ปลามะไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลามะไฟ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Pethia
สปีชีส์: P.  stoliczkana
ชื่อทวินาม
Pethia stoliczkana
(Day, 1871)
ชื่อพ้อง
  • Puntius stoliczkanus Day, 1871
  • Barbus stoliczkanus Day, 1871
  • Puntius ticto (Hamilton, 1822)
  • Systomus stoliczkanus Day, 1871

ปลามะไฟ (อังกฤษ: Stoliczkae's barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pethia stoliczkana) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวทรงสี่เหลี่ยมป้อมเล็กน้อย หัวสั้น ตาและปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงิน เหนือครีบอกและโคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเหลือบบนลำตัว ครีบใสมีสีแดงแต้ม และมีแถบสีคล้ำเล็กน้อย

เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมตัวเป็นฝูงในแหล่งน้ำลำธารที่ไหลเชี่ยวบนภูเขาในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำโขง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีนิสัยดุร้าย และมีอาณาเขตของตนเอง

เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาตะเพียนจุด", นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเสือภูเขา" หรือ "ปลามุมหมาย" นอกจากนี้แล้วปลามะไฟยังมีความคล้ายคลึงกันมากกับปลาอีกชื่อหนึ่งในสกุลเดียวกัน คือ P. ticto (อังกฤษ: Tic-tac-toe barb, Two-spot barb) ซึ่งอาจจะเป็นชื่อพ้องกันก็ได้ และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์หรือ LC[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Dahanukar, N. 2010. Puntius stoliczkanus. In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 3 May 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]