ปลาหยะเค
ปลาหยะเค | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Sisoridae |
สกุล: | Gagata |
สปีชีส์: | G. dolichonema |
ชื่อทวินาม | |
Gagata dolichonema He, 1996 | |
ชื่อพ้อง | |
ปลาหยะเค เป็นภาษากะเหรี่ยง ที่หมายถึงปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gagata dolichonema อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae)
ลักษณะ
[แก้]มีลักษณะลำตัวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย หัวทู่ ตาใหญ่ แต่ม่านตาเล็กคล้ายตางู ปากเล็ก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังยกสูง ครีบไขมันเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีสันสดใสสวยงาม โดยมีสีฟ้า สีขาว เหลือบเหลืองทองหรือเขียวสลับกันไปทั้งตัวและมีแต้มสีคล้ำ ท้องสีจาง ครีบใส ครีบไขมันมีขอบสีคล้ำ ครีบหางมีแถบสีคล้ำ เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุด 13 เซนติเมตร
พฤติกรรมและที่อยู่
[แก้]กินอาหารได้แก่ ไส้เดือนน้ำ, แมลงน้ำขนาดเล็ก, ตะไคร่น้ำ โดยมีพฤติกรรมอยู่ในบริเวณใกล้พื้นท้องน้ำ พบอาศัยอยู่ในน้ำไหลที่มีพื้นเป็นทรายหรือโคลนของลุ่มแม่น้ำสาละวินเท่านั้น ตั้งแต่มณฑลยูนนานในประเทศจีน เป็นปลาที่พบได้ทุกฤดูกาล ใช้บริโภคในพื้นที่ และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งนานครั้งจึงจะพบในขายในตลาดปลาสวยงาม และเป็นชนิดที่เลี้ยงยาก เพราะต้องอาศัยอยู่ในน้ำไหลแรงและสะอาดมีปริมาณอ็อกซิเจนละลายในน้ำสูงเหมือนปลาแค้ขี้หมู (Erethistes maesotensis)
ชื่อพื้นถิ่น
[แก้]คำว่า "หยะเค" หรือ "หยะคุย" หรือ "ยะคุย" เป็นภาษาของชาวกะเหรี่ยง ใช้เรียกปลาในตระกูลปลาแค้โดยไม่แยกชนิด โดยที่คำว่า "หยะ" หรือ "ยะ" แปลว่า "ปลา" [2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ng, H.H. (2010). "Gagata dolichonema". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 12 April 2013.
- ↑ ดร.ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี, 2547. 232 หน้า. หน้า 182. ISBN 9744841486
- ↑ งานวิจัยปกากญอ. วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน งานวิจัยปกากญอ. เชียงใหม่ : เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2548. 135 หน้า. หน้า 47. ISBN 974-9367-75-8