์
หงส์หยก แซ่เล้า ญาณิกา ทองประยูร
เชิงชาย จริยวรรณ ศุภากร ประทีปถิ่นทอง
บทบาท นักแสดงสมทบ
อาจารย์นาฏ กลิ่นกุหลาบหิรัญ พิศมัย วิไลศักดิ์
คุณหญิงจิตรา พงศ์ดิลก สาวิตรี สามิภักดิ์
พลเอก ณรงค์ พงศ์ดิลก ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล
พิชัย ทวีสินธุ์ ทนงศักดิ์ ศุภการ
พิสมัย ทวีสินธุ์ ภัทรา ทิวานนท์
หมูหวาน ทองเอก สุธิดา หงษ์สา
สมหมาย ทองเอก กล้วย เชิญยิ้ม
สร้อย พรรณมุกดา จอย ชวนชื่น
น้าไหว สมเจต พยัฆโส
ยามกล้า สุเทพ สีใส
พี่โต้ง วิฑูรย์ ลิ่วลักษณ์
บทบาท นักแสดงรับเชิญ
พระอาจารย์คง ยอดชาย เมฆสุวรรณ
หมอผีเจ๋ง บุ๋มบิ๋ม สามโทน
อาจารย์ดำ เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์

ภาคต่อ

[แก้]

จะใช้ชื่อเรื่องว่า นางชฏา 2

ตัวละคร นักแสดงหลัก
ริลณี / ผีริน ดาวิกา โฮร์เน่
ทิว เกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์
พระพาย ชรินพร เงินเจริญ
ตัวละคร นักแสดงสมทบ
เฟย์ สุชานุช ธรรมวงศ์
เนเน่ นีรชา ดอร์ลิ่ง
เอิร์ท สุเมธา รอยสี
เซนต์ วิชญพงศ์ เอี่ยมสะอาด
อีฟ ปัณชญา สุวรรณกูฏ
เฟิร์ส นวบดินทร์ สัณหวัณภัคดี
องุ่น ปริตา ไชยรักษ์
เคน นิธิ อยู่คง

เพลงประกอบละคร นางชฎา

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จับทางละครปี 2015
  2. บทสรุป “บุพเพสันนิวาส”
  3. "ส่องละครไทยที่ทำสถิติเรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่องสูงสุด ปี 2558-2561". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-19. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.