ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า
แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ
มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้วย[1]
ชนิดของปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน
[แก้](อาทิ)[2]
- วงศ์ปลาฉลาม
- ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลากราย
- วงศ์ปลาตูหนา
- ปลาสะแงะ (Anguilla bengalensis)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลาตะเพียน
- ปลาซิวหนวดยาว (Esomus metallicus)
- ปลาฝักพร้า (Macrochirichthys macrochirus)
- ปลาสะนาก (Raiamas guttatus)
- ปลาพลวง (Neolissochilus stracheyi)
- ปลาเวียน (Tor tambroides)
- ปลาเวียนทอง (Tor putitora)
- ปลาไส้ตันตาแดง (Cyclocheilichthys apogon)
- ปลาตะพากส้ม (Hypsibarbus malcoimi)
- ปลาตะพากสาละวิน (Hypsibarbus salweenensis)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาหางเหลือง (Mystacoleucus argenteus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาหนามหลัง (Mystacoleucus marginatus)
- ปลาไข่ออง (Osteobrama spp.)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus vittatus)
- ปลากระสูบสาละวิน (Hampala salweenensis)**ปลาท้องถิ่น
- ปลามะไฟ (Puntius stolitzkaenus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลากาดำ (Epalzeorhynchos chrysophekadion)
- ปลาบัว (Labeo dyocheilus)
- ปลาเลียหิน (Garra spp.)
- ปลามูดหลังจุด (Garra notata)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาหมู
- ปลารากกล้วย (Acantopsis spp.)
- ปลาหมูอารีย์ (Yasuhikotakia sidthimanki)
- ปลาหมูน่าน (Yasuhikotakis nigrolineatus)
- ปลาหมูลายเมฆ (Botia kubotai)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาหมูลายเสือสาละวิน (Syncrossus berdmorei)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง
- ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilus aymoieri)
- วงศ์ปลากด
- ปลากดหมู (Rita sacerdotum)**ปลาท้องถิ่น
- ปลากดหัวเสียม (Sperata acicularis)**ปลาท้องถิ่น
- ปลากดคังสาละวิน (Hemibagrus microphthalmus)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาเนื้ออ่อน
- ปลาค้าวขาว (Wallago attu)
- วงศ์ปลาหวีเกศ
- ปลาอิแกลาเอ๊ะ (Pseudeutropius moolenburghae)
- วงศ์ปลาแค้
- ปลาแค้วัว (Bagarius bagarius)
- ปลาแค้ยักษ์ (Bagarius yarrelli)
- ปลาแค้ขี้หมู (Erethistes maesotensis)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาหยะเค (Gagata gashawyu)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาแค้ติดหิน (Glytothorax spp.)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาดุก
- ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus)
- ปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus)
- วงศ์ปลากระทุงเหว
- ปลากระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila)
- วงศ์ปลาเข็ม
- วงศ์ปลาหัวตะกั่ว
- ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax)
- วงศ์ปลาไหลนา
- ปลาไหลนา (Monopterus albus)
- วงศ์ปลากระทิง
- ปลาหลด (Macrognathus siamensis)
- ปลาหลดม้าลาย (Macrognathus zebrinus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลากระทิงจุด (Mastacembelus alboguttatus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลากระทิง (Mastacembulus armatus)
- วงศ์ปลาแป้นแก้ว
- ปลาแป้นแก้วรังกา (Parambassis ranga)
- ปลาแป้นหัวโหนก (Parambassis pulcinella)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ
- ปลาหมอช้างเหยียบ (Pristolepis fasciatus)
- วงศ์ปลาหมอ
- ปลาหมอ (Anabas testudineus)
- วงศ์ปลากัด ปลากระดี่
- ปลากัด (Betta splendens)
- ปลากระดี่หม้อ (Trichogaster trichogaster)
- วงศ์ปลาช่อน
- ปลาก้าง (Channa limbata)
- ปลาช่อนงูเห่า (Channa aurolineatus)
- ปลาช่อน (Channa striata)
- วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่
- ปลาปักเป้าหางวงเดือน (Tetraodon cutcutia)
นิเวศวิทยา
[แก้]ในแถบลุ่มแม่น้ำสาละวินนี้ เป็นที่อยู่ของชนชาติพันธุ์หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวกะเหรี่ยง, ชาวไทยใหญ่ และชาวมอญ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ได้มีการศึกษาวิจัยของชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกาเกอะญอในพื้นที่เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสาละวิน ตั้งแต่บริเวณเขตอำเภอแม่สะเรียงจนถึงอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบชนิดปลาประมาณ 70 ชนิด แบ่งเป็นปลาหนัง 22 ชนิด และปลามีเกล็ด 48 ชนิด โดยที่มีภาษาท้องถิ่นเรียกปลาว่า "หยะ"
พบว่าในช่วงฤดูฝนที่น้ำในลุ่มแม่น้ำสาละวินเอ่อล้น ในราวเดือนพฤษภาคมฝูงปลาจะอพยพขึ้นไปตามลำน้ำสาขาต่าง ๆ เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ในช่วงต้นฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม ปลาจะเริ่มอพยพเดินทางลง และปลาบางชนิดก็จะวางไข่ เช่น "หยะโม" (ปลาพลวง) ในขณะที่ปลาบางชนิด เช่น "หยะที" (ปลาสะแงะ) เป็นปลาที่เดินทางไกลมาก โดยมาจากทะเลอันดามันมาสู่ลุ่มแม่น้ำสาละวิน หยะทีจะวางไข่ในทะเลและกลับมาเจริญเติบโตในน้ำจืด สภาพน้ำที่หยะทีจะอาศัยต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีมลพิษ ในแหล่งน้ำใดที่มีการใช้สารเคมี จะไม่พบหยะทีอีกเลย
โดยช่วงเวลาที่ปลาวางไข่มากที่สุดจะมี 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน, ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม และช่วงต้นฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม
โดยปลามีถิ่นที่อยู่ที่หลากหลายสภาพทั้งแก่ง, เกาะ, พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ, หาด รวมถึงบริเวณที่เป็นวังน้ำลึก[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือคู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ กรุงเทพ พ.ศ. 2547 ISBN 974-484-148-6
- ↑ "โปสเตอร์พันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวิน (พ.ศ. 2551) (ดาวน์โหลด)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ หนังสือวิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปากญอ สาละวิน โดย เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (องค์การสาธารณประโยชน์), พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ISBN 974-9367-75-8