ปลาสลาด
ปลาสลาด | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาลิ้นกระดูก Osteoglossiformes |
วงศ์: | วงศ์ปลากราย Notopteridae |
วงศ์ย่อย: | Notopterinae Notopterinae Lacépède, 1800 |
สกุล: | Notopterus Notopterus (Pallas, 1769) |
สปีชีส์: | Notopterus notopterus |
ชื่อทวินาม | |
Notopterus notopterus (Pallas, 1769) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาสลาด หรือ ปลาฉลาด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus[2][3]
พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมัน (ปัจุบันเนื้อปลาฉลาดหายากและแพงจึงนิยมนำเนื้อปลากลายมาทำแทน)นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก
ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ปลาตอง" หรือ "ปลาตองนา"[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ng, H.H. (2020). "Notopterus notopterus". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T166433A60584003. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-1.RLTS.T166433A60584003.en. สืบค้นเมื่อ 3 May 2022.
- ↑ 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 22-23. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2022). Species of Notopterus in FishBase. February 2022 version.