ปลามูดหลังจุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลามูดหลังจุด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Labeoninae
สกุล: Garra
สปีชีส์: G.  notata
ชื่อทวินาม
Garra notata
(Blyth, 1860)
ชื่อพ้อง[1]
  • Platycara notata Blyth, 1860

ปลามูดหลังจุด (อังกฤษ: Tenasserim garra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Garra notata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับปลามูดหน้านอ (G. fuliginosa) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือ ลำตัวสั้นทรงกระบอก หัวโตและแบนราบที่ด้านล่าง ด้านหน้าของหัวเว้า และมีโหนกยื่นออกเป็นตุ่มแหลม เหมือนปากที่มีฟันเป็นซี่ ๆ ซึ่งตามจริงแล้วมันมีปากจริงเป็นแบบปากดูดอยู่ด้านล่าง ลำตัวสีคล้ำอมเขียวอ่อน ข้าวแก้มมีสีส้มแดง ท้องสีจางอมส้ม ครีบอกแผ่ออกทางแนวราบ ข้อแตกต่างก็คอ ครีบหางเว้าตื้นกว่า และที่สำคัญคือ มีจุดสีดำที่โคนครีบหลังอันเป็นที่มาของชื่อ

อาหารของปลามูดหลังจุดคือ สาหร่ายและตะไคร่น้ำตามก้อนหินและท่อนไม้ใต้น้ำ โดยมักใช้ปากดูดเกาะติดกับสิ่งที่มีสาหร่ายและตะไคร่น้ำ

ปลามูดหลังจุดมักอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลแรงและมีพื้นเป็นกรวดหิน เฉพาะในลุ่มน้ำสาละวินเท่านั้น

ในวัยที่เป็นลูกปลามักนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อเก็บกินตะไคร่น้ำ

ปลามูดหลังจุดมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "ปลามูดพม่า" [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. หน้า 154, คู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-484-148-6

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]